สหรัฐและยุโรปพยายามแสวงหามาตรการแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน

(VOVWORLD) -เนื่องจากแหล่งจัดสรรที่มีอย่างจำกัด ราคาเชื้อเพลิงอยู่ในระดับสูงและสภาพอากาศที่ผิดปกติ  ประเทศต่างๆในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปกำลังต้องเผชิญกับอุปสรรคด้านความมั่นคงทางพลังงาน  ซึ่งรัฐบาลประเทศต่างๆต้องปฏิบัติมาตรการต่างๆ รวมทั้งมาตรการที่ไม่เคยใช้มาก่อนเพื่อแก้ไขปัญหา แต่อย่างไรก็ตาม ในสภาวการณ์ดังกล่าว ศักยภาพการค้ำประกันด้านพลังงานของทั้งสหรัฐและยุโรปยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายใหญ่

สหรัฐและยุโรปพยายามแสวงหามาตรการแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน - ảnh 1ปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งในเมืองลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐ (Photo: AFP/TTXVN)

ตามดัชนีที่ประกาศเมื่อเร็วๆนี้   ราคาเชื้อเพลิงในทั้งสหรัฐและยุโรปอยู่ในระดับสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วและอัตราเงินเฟ้อทำสถิติอยู่ในระดับสูงสุดในรอบหลายทศวรรษที่ผ่านมา  ควบคู่กันนั้นคือ ความแปรปรวนของสภาพอากาศที่ทำให้อากาศร้อนกว่าปรกติได้ทำให้การค้ำประกันความมั่นคงด้านพลังงานในสองฟากฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติกยากที่จะปฏิบัติได้แม้มีการใช้มาตรการรับมือต่างๆก็ตาม

สถานการณ์ด้านพลังงานที่ซับซ้อน

ก่อนสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคมนี้ ราคาน้ำมันของสหรัฐได้ลดลงอย่างต่อเนื่องในรอบกว่า 1 เดือน  โดยลดลงจากกว่า 5 ดอลลาร์สหรัฐต่อแกลลอนเมื่อกลางเดือนมิถุนายนลงเหลือ 4.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อแกลลอน  ในการประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับบรรดาที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจเพื่อหารือเกี่ยวกับราคาน้ำมัน ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดนได้ยืนยันว่า ราคาน้ำมันในบางเขตได้ลงลงเกือบ 1 ดอลลาร์สหรัฐและปัจจุบัน ชาวอเมริกันสามารถซื้อน้ำมันด้วยราคาต่ำกว่า 3.99 ดอลลาร์สหรัฐได้ใน 35 รัฐ

แต่อย่างไรก็ดี บรรดานักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์เห็นว่า ราคาน้ำมันในสหรัฐอยู่ที่ 4 ดอลลาร์สหรัฐต่อแกลลอนยังสูงกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงที่ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ขึ้นดำรงตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคมปี 2021 ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนและผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสหรัฐให้ความสนใจ  ซึ่งทางการประธานาธิบดี โจ ไบเดน ตระหนักได้ดีถึงปัญหานี้ โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่เหลือเวลาอีก 3 เดือนก็จะถึงการเลือกตั้งกึ่งวาระของรัฐสภาสหรัฐในเดือนพฤศจิกายนนี้

ส่วนที่ยุโรป ปัญหาราคาเชื้อเพลิงมีความตึงเครียดและน่ากังวลกว่า โดยราคาเชื้อเพลิง โดยเฉพาะราคาก๊าซธรรมชาติได้เพิ่มขึ้นกว่าหลายเท่าเมื่อเทียบกับปี 2021 และปีก่อนๆ แต่สิ่งที่น่ากังวลกว่าก็คือ แหล่งจัดสรรกำลังลดลง ซึ่งส่วนใหญ่มาจากแหล่งจัดสรรของหุ้นส่วนรัสเซีย รายงานบางฉบับได้แสดงความวิตกกังวลว่า ยุโรปจะประสบปัญหาขาดแคลนก๊าซธรรมชาติจนไม่พอใช้ในฤดูหนาวนี้

ยุโรปกำลังต้องเผชิญกับสถานการณ์ความตึงเครียดเกี่ยวกับแหล่งจัดสรรเชื้อเพลิงและพลังงาน โดยเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม รัฐบาลเยอรมนี ซึ่งเป็นเศรษฐกิที่ใหญ่ที่สุดในอียูได้อนุมัติวงเงินช่วยเหลือฉุกเฉิน มูลค่า 1 หมื่น 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อช่วยเหลือ Uniper   บริษัทพลังงานรายใหญ่ที่สุดในเยอรมนี  ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม Uniper ได้ประกาศว่า   ทางบริษัทฯขาดทุนนับสิบล้านยูโรต่อวันนับตั้งแต่ที่รัสเซียระงับการจัดสรรก๊าซธรรมชาติไปยังเยอรมนีเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่ง Uniper  ต้องซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่นด้วยราคาที่สูงขึ้น

ส่วนที่ฝรั่งเศส สถานการณ์ด้านพลังงานก็ตึงเครียดเป็นอย่างมาก จนทำให้เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม นาย Agnes Pannier-Runacher  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงาน ต้องประกาศข้อกำหนดเกี่ยวกับการจ่ายค่าปรับต่อร้านค้าที่เปิดประตูทิ้งไว้ในขณะที่ใช้เครื่องปรับอากาศ  ฝรั่งเศสและหลายประเทศในยุโรปกำลังต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัดที่สุด ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา

พยายามเพื่อแสวงหามาตรการ

เพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน ได้เดินทางไปเยือนภูมิภาคตะวันออกกลางเพื่อเร่งรัดให้ประเทศส่งออกน้ำมันในภูมิภาคเพิ่มปริมาณการขุดเจาะน้ำมันเพื่อลดราคาเชื้อเพลิงในโลก นอกจากนี้ สหรัฐและแคนาดาได้ผลักดันการบรรลุข้อตกลงใหม่เกี่ยวกับนโยบายพลังงานกับเม็กซิโก สร้างโอกาสให้แก่บริษัทสหรัฐในการเข้าถึงตลาดพลังงานที่มีศักยภาพของประเทศเพื่อนบ้าน

ส่วนยุโรปกำลังผลักดันความพยายามรับมือปัญหาด้านพลังงาน  เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม สำนักข่าว Bloomberg ได้อ้างข้อมูลว่า ยุโรปกำลังผลักดันการซื้อน้ำมันดิบจากประเทศตะวันออกกลางเพื่อรับมือกับการลดปริมาณการนำเข้าเชื้อเพลิงจากรัสเซียเนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรของฝ่ายตะวันตก  จนถึงปลายเดือนกรกฎาคม ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้าจากภูมิภาคตะวันออกกลางไปยังยุโรปได้เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2021

 แต่อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ทุกประเทศยุโรปต่างมีความประสงค์ที่จะลดการซื้อเชื้อเพลิงจากรัสเซียเพื่อรับมือกับวิกฤตด้านพลังงานในปัจจุบัน เมื่อเร็วๆนี้ ฮังการีประกาศว่า จะซื้อก๊าซธรรมชาติอีก 700 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าจำนวนที่ถูกระบุในสัญญาในระยะยาวกับรัสเซีย ในข้อความที่ลงบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม รัฐมนตรีต่างประเทศฮังการี Peter Szijjarto ได้เผยว่า ตัวเขาจะเดินทางไปเยือนรัสเซียเพื่อเจรจาเกี่ยวกับการซื้อก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย

ฮังการีเป็นประเทศยุโรปที่ไม่อยากใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย โดยเรียกร้องหลายครั้งให้พิจารณาการใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม นายกรัฐมนตรีฮังการี Viktor Orban เห็นว่า อียูได้ทำร้ายตัวเองเมื่อปฏิบัติมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม นายกรัฐมนตรีฮังการี Viktor Orban ได้ยืนยันว่า  การคว่ำบาตรไม่ใช่มาตรการเพื่อแก้ไขวิกฤตยูเครนและสถานการณ์ความยากลำบากในยุโรป           

 บรรดาผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศได้ชื่นชมวิธีการเข้าถึงปัญหาของผู้นำฮักการี โดยเห็นว่า ต้องรับฟังและพิจารณาจุดยืนดังกล่าวของฮังการีในการประชุมวิสามัญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานอียูเกี่ยวกับแหล่งจัดสรรก๊าซธรรมชาติในวันที่ 26 กรกฎาคม ณ ประเทศเบลเยียม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด