อิหร่านปรับยุทธศาสตร์การต่างประเทศและผลักดันการเชื่อมโยงกับรัสเซียและจีน

(VOVWORLD) - ด้วยแรงกดดันจากสถานการณ์การเมืองโลก ตลอดจนความท้าทายที่รุนแรงด้านเศรษฐกิจและสังคมเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประเทศอิหร่านกำลังปรับยุทธศาสตร์การต่างประเทศครั้งใหญ่หลังการปฏิวัติอิสลามเมื่อปี 1979 โดยกำลังผลักดันความสัมพันธ์ “ที่ใกล้ชิดที่ไม่เคยมีมาก่อน” กับรัสเซียและจีน ซึ่งเป็นสองประเทศมหาอำนาจที่มีศักยภาพและมีอิทธิพลเป็นอย่างมากบนเวทีโลก
อิหร่านปรับยุทธศาสตร์การต่างประเทศและผลักดันการเชื่อมโยงกับรัสเซียและจีน - ảnh 1การพูดคุยทางโทรศัพท์ระหว่างประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน กับประธานาธิบดีอิหร่าน ฮัสซัน โรฮานี  (Oana)

นักวิเคราะห์ได้ประเมินอิหร่านที่ผลักดันความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 2 ประเทศคือรัสเซียและจีนว่า มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์และผลประโยชน์หลักของตน โดยเฉพาะการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการถูกคว่ำบาตรและการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

ข้อตกลงความร่วมมือที่เต็มด้วยความทะเยอทะยาน

แหล่งข่าวต่าง ๆ ยืนยันว่า อิหร่านกำลังหาทางขยายอายุข้อตกลงความร่วมมือ 20 ปีกับรัสเซีย อีกทั้งกำลังเจรจาข้อตกลงที่มีอายุถึง 25 ปีกับจีน

สำหรับความร่วมมือกับรัสเซีย เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน โมฮัมหมัด จาวาด ซารีฟ (Mohammad Javad Zarif) ได้เดินทางไปยังกรุงมอสโคว์เพื่อเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงความร่วมมือทวิภาคีใน 2 ทศวรรษหน้า โดยขยายระยะเวลาข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความร่วมมือด้านน้ำมัน อาวุธและนิวเคลียร์ที่ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูตินและประธานาธิบดีอิหร่าน โมฮัมเหม็ด คาตามี ลงนามเมื่อวันที่ 12 มีนาคมปี 2001 โดยเรื่องนี้ยังเป็นหนึ่งในเนื้อหลักในการพูดคุยทางโทรศัพท์ระหว่างประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน กับประธานาธิบดีอิหร่าน ฮัสซัน โรฮานี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม นอกจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ข้อตกลงด้านนิวเคลียร์อิหร่านปี 2015 และสงครามในซีเรีย รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่านได้ยืนยันว่า ทั้งสองฝ่ายได้ “เห็นพ้องอย่างสมบูรณ์” เกี่ยวกับข้อตกลงถึงแม้มีเนื้อหาหลายส่วนที่ยังไม่ได้รับการเปิดเผย

ก่อนหน้านั้น 1 สัปดาห์  เอกสาร 18 หน้าเกี่ยวกับแผนการความร่วมมือที่เต็มไปด้วยความทะเยอทะยานระหว่างอิหร่านกับจีนก็ถูกเปิดเผยบนอินเตอร์เน็ต ถึงแม้ยังไม่ทราบแหล่งที่มา แต่เอกสารฉบับนี้มีเนื้อหาตรงกับเนื้อหาที่ประกาศในการประชุมรัฐสภาอิหร่านก่อนหน้านั้นไม่กี่วันของรัฐมนตรีต่างประเทศ โมฮัมเหม็ด จาวาด ซาริฟ ที่ระบุว่า รัฐบาลอิหร่านกำลัง “มีความเชื่อมั่น” ต่อการเจรจาว่าด้วยแผนการสร้างสรรค์ความสัมพันธ์หุ้นส่วน 25 ปีกับจีนโดยเนื้อหาหลักคือวงเงินลงทุน มูลค่าสูงถึง 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐของจีนที่เน้นในด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและพลังงานในอิหร่าน

บรรดานักวิเคราะห์มองว่า นี่เป็นความพยายามของอิหร่านในการสร้างสรรค์พันธมิตรระหว่างประเทศเพื่อลดแรงกดดันด้านเศรษฐกิจและการเมืองที่รุนแรงจากสหรัฐ

อิหร่านปรับยุทธศาสตร์การต่างประเทศและผลักดันการเชื่อมโยงกับรัสเซียและจีน - ảnh 2รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน Mohammad Javad Zarif  และรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย Sergey Lavrov ในการพบปะ ณ กรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซียเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม (กระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย) 

โอกาสทอง เพื่อรับมือแรงกดดันจากสหรัฐ

ในสภาวการณ์ที่อิหร่านได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการคว่ำบาตรต่างๆ ของสหรัฐ การที่อิหร่านกระเถิบเข้าใกล้กับประเทศมหาอำนาจอื่นที่มีทั้งศักยภาพและอิทธิพลในโลกและมีทัศนะที่คล้ายกันในหลายปัญหาอย่างรัสเซียและจีนก็เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย เพราะเมื่อหลายปีก่อน ประชามติโลกได้มองเห็นถึงแนวโน้มความสัมพันธ์ที่นับวันดีขึ้นระหว่างอิหร่านกับรัสเซียและจีน และระหว่าง 3 ประเทศนี้ โดยเฉพาะเมื่อปลายปี 2019 ทั้งสามประเทศได้จัดการซ้อมรบของกองทัพเรือเป็นครั้งแรกบริเวณอ่าวโอมานและมหาสมุทรอินเดียเป็นเวลา 4 วัน ซึ่งได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากประชามติโลก เนื่องจากมีขึ้นในสภาวการณ์ที่ความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละประเทศภายในกลุ่มกับสหรัฐมีความตึงเครียดมากขึ้น ซึ่งทำให้มีการคาดการณ์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะมีการสร้างพันธมิตรด้านการทหารใหม่หรือสร้างรูปแบบความร่วมมือที่มีความผูกพันที่ใกล้ชิดระหว่างสามประเทศเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับสหรัฐ

ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ สถานการณ์การเผชิญหน้าที่ตึงเครียดที่ไม่เคยมีมาก่อนระหว่างสหรัฐกับจีนในทุกด้านและสถานการณ์ความสัมพันธ์รัสเซีย-สหรัฐ “อยู่ในระดับต่ำที่สุด”ที่ไม่เคยมีมาก่อนในปัจจุบันเป็น “โอกาสทอง” เพื่อให้อิหร่านผลักดันความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสองประเทศมหาอำนาจนี้ตามแนวทางนำผลประโยชน์มาให้แก่รัฐบาลอิหร่าน นั่นคือการต่อต้านแรงกดดันของสหรัฐ ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังได้รับความเสียหายเนื่องจากการคว่ำบาตรและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด