เวียดนามพยายามร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
Vân + Long -  
(VOVworld) - เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ยุทธศาสตร์แห่งชาติเกี่ยวกับการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศระบุว่า รัฐบาลเวียดนามเรียกร้องความช่วยเหลือระยะยาวจากบรรดานักอุปถัมภ์ระหว่างประเทศเพื่อปฏิบัติโครงการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเวียดนาม ในปี 2016 ความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านนี้ได้รับการผลักดัน ซึ่งสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเวียดนาม
(VOVworld) - เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ยุทธศาสตร์แห่งชาติเกี่ยวกับการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศระบุว่า รัฐบาลเวียดนามเรียกร้องความช่วยเหลือระยะยาวจากบรรดานักอุปถัมภ์ระหว่างประเทศเพื่อปฏิบัติโครงการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเวียดนาม ในปี 2016 ความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านนี้ได้รับการผลักดัน ซึ่งสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเวียดนาม
ฟอรั่มการสนทนานโยบายระดับสูงระหว่างคณะกรรมการแห่งชาติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเวียดนามกับหุ้นส่วนต่างๆ (Photo: nhandan.com.vn)
|
ในเวลาที่ผ่านมา เวียดนามได้ปฏิบัติยุทธศาสตร์แห่งชาติเกี่ยวกับการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมถึงแผนการขยายตัวแห่งสีเขียว การป้องกันและรับมือกับภัยธรรมชาติและการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในเชิงรุกอย่างเข้มแข็งเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้การสนับสนุนจากประชาคมระหว่างประเทศ
คำมั่นของประชาคมระหว่างประเทศในการสนับสนุนเวียดนามในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ในปี 2016 เวียดนามได้ขยายกิจกรรมความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี โดยเฉพาะความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรนํ้า อุตุนิยมวิทยาและการบริหารที่ดิน โดยตัวแทนจากหลายประเทศและองค์กรระหว่างประเทศได้ให้คำมั่นที่จะสนับสนุนเวียดนามรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยในการลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์ในเขตที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและปัญหานํ้าทะเลซึมในจังหวัดเบ๊นแจเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นาย Jan Eliasson รองเลขาธิการสหประชาชาติได้ยืนยันว่า สหประชาชาติจะสนับสนุนเวียดนามแก้ไขผลเสียหายจากภัยแล้งและปัญหานํ้าทะเลซึมผ่านมาตรการที่เป็นรูปธรรม โดยจะระดมเงินประมาณ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากประชาคมระหว่างประเทศเพื่อช่วยเหลือประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งและปัญหานํ้าทะเลซึม รวมถึงเวียดนาม ส่วนในการเยือนเวียดนามเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา นาย Karmenu Vella ข้าหลวงใหญ่ดูแลด้านสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรปได้ให้คำมั่นที่จะสนับสนุนเวียดนามในการรัมมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมทางทะเล การขุดเจาะปิโตรเลี่ยม การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและผลการวิจัยทางทะเล ส่วนธนาคารโลกได้อนุมัติสินเชื่อ มูลค่า 310 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสนับสนุนเวียดนามยกระดับทักษะในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพื่อคํ้าประกันการดำรงชีวิตของประชากร 1.2 ล้านคนในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง
ปฏิบัติโครงการดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ
ในปี 2016 ได้มีการปฏิบัติโครงการสนับสนุนการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเวียดนามอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โครงการขยายทำนบกั้นน้ำหลากและน้ำทะเล รวมระยะทาง 1.6 กิโลเมตรในตำบลตามยาง อำเภอนุ้ยแถ่ง จังหวัดกว๋างนาม ส่วนสภากาชาดเวียดนามได้ร่วมกับจังหวัดริมฝั่งทะเลปฏิบัติโครงการก่อสร้างบ้านเอนกประสงค์ในเขตที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติและระบบนํ้าประปาในเขตที่มีปัญหานํ้าทะเลซึมภายใต้การสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศ นอกเหนือจากประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์และเดนมาร์ก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย หรือ เอดีบีคือหนึ่งในหุ้นส่วนสำคัญของเวียดนามในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยมีโครงการต่างๆที่เน้นช่วยเวียดนามจัดทำกลไกและนโยบายต่างๆเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมการปลูกป่า นาย Eric Sidgwick ผู้อำนวยการธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียสาขาเวียดนามได้ให้ข้อสังเกตว่า“เอดีบีกำลังปฏิบัติโครงการบริหารจัดการและลดความเสี่ยงจากภัยแล้งและปัญหานํ้าท่วมในเขตอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงขยายวง รวมถึงเวียดนาม โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบส่งนํ้าเข้านาและการบริหารแหล่งนํ้า ซึ่งมีส่วนช่วยยกระดับทักษะความสามารถในการรับมือกับภัยแล้ง ปัญหานํ้าทะเลซึมและปัญหานํ้าท่วม”
ส่วนนาย เจิ่นห่งห่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเวียดนามได้เผยว่า“รัฐบาลได้รณรงค์ให้องค์กรและประเทศต่างๆเข้าร่วมการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงเหมือนที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยได้วางแผนปฏิบัติการและแผนพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติยุทธศาสตร์แห่งชาติเกี่ยวกับการขยายตัวแห่งสีเขียวควบคู่กับการระดมแหล่งพลังต่างๆเพื่อปฏิบัติโครงการช่วยเหลือดังกล่าว”
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศคือความท้าทายสำคัญต่อทุกประเทศในโลก รวมถึงเวียดนาม ดังนั้น เพื่อรับมือกับปัญหานี้ ต้องระดมพลังทุกแหล่งและมีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ตลอดจนเปลี่ยนแปลงจากการบริหารการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมาเป็นการบริหารความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ นาง Louise Chamberlain รักษาการหัวหน้าสำนักงานตัวแทนของสหประชาชาติประจำเวียดนามได้เผยว่า“ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงและปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในการจัดทำนโยบายและโครงการพัฒนาหน่วยงานการเกษตร พร้อมทั้งปรับปรุงโครงการต่างๆให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เช่น โครงการพัฒนาของสหประชาชาติกำลังสอดแทรกการบริหารความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติในนโยบายและโครงการต่างๆ รวมถึงโครงการพัฒนาการเกษตร จัดทำโครงการบริหารความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติในชุมชนและลดการปล่อยของเสียในเขตริมฝั่งทะเล”
ปี 2016 เป็นปีที่เวียดนามต้องรับมือกับปรากฎการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งในสภาวการณ์ปัจจุบัน สามารถพยากรณ์ได้ว่า ผลเสียหายจากภัยธรรมชาติอาจอยู่ที่ร้อยละ 3 – 5 ของจีดีพีภายในปี 2030 ดังนั้น การระดมแหล่งพลังต่างๆเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเชิงรุกจึงไม่เพียงแต่มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาระดับโลกเท่านั้น หากยังมีส่วนช่วยผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเวียดนามอีกด้วย.
Vân + Long