เวียดนามยึดมั่นในปฏิบัติตามกฎหมายสากลในการแก้ไขปัญหาทะเลตะวันออก

(VOVWORLD) - นับตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เรือสำรวจขนาดใหญ่ของจีนพร้อมเรือคุ้มกันติดอาวุธหลายลำได้รุกล้ำเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนามอย่างผิดกฎหมาย จากการเคลื่อนไหวดังกล่าว เวียดนามได้ยืนหยัดปฏิบัติมาตรการทางการทูต เรียกร้องให้จีนเคารพกฎหมายสากล รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย สันติภาพและเสถียรภาพในทะเลตะวันออก ตลอดจนเวียดนามได้ร่วมกับประชาคมโลกแสดงจุดยืนที่คัดค้านการกระทำที่ไม่ถูกต้องของจีน ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามกฎหมายสากลเพื่อปกป้องอธิปไตยที่ชอบด้วยกฎหมายของเวียดนามในทะเลตะวันออก
เวียดนามยึดมั่นในปฏิบัติตามกฎหมายสากลในการแก้ไขปัญหาทะเลตะวันออก - ảnh 1เรือสำรวจไหหยางของจีนรุกล้ำเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเวียดนามเมื่อเร็วๆนี้ (Weibo)

จนถึงขณะนี้ อนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 หรือ UNCLOS 1982 ถือเป็นกรอบทางนิตินัยให้แก่ทุกปฏิบัติการในมหาสมุทรและเขตทะเล ซึ่งได้รับการรับรองจากประชาคมโลก ตามอนุสัญญาฉบับนี้ ทุกประเทศที่ติดทะเลมีเขตเศรษฐกิจำเพาะ 200 ไมล์ทะเลและเขตน่านน้ำ 12 ไมล์ทะเล ซึ่งในเขตทะเลตะวันออก ทุกประเทศที่ประกาศอธิปไตยในทะเลตะวันออก ประกอบด้วย จีน เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และบรูไนต่างลงนามและให้สัตยาบัน UNCLOS 1982 แล้ว

การละเมิด UNCLOS 1982 อย่างอุกอาจ

ก่อนอื่น ต้องยืนยันว่า จีนไม่มี “สิทธิทางประวัติศาสตร์” ต่อทะเลตะวันออกและ “เส้นประ 9 เส้น” ที่จีนกำหนดขึ้นมาเองได้ละเมิด UNCLOS 1982 อย่างรุนแรง คำเรียกร้องอธิปไตยของจีนอาศัยสิ่งที่เรียกว่า “สิทธิทางประวัติศาสตร์” ไม่เคยถูกระบุในกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ เมื่อปี 2016 ทุกคำเรียกร้องอธิปไตยที่ไม่สมเหตุสมผลของจีนที่อาศัยเส้นประ 9 เส้นและสิทธิทางประวัติศาสตร์ได้ถูกศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮกปัดปฏิเสธ แต่ทางการปักกิ่งไม่ยอมรับคำตัดสินนี้และแสวงหาวิธีการยืนยันอธิปไตยของตนผ่านปฏิบัติการแต่เพียงฝ่ายเดียวที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและมีลักษณะบังคับขู่เข็ญโดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแนวปะการังตือชิ้งเมื่อล่าสุดนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความทะเยอทะยานดังกล่าวของจีน

 แนวปะการังตือชิ้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเวียดนาม ซึ่งห่างจากชายฝั่งเวียดนามไม่ถึง 200 ไมล์ทะเลและเส้นแบ่งพรมแดนทางทะเลของจีน 600 ไมล์ทะเล แต่อย่างไรก็ตาม จีนได้อาศัยเส้นประ 9 เส้นเพื่อประกาศว่า แนวปะการังตือชิ้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของจีน โดยเฉพาะจีนได้ส่งเรือสำรวจไหหยาง 8 และเรือลาดตระเวนติดอาวุธหลายลำมาขัดขวางกิจกรรมสำรวจและขุดเจาะน้ำมันของเวียดนามในเขตทะเลสังกัดอธิปไตยของเวียดนาม ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่จีนมีปฏิบัติการดังกล่าว โดยเมื่อปี 2017-2018 จีนได้บังคับให้เวียดนามและบริษัท 1 แห่งซึ่งเป็นหุ้นส่วนของเวียดนามยุติการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันในเขตนี้และปฏิบัติการนี้ของจีนถูกประชาคมโลกคัดค้านอย่างเข้มแข็ง นาย James Borton นักวิจัยเกี่ยวกับทะเลตะวันออกสังกัดศูนย์วิทยาศาสตร์การทูตของมหาวิทยาลัย Tufts ประเทศสหรัฐได้แสดงความเห็นว่า “การที่จีนส่งกลุ่มเรือไหหยาง 8 รุกล้ำเขตน่านน้ำของเวียดนามคือการกระทำที่สร้างภัยคุกคามด้านนิตินัยต่ออธิปไตยและอำนาจอธิปไตยของประเทศชายฝั่งตามข้อกำหนดของ UNCLOS 1982 โดยที่น่าอันตรายจากการกระทำนี้คือ ถึงแม้เวียดนามได้มีปฏิบัติการในเขตทะเลที่อยู่ในอธิปไตยของตนมาแล้วหลายปี แต่จีนยังคงแสวงหาวิธีการเพื่อแปรเขตที่ไม่มีการพิพาทให้กลายเป็นเขตที่มีการพิพาทและสร้างความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาค”

ยืนหยัดปกป้องอธิปไตยอย่างสันติผ่านมาตรการด้านกฎหมาย

จากการเป็นประเทศที่มีชายฝั่งยาวกว่า 3,260 กิโลเมตร เวียดนามจึงได้รับประโยชน์มากมายจากทะเลและยังเป็นประเทศที่เข้าร่วมกระบวนการจัดทำ UNCLOS 1982 และมีความพยายามเป็นอย่างมากในการปฏิบัติ ให้ความเคารพหลักการและเป้าหมายของอนุสัญญา UNCLOS อย่างเข้มแข็ง

จากการกระทำที่ละเมิดกฎหมายของจีนในแนวปะการังตือชิ้ง ในตลอดกว่า 3 เดือนที่ผ่านมา เวียดนามได้ยืนหยัดปฏิบัติตามกฎหมายสากล โดยเฉพาะ UNCLOS 1982 เพื่อปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายในทะเลตะวันออก เจตนารมณ์แห่งการให้ความเคารพกฎหมายสากลของเวียดนามยังสะท้อนให้เห็นอย่างเสมอต้นเสนอมปลายผ่านการที่เวียดนามได้พยายามระบุหลักการของอนุสัญญาฉบับนี้ในเอกสารฉบับต่างๆของอาเซียน เช่น “แถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือดีโอซี” ที่อาเซียนและจีนลงนามเมื่อปี 2001 “แถลงการณ์ 6 ข้อของอาเซียนเกี่ยวกับทะเลตะวันออกเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมปี 2012” หรือในกระบวนการเจรจาร่างหลักปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือซีโอซี เวียดนามและประเทศต่างๆได้เห็นพ้องกันว่า หลักการของซีโอซีต้องใช้ UNCLOS เป็นพื้นฐาน เนื่องจากตามทัศนะของเวียดนาม ในโลกที่มีอารยธรรม ประเทศต่างๆต้องมีการปฏิบัติต่อกันอย่างมีอารยธรรมบนเจตนารมณ์แห่งการให้ความเคารพกฎหมาย นาย ฝ่ามกวางวิงห์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้แสดงความเห็นว่า “ในยุคนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องค้ำประกันกฎหมายสากล รวมทั้งอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 ต้องค้ำประกันสันติภาพ ความมั่นคง ธำรงความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางทะเล ให้ความเคารพเขตทะเลที่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของประเทศอื่น ปฏิบัติการของจีนเมื่อเร็วๆนี้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง”

ในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ในทะเลตะวันออกมีความผันผวนอย่างซับซ้อน การให้ความเคารพและปฏิบัติตาม UNCLOS 1982 อย่างสมบูรณ์นับวันมีบทบาทสำคัญในการธำรงสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัยและเสรีภาพในการเดินเรือในภูมิภาค ประเทศต่างๆทั้งในและนอกภูมิภาคต่างได้รับประโยชน์จากทะเลตะวันออกภายใต้การให้ความเคารพกฎหมาย ดังนั้น ประเทศใดที่ใช้และข่มขู่ที่จะใช้ความรุนแรงเพื่อครอบครองและกลั่นแกล้งประเทศอื่น ใช้ความรุนแรงแทนความยุติธรรม หรือใช้และข่มขู่ที่จะใช้ความรุนแรงเพื่อแก้ไขความขัดแย้งและการพิพาทระหว่างประเทศ รวมทั้งการพิพาทเกี่ยวกับดินแดนล้วนเป็นการกระทำที่ไม่มีอารยธรรมและไม่ควรเกิดขึ้นในโลกนี้.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด