เวียดนามให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการดูแลและคุ้มครองเด็ก

(VOVWORLD) - ผลสำเร็จของเวียดนามในการดูแลและปกป้องสิทธิของเด็กหลังจากเข้าร่วมอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับสิทธิของเด็กในตลอดกว่า 30ปีเป็นสิ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้และได้รับการชื่นชมจากสหประชาชาติและประชาคมโลก โดยในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  เด็กๆเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการดูแลและปกป้องเป็นพิเศษในเวียดนาม
เวียดนามให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการดูแลและคุ้มครองเด็ก - ảnh 1เวียดนามได้บรรลุความคืบหน้าที่สำคัญในการปฏิบัติสิทธิของเด็ก (VNA) 

เวียดนามเป็นประเทศแรกในเอเชียและเป็นประเทศที่สองในโลกที่ให้สัตยาบันอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับสิทธิของเด็กเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี1990 โดยคำมั่นทางการเมืองและการชี้นำอย่างเข้มแข็งของรัฐเวียดนามในการปฏิบัติสิทธิของเด็กได้ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของเด็กหลายล้านคน มีเด็กที่ได้รับการปกป้องตามกฎหมาย สามารถเข้าถึงการดูแลสุขภาพ การศึกษาเล่าเรียนรวมทั้งการฝึกทักษะต่างๆตั้งแต่โรงเรียนอนุบาลและได้รับประโยชน์จากนโยบายสวัสดิการสังคมต่างๆมากขึ้น

ปกป้องเด็กในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

บนเจตนารมณ์ “ไม่ปล่อยให้ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง”ในงานด้านการป้องกันและรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รัฐบาลเวียดนามให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการดูแลและปกป้องเด็ก โดยตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมาเมื่อจำนวนผู้ที่ถูกแยกตัวเนื่องจากถูกสงสัยว่า ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งสตรีมีครรภ์และเด็ก กระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมเวียดนามได้ร่วมกับกองทุนสำหรับเด็กแห่งสหประชาชาติหรือ UNICEF ประจำเวียดนาม และองค์กร NGO จัดทำเอกสารแนะนำเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยและปกป้องเด็กในเขตแยกตัว โดยมีเนื้อหาที่กระชับ เข้าใจง่ายและมีรูปแบบที่ดึงดูดความสนใจ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่พนักงานที่ปฏิบัติงานในเขตแยกตัวก็พยายามให้การดูแลเอาใจใส่เด็กๆอย่างเต็มที่ เช่น ทำเมนูอาหารสำหรับเด็ก หรือ ช่วยจัดงานวันเกิด ส่วนเรื่องการป้องกันการติดเชื้อในเด็ก กรมดูแลเด็กสังกัดสำนักงานแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมท้องถิ่นต่างๆได้ขยายมาตรการป้องกันและรับมือการแพร่ระบาดในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าและการรักษาความปลอดภัยให้แก่เด็ก

ส่วนในการปฏิบัติการเว้นระยะห่างทางสังคม เวียดนามได้ผลักดันการประชาสัมพันธ์ออนไลน์เพื่อแนะนำการแก้ไขปัญหาต่างๆของเด็ก ผู้ปกครองและครู รวมทั้งปัญหาด้านสุขภาพจิตและผลกระทบจากการปฏิบัติการเว้นระยะห่างทางสังคมต่อเด็กและยุวชน

ความท้าทายใหม่และการปฏิบัติ

เวียดนามได้บรรลุความคืบหน้าที่สำคัญในการปฏิบัติสิทธิของเด็ก โดยเฉพาะการระบุข้อกำหนดและหลักการของอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับสิทธิของเด็กในระบบกฎหมาย นโยบายและแผนการปฏิบัติระดับชาติ จนถึงปัจจุบัน เวียดนามได้มีเอกสารกฎหมายที่สำคัญเกี่ยวกับสิทธิของเด็ก เช่น กฎหมายการศึกษาภาคบังคับระดับประถมศึกษาและกฎหมายการคุ้มครอง ดูแลและให้การศึกษาเด็ก เมื่อปี 2016 ได้มีการประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับเด็กที่มีข้อกำหนดใหม่ๆเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆในการปฏิบัติสิทธิของเด็ก สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจสังคม มีการเรียนรู้ประสบการณ์ในการจัดทำและปรับปรุงกฎหมายที่ค้ำประกันสิทธิของเด็ก โดยเฉพาะการปกป้องเด็กในการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกจากประเทศต่างๆ

แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความผันผวนในทั่วโลกบวกกับการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและปัญหาผู้อพยพกำลังสร้างความท้าทายใหม่ในการค้ำประกันการปฏิบัติสิทธิของเด็กอย่างสมบูรณ์ โดยแม้การปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 การพัฒนาอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์จะอำนวยความสะดวกให้แก่เด็กในการพัฒนาสมองและการสื่อสารทางสังคม แต่ในทางกลับกัน ก็ทำให้มีความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากการรายงานข่าวที่ไม่ถูกต้อง การใช้ความรุนแรงและการล่วงละเมิดทางเพศในเด็กผ่านทางอินเตอร์เน็ต เด็กยังเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและปัญหาทรัพยากรที่ลดลง

ในสภาวการณ์ดังกล่าว รัฐบาลเวียดนามได้ให้ความสำคัญต่อสิทธิของเด็กและมีแผนการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เช่น ค้ำประกันความปลอดภัยของเด็กในระบบอินเตอร์เน็ตและจัดทำหลักเกณฑ์การเซ็นเซอร์กิจกรรมต่างๆทางอินเตอร์เน็ต เวียดนามกำลังปฏิบัติแผนการปฏิบัติงานแห่งชาติเกี่ยวกับการป้องกันและต่อต้านการใช้ความรุนแรงและการล่วงละเมิดทางเพศในเด็กในช่วงปี 2020 -2025 กฎหมายเกี่ยวกับการปกป้อง ดูแลและให้การศึกษาเด็กได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องกับอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับสิทธิของเด็กเพื่อสร้างกรอบทางนิตินัยและนโยบายที่สนับสนุนการปฏิบัติสิทธิต่างๆของเด็กในเวียดนาม ทั้งนี้และทั้งนั้นแสดงให้เห็นว่า การปกป้อง ดูแลและให้การศึกษาเด็กคือแนวทางที่เสมอต้นเสมอปลายของรัฐเวียดนามและเป็นหน้าที่สำคัญพิเศษในยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเวียดนาม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด