เวียดนามให้คำมั่นอย่างเข้มแข็งเกี่ยวกับการปฏิบัติเป้าหมาย SDGs ต่อไป

(VOVWORLD) -เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ SDGs ได้กลายเป็นเป้าหมายหลักในยุทธศาสตร์ นโยบายแห่งชาติและในหน่วยงานต่างๆ ของเวียดนาม  โดยในการสนทนาทาบทามความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับชาติโดยสมัครใจหรือ VNR ที่มีขึ้น ณ กรุงฮานอยเมื่อวันที่ 24 ที่ผ่านมา เวียดนามได้ให้คำมั่นอย่างเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไปเกี่ยวกับความร่วมมือกับประเทศต่างๆในทั่วโลกปฏิบัติเป้าหมาย SDGs เพื่อมุ่งสู่การสร้างสรรค์โลกที่ยั่งยืน ครอบคลุมและเจริญรุ่งเรืองให้แก่ทุกคน
เวียดนามให้คำมั่นอย่างเข้มแข็งเกี่ยวกับการปฏิบัติเป้าหมาย SDGs ต่อไป - ảnh 1ภาพในงาน

ปี 2023 เป็นปีที่โลกเดินมาถึงครึ่งทางของการปฏิบัติเป้าหมาย SDGs และครบรอบ 5 ปีการที่เวียดนามเข้าร่วมกระบวนการจัดทำ VNR นับตั้งแต่ปี 2018 และจากความประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปฏิบัติเป้าหมายSDGs เวียดนามได้ลงทะเบียนเข้าร่วมและได้รับการอนุมัติจากสหประชาชาติให้เป็น 1 ใน 42 ประเทศที่จะเสนอรายงานเกี่ยวกับ VNRs ในเดือนกรกฎาคมนี้

SDGs ได้กลายเป็นเป้าหมายของทุกแผนงานทางยุทธศาสตร์และนโยบายต่างๆ ของเวียดนาม

ระเบียบวาระการประชุม 2030 ได้รับการอนุมัติจากบรรดาประเทศสมาชิกของสหประชาชาติเมื่อเดือนกันยายนปี 2015 โดยเน้นถึง 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือ SDG และนับเป็นครั้งแรกที่เวียดนามจัดทำและรายงาน VNR เกี่ยวกับการปฏิบัติ SDGs เมื่อปี 2018

ในตลอด 5 ปีผ่านมา เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน SDGs ได้กลายเป็นเป้าหมายหลักในยุทธศาสตร์ นโยบายแห่งชาติและในหน่วยงานต่างๆ ของเวียดนาม โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า “ไม่ปล่อยให้ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” ถูกเน้นเป็นพิเศษในนโยบายต่างๆ และที่น่ายินดีคือ เวียดนามได้ประสบความคืบหน้าที่เข้มแข็งต่างๆโดยเฉพาะใน 4 เป้าหมายคือ ไม่มีความยากจนอีก (เป้าหมายที่ 1) น้ำประปาและสุขอนมัย (เป้าหมายที่ 6) อุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน (เป้าหมายที่ 9) และการลดความไม่เสมอภาค (เป้าหมายที่ 10) ตามนั้นอัตราครอบครัวยากจนหลายมิติได้ลดลงจากร้อยละ 9.2 เหลือเพียงร้อยละ 3.6 ในระยะปี 2016 – 2022 ประชากรกว่าร้อยละ 98 มีน้ำประปาใช้และ ประชากรร้อยละ 95.6 ได้ใช้ห้องน้ำที่สะอาด นอกจากนี้ เวียดนามยังให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ ถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี ซึ่งได้สร้างก้าวกระโดดในการพัฒนาอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงใหม่และก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การขยายตัวอย่างครอบคลุมและเพิ่มการจัดสรรแหล่งพลังให้แก่ระบบสวัสดิการสังคมถึงร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งมีส่วนร่วมลดความไม่เสมอภาค และถ้าหากเวียดนามสามารถธำรงอัตราการปฏิบัตินี้ได้ในปีต่อๆไป มีความเป็นไปได้สูงที่เวียดนามสามารถบรรลุเป้าหมายที่เหลือได้ทั้งหมดภายในปี 2030

สำหรับการที่เวียดนามลงทะเบียนเพื่อนำเสนอรายงาน VNRs ในการประชุมของสหประชาชาติที่กำหนดจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคมนี้ ดร. เลเหวียดแอง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ การศึกษา ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมสังกัดกระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนามกล่าวว่า

“ในการเข้าร่วม VNRs ปี 2023 เวียดนามมีความประสงค์ว่า จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการบรรลุผลสำเร็จและความคืบหน้าต่างๆ ในการปฏิบัติเป้าหมาย SDGs รวมทั้งอุปสรรคและความท้าทายต่างๆ กำหนดแนวทางและกิจกรรมหลักที่ต้องปฏิบัติบนเส้นทางที่เหลือ นี่ก็เป็นโอกาสให้เวียดนามให้คำมั่นอย่างเข้มแข็งอีกครั้งเกี่ยวกับความร่วมมือกับเพื่อนมิตรในทั่วโลกในการปฏิบัติเป้าหมาย SDGs ต่อไปเพื่อมุ่งสร้างโลกที่ยั่งยืน ครอบคลุมและเจริญรุ่งเรืองให้แก่ทุกคน”

เวียดนามให้คำมั่นอย่างเข้มแข็งเกี่ยวกับการปฏิบัติเป้าหมาย SDGs ต่อไป - ảnh 2ดร. เลเหวียดแอง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ การศึกษา ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมกล่าวปราศรัยในงาน

ด้านที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆ ในการปฏิบัติ SDGs ในเวลาที่จะถึง

อย่างไรก็ตาม เพื่อค้ำประกันให้การปฏิบัติระเบียบวาระการประชุม 2030 ประสบความสำเร็จ ควบคู่กับการธำรงกระบวนการปฏิบัติเป้าหมายต่างๆ ที่ได้บรรลุแล้ว เวียดนามจะต้องเร่งผลักดันการปฏิบัติเป้าหมายที่เหลือต่างๆ โดยเฉพาะการขยายความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนที่เน้นถึงการระดมแหล่งพลังการเงิน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ 17 และต้องให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจและการฟื้นฟูหลังวิกฤตโควิด -19 การระดมเงินทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้แหล่งการเงินต่างๆเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ก็ต้องลงทุนในด้านแหล่งบุคลากร นวัตกรรมและปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลเพื่อเพิ่มผลผลิต ดร. ฝ่ามหมีหั่งเฟือง สมาชิกของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาต่อรายงาน VNR แสดงความคิดเห็นว่า

“เวียดนามต้องพยายามมากขึ้นในระยะต่อไปและต้องการมาตรการแก้ไขเชิงยุทธศาสตร์และทั่วไปเพื่อบรรลุระเบียบวาระการประชุม ซึ่งกลุ่มมาตรการแรกที่ต้องปฏิบัติคือรักษาความมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค โดยเฉพาะมาตรการแก้ไขที่เกี่ยวข้องถึงเศรษฐกิจแห่งสีเขียวและเศรษฐกิจครบวงจร”

นอกจากนี้ เวียดนามก็ต้องให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ ถึงการผลักดันการปฏิรูประเบียบราชการ เพิ่มความโปร่งใสและความรับผิดชอบในการดำเนินงานของระบบราชการ นี่คือปัจจัยสำคัญเพื่อแก้ไขอุปสรรคต่างๆในด้านระเบียบกลไกเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การขยายตัวอย่างครอบคลุมในปีต่อๆไป ต้องพยายามมากขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมาย SDG ต่างๆ ให้แก่กลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะคนจนและชนกลุ่มน้อย

เหลือเวลาอีกเพียง 7 ปีเพื่อให้เวียดนามเสร็จสิ้น SDGs ในปี 2030 แต่ผลงานที่ได้บรรลุในเวลาที่ผ่านมาและการกำหนดแนวทางในเวลาที่จะถึงจะเป็นพลังขับเคลื่อนและพื้นฐานให้เวียดนามบรรลุทั้ง 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด