เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นคืออะไร

( VOVworld )-ช่วงที่ผ่านมา กลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า “ เครือข่ายบล็อกเกอร์เวียดนาม ” ได้เผยแพร่อันที่เรียกว่า “ แถลงการณ์ ๒๕๘ ” ทางอินเตอร์เน็ต โดยกล่าวหาว่า เวียดนามไม่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเรียกร้องให้ปฏิบัติเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเลียนแบบประเทศตะวันตก  อย่างไรก็ตาม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต้องอยู่ในกรอบของกฎหมายของประเทศที่ทุกคนในโลกนี้ต่างได้รับรู้

( VOVworld )-ช่วงที่ผ่านมา กลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า “ เครือข่ายบล็อกเกอร์เวียดนาม ” ได้เผยแพร่อันที่เรียกว่า “ แถลงการณ์ ๒๕๘ ” ทางอินเตอร์เน็ต โดยกล่าวหาว่า เวียดนามไม่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเรียกร้องให้ปฏิบัติเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเลียนแบบประเทศตะวันตก  อย่างไรก็ตาม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต้องอยู่ในกรอบของกฎหมายของประเทศที่ทุกคนในโลกนี้ต่างได้รับรู้

เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นคืออะไร - ảnh 1
ยรรดาผู้สื่อข่าวปฏิบัติหน้าที่ 

ประชาคมระหว่างประเทศได้ตกลงกันในมาตรฐานเกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานของคนรวมทั้งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  โดยมาตรา ๑๐ ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๓ กันยายน ๑๙๕๓ได้ระบุชัดว่า คนเราทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งประกอบด้วยสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนข่าวสารไปในทั่วโลกโดยไม่ต้องขออนุญาตจากทางการ  แต่มาตรานี้ก็ไม่ห้ามประเทศสมาชิกมีมาตรการควบคุมบริษัทประกอบธุรกิจการกระจายเสียง โทรทัศน์และภาพยนตร์   อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติสิทธิต่างๆดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้นรวมถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ รูปแบบ เงื่อนไข ข้อจำกัดและมาตรการลงโทษที่ต้องระบุชัดในเอกสารกฎหมายโดยต้องคำนึงถึงความจำเป็นในสังคมประชาธิปไตย คำนึงถึงผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของประเทศ บูรณภาพแห่งดินแดน ความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคมกับการป้องกันอาชญากรรม การรักษาสุขภาพและคุณธรรม ศักดิ์ศรีและเกียรติยศของคน การป้องกันการเผยแพร่ข่าวลับเพื่อความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นอิสระขององค์การตุลาการ   อาจกล่าวได้ว่า อนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรปได้กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่ก็กำหนดการปฏิบัติสิทธิต่างๆดังกล่าวและข้อจำกัดของมันที่ได้ระบุในกฎหมายของแต่ละประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศตน

ส่วนมาตรา ๒๕๘ ในประมวลกฎหมายอาญาเวียดนามระบุถึงการลงโทษฐานต่อผู้ที่ใช้สิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยมาเป็นโล่บังหน้าเพื่อรุกล้ำผลประโยชน์ของชาติ สิทธิและผลประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมายขององค์การและพลเมือง ทั้งนี้แสดงให้เห็นชัดว่า ฝ่ายนิติบัญญัติและบริหารของเวียดนามมีหลักฐานยืนยันอย่างเป็นระบบแบบแผนต่อมาตราดังกล่าว โดยกำหนดชัดถึงพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ส่วนการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพสื่อมวลชน เสรีภาพในความเลื่อมใสศรัทธาและนับถือศาสนา เสรีภาพในการจัดการประชุมและสิทธิเสรีภาพและประชาะธิปไตยอื่นๆที่ระบุในรัฐธรรมนูญและกฎหมายจะได้รับความเคารพอย่างเต็มที่  ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ข้อกำหนดต่างๆที่ระบุในมาตรา ๒๕๘ ของประมวลกฎมายอาญาเวียดนามนั้นสอดคล้องกับอนุสัญญาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนยุโรปและอนุสัญญาสากลเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและการเมืองฉบับปีค.ศ. ๑๙๖๖ โดยระบุว่า เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต้องเคารพสิทธิของคนอื่น เพื่อความมั่นคงของประเทศ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคม สุขภาพของคนและคุณธรรมของสังคม  ทั้งนี้และทั้งนั้นแสดงให้เห็นว่า มาตรา ๒๕๘ สอดคล้องกับหลักการของอนุสัญญาสากลเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและการเมืองปีค.ศ. ๑๙๖๖ และอนุสัญญาสากลฉบับอื่นๆเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

ในส่วนที่กลุ่มบล็อกเกอร์เวียดนามที่เรียกร้องให้ใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามรูปแบบของตะวันตกในเวียดนามนั้น พวกเขาลืมหรือจงใจลืมว่าจะมีเสรีภาพที่ไม่มีขอบเขตหรือไม่ แม้กระทั่งประเทศในยุโรปที่ร่างอนุสัญญาสากลที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและได้ถือเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับการปฏิบัติเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งเห็นได้ชัดจากกฎหมายว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของฝรั่งเศสโดยได้กำหนดมาตรการลงโทษสถานหนักต่อผู้ที่ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นมาเป็นโล่บังหน้าที่ส่งผลกระทบในทางลบต่อสิทธิและผลประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมายของคนอื่น กฎหมายของฝรั่งเศสยังมีข้อกำหนดต่างๆเพื่อปกป้องผลประโยชน์พื้นฐานของประเทศเช่น ห้ามพิมพ์จำหน่ายเอกสารเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติหรือเอกสารเกี่ยวกับคดีที่อยู่ในการพิจารณา การยกย่องอาชญากรรมสงครามและโทษกรรมต่อต้านมนุษย์

เวียดนามมิใช่เป็นประเทศเดียวที่มีมาตรการลงโทษต่อผู้มีพฤติกรรมใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพด้านสื่อมวลชนมาเป็นโล่บังหน้าเพื่อกระทำผิดกฎหมายเท่านั้น หากฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สาธารณรัฐเกาหลีและสิงคโปร์ก็มีมาตรการในลักษณะดังกล่าวเช่นกันเป็นที่ชัดแจ้งแล้วว่า ไม่ว่าประเทศใดในโลก เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต้องอยู่ในกรอบของกฎหมายและกรอบของการปฏิบัติสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายและอนุสัญญาสากลของประชาคมระหว่างประเทศ ./.


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด