การรำ ซวาง เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาวเผ่าบานา

(VOVWORLD) - ในคลังวัฒนธรรมของประชาชนในเขตเตยเงวียน โดยเฉพาะพี่น้องชนเผ่าต่างๆในจังหวัดกอนตุม การรำ ซวาง ได้กลายเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมแห่งตำนานที่ผูกพันกับวิถีชีวตของชุมชนชาวเตยเงวียนมาแต่เนิ่นนาน โดยไม่ว่าจะเป็นงานเทศกาลใดๆที่จัดขึ้นในเขตเตยเงวียนและมีเสียงฆ้องกังวาลไปทั่วก็จะมีการแสดงรำซวางมาประกอบด้วยเช่นกัน
การรำ ซวาง เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาวเผ่าบานา - ảnh 1สตรีเผ่าบานากำการรำซวาง (baodantocmiennui) 

ซวางคือชื่อเรียกของท่ารำทั่วไปของชนเผ่าบานา ซึ่งเป็นท่ารำแบบหมู่คณะที่สามารถมีคนร่วมรำได้หลายคน นายเจิ่นเลิม รองหัวหน้าฝ่ายวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรม การกีฬาและท่องเที่ยวจังหวัดกอนตุมเผยว่า"ในจังหวัด ช่วงที่มีงานเทศกาลมากที่สุดคือช่วงฤดูไปทำไร่และหลังหน้าเก็บเกี่ยว งานเทศกาลแต่ละงานต่างมีความผูกพันกับการบรรเลงฆ้องและรำซวาง ซึ่งช่วยสร้างเป็นจุดเด่นแห่งเอกลักษณ์วัฒนธรรมของเขตเตยเงวียน แม้จะไม่มีการสอนท่ารำซวางตามโรงเรียนต่างๆแต่เนื่องจากเป็นประเพณีที่พบเห็นในชีวิตประจำวันจึงเป็นโอกาสให้เด็กๆเรียนรู้และทำตาม"

สำหรับท่ารำ ซวาง นั้นจะเคลื่อนไหวตามจังหวะของดนตรีโดยใช้ทั้งมือและเท้า ออกท่าทางอย่างสวยงามอ่อนช้อยแล้วเดินเป็นวงกลมล้อมรอบเสาตุงที่ตั้งไว้กลางลานในใจกลางชุมชนหรือลานด้านหน้าบ้านโรง ในการฟ้อนรำ ซวาง ของชาวเผ่าบานา เครื่องดนตรีสำคัญที่ใช้ประกอบจังหวะสร้างลีลาสร้างบรรยากาศที่ครึกครื้นให้แก่งาน การรำซวางมีความผูกพันกับชีวิตของชนเผ่าบานาตั้งแต่ตอนเกิดจนถึงแก่ตาย เป็นเหมือนสะพานแห่งกาลเวลาที่เชื่อมอดีตกับปัจจุบัน แม้การแสดงฟ้อนรำ ซวาง ใช้ได้ในหลายงานแต่ลักษณะท่ารำล้วนสะท้อนภาพวิถีชีวิตการผลิตการทำงานของชาวบ้านไม่ว่าจะเป็นการเดินเหิน การจับปลา ล่าสัตว์ ตัดฟืน ไปจนถึงการสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนและพลังที่เข้มแข็งของชุมชน นาง Y Bluwn, ตำบล Đăk Rơ Wa, จังหวัดกอนตุม เผยว่า"ดิฉันเห็นพี่ป้าน้าอาฟ้อน ซวาง กันตั้งแต่ตอนเป็นเด็กเลยชอบดู ซึ่งตัวเองสังเกตุเห็นว่า การรำ ซวาง มี3ท่าหลักคือ การเคลื่อนตัว การยกมือขึ้นลง และท่าโบกมือ ซึ่งจะมีการรำซ้ำไปซ้ำมา"

การรำซวางในงานพิธีกรรมต่างๆจะมีทีมรำพิธี ซึ่งจะมีท่ารำเฉพาะสำหรับแต่ละงาน ส่วนการรำ ซวางอิสระ จะเป็นการรำแบบทั่วไปที่มีท่าหลักๆและมีลีลาจังหวะเหมือนรำแบบพิธี แตกต่างตรงที่การแสดงอารมณ์ของคนรำเท่านั้น ในบ้านของผู้ใหญ่บ้าน หย่างอาบิว ทั้งครอบครัวกำลังร่วมรำซวางอย่างสนุกสนาน ซึ่งก็เหมือนกับครอบครัวของพี่น้องเผ่าบานาต่างๆ ครอบครัวผู้ใหญ่บ้าน หย่างอาบิว ก็มีความหลงไหลกับเอกลักษณ์วัฒนธรรมศิลปะพื้นบ้านของชนเผ่าตน โดยการรำที่ถือว่าสวยงามจะต้องสะท้อนให้เห็นผ่านท่ารำมือที่อ่อนช้อย ตรงจังหวะ ส่วนเอวและสะโพกก็โยกย้ายส่ายไปมา หน้าตาบ่งบอกความสุข"ตอนเป็นเด็กก็ไปดูชาวบ้านเขารำซวางแล้วจึงมีความเข้าใจท่ารำทุกท่า ซึ่งเราก็รักษาประเพณีนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยถึงวันหยุดสุดสัปดาห์ก็จะเรียกลูกหลานมาชุมนุมที่บ้านเพื่อร่วมร้องรำกันอย่างสนุกสนาน เด็กๆท่ารำมือก็อ่อนช้อย รำสวยงามมาก"

ปัจจุบัน พี่น้องชนกลุ่มน้อยต่างๆในท้องถิ่นยังคงสานต่อการรำซวางดั้งเดิมแล้วมีการผสมพัฒนาท่าใหม่ที่สอดคล้องกับการพัฒนาของสังคมและยุคสมัย การรำซวางไม่เพียงแต่ได้แสดงในขอบเขตจำกัดของหมู่บ้านชุมชนเท่านั้น หากยังได้รับการเผยแพร่เข้าสู่คณะนาฎศิลป์ต่างๆเพื่อนำไปแสดงในงานมหกรรมศิลปะพื้นเมืองทั้งในระดับจังหวัดและทั่วประเทศอีกด้วย./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด