ชนเผ่าลาฮากับงานเทศกาล ฮวามัง

(VOVWORLD) -ชนเผ่าลาฮาเป็นกลุ่มชนส่วนน้อยที่อาศัยในเขตเขาตอนบนของเวียดนาม เช่นที่จังหวัดลาวกาย เซินลาและลายโจว์ ชุมชนเผ่าลาฮาอาศัยค่อนข้างอาศัยอย่างสันโดดจากสังคม อาศัยธรรมชาติเป็นที่พึ่งในการดำรงชีวิตดังนั้นจึงยังคงอนุรักษ์วิถีชีวิต ความเลื่อมใสและวัฒนธรรมที่โดดเด่น ที่น่าสนใจคือเทศกาล ฮวามัง ซึ่งเป็นงานขอฝนขอพรให้การเก็บเกี่ยวได้ผลดีที่ชาวลาฮาให้ความสำคัญที่สุด
ชนเผ่าลาฮากับงานเทศกาล ฮวามัง - ảnh 1 พิธีกรรมต่างๆในงานเทศกาลของชาวลาฮา

ตามข้อมูลวิจัยที่เขียนเป็นภาษาของชนเผ่าไทดำโบราณ ชนกลุ่มน้อยลาฮาเป็นกลุ่มชนเผ่าแรกๆที่อาศัยในเขตเขาตอนบนของเวียดนาม โดยตั้งแต่ศตวรรษที่11 เมื่อบรรพบุรุษของชาวไทดำได้อพยพมาตั้งหลักอาศัยในเขตนี้ก็พบบรรพบุรุษของชาวลาฮาที่อาศัยในพื้นที่นี้มานานแล้ว ในอดีต ชนกลุ่มน้อยลาฮาใช้ชีวิตแบบอย่างสันโดดจากชนเผ่าอื่นๆ ทำเกษตรกรรมทำนาแบบล้าสมัยตามวิธีดั้งเดิมของคนรุ่นก่อน แต่ปัจจุบันนี้ ชนเผ่าลาฮาได้ดำรงชีวิตร่วมกับชนเผ่าอื่นๆอย่างกลมกลืนโดยในชุมชนหมู่บ้านยังมีครอบครัวของชนเผ่าอื่นมาอาศัยรวมอยู่ด้วย ทุกชนเผ่าต่างสามัคคีช่วยเหลือกันพัฒนาชีวิตและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งช่วยให้คุณภาพชีวิตของชาวลาฮาได้รับการยกระดับให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นาย หว่างวันแต้น ชาวลาฮาที่อ.ทานเอวียน จ.ลายโจว์เผยว่า“เมื่อก่อนชนเผ่าเรารู้จักแต่การทำไร่ในพื้นที่ริมธารน้ำ ต่อมาเมื่อเห็นชนเผ่าไทปลูกข้าวนาดำเราก็ทำตาม ซึ่งสามารถทำนาใกล้บ้านไม่ต้องไปไกลผลผลิตก็เพิ่มขึ้น”

ชาวลาฮาอาศัยร่วมกันเป็นหมู่บ้านเรียกว่า คุนกาย โดยมีเฉลี่ยประมาณ10ครอบครัว ที่อยู่อาศัยมีลักษณะเป็นบ้านไม้ยกพื้น มีบันไดขึ้นบ้านทั้งสองด้าน มีประตูเข้าสองช่องสำหรับแขกและสำหรับคนในครอบครัว ส่วนการใช้ชีวิตครอบครัวนั้นก็ให้ความสำคัญต่อบทบาทของผู้ชาย โดยทั้งภรรยาและลูกต้องใช้นามสกุลพ่อ นอกจากนั้นประเพณีสำคัญต่างๆในชีวิตคนเช่นงานแต่งงานยังคงปฏิบัติตามเดิมคือต้องเรียกสินสอดทองหมั้นและสองอย่างที่ขาดมิได้คือถาดหมากพลูกับเงิน “นางคาปอม” หรือ “ค่าหัว” ซึ่งก็คือค่าเลี้ยงดูที่ต้องมอบเพื่อเป็นการตอบแทนพ่อตาแม่ยาย

ชนเผ่าลาฮากับงานเทศกาล ฮวามัง - ảnh 2

ตามที่นาย หว่างวันแต้น ชาวลาฮาที่อ.ทานเอวียน จ.ลายโจว์ได้เล่านั้น ชนเผ่าลาฮามีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับการเกษตร ไม่รู้จักการปลูกฝ้ายทอผ้าแต่ถนัดในงานจักรสาน“ชาวลาฮารู้จักสานไผ่ที่ใช้เป็นภาชนะต่างๆไม่ว่าจะเป็น กระบุง กระจาด ที่ตากข้าว ที่นอน เป็นต้น แต่ไม่รู้จักงานทอผ้าจึงไม่สามารถตัดเย็บเสื้อผ้าใส่เองได้ เราได้นำผลิตภัณฑ์เครื่องจักรสานไปแลกกับชุดเสื้อผ้าของชนเผ่าไทดังนั้นการแต่งกายก็เหมือนกับคนเผ่าไทเลย”

ในกระบวนการดำเนินวิถีชีวิตของชาวลาฮานั้นก็ได้ปรากฎประเพณีต่างๆเฉพาะของชนเผ่าซึ่งช่วยตอบสนองความต้องการด้านจิตวิญญาณความเลื่อมใส ซึ่งสะท้อนผ่านการจัดงานเทศกาลชุมชนต่างๆโดยเฉพาะงานเทศกาล ฮวามัง  ซึ่งเป็นงานขอฝนขอพรให้การเก็บเกี่ยวได้ผลดีที่ชาวลาฮาให้ความหมายสำคัญที่สุด ผ่านพิธีกรรมและกิจกรรมต่างๆในงานชาวลาฮาอยากแสดงความเคารพต่อบรรดาเทพและขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายคอยปกป้องคุ้มครองชาวบ้าน ชีวิตมีความอิ่มหนำผาสุก โดยต้องเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ก่อนเป็นเดือนเพื่อขอพรจากเจ้าเสือป่าที่เป็นสัญลักษณ์แห่งพลังอันแข็งแกร่งที่สามารถป้องกันสัตว์ร้ายต่างๆ เจ้าเม่นเป็นตัวแทนของเทพแห่งผืนดินที่คอยดูแลผลผลิตต่างๆ นกเขาใหญ่คือตัวแทนของเทพแห่งนกป่าที่คอยปกป้องไร่นา เป็นต้น เมื่อเสร็จพิธีกรรมต่างๆก็ถึงช่วงเวลาจัดกิจกรรมรื่นเริงโดยผู้นำพิธีจะแสดงท่าทางที่ตลกๆเพื่อสร้างความสนุกสนาน ให้กำลังใจชาวบ้าน

แม้ทุกวันนี้ ชาวลาฮาได้ใช้ชีวิตร่วมกับชนเผ่าอื่นๆในท้องถิ่นอย่างกลมกลืนแต่เอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ดีงามและโดดเด่นยังคงได้รับการสืบทอดและปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ โดยกิจกรรมชุมชนต่างๆนอกจากเป็นการปฏิบัติตามประเพณีดั้งเดิมแล้วก็ยังเป็นโอกาสเพื่อให้ชาวบ้านพบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์เพื่อร่วมกันพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด