ประเพณีการบูชา บ่านเวือง ของชุมชนเผ่าเย้าที่จังหวัดกว๋างนินห์

(VOVWORLD) -สำหรับชุมชนเผ่าเย้าที่อำเภอ บาแจ๋ จังหวัดกว๋างนินห์มีสองกลุ่ม คือเย้าแทงอีและเย้าแทงฟ้าน ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านชุดแต่งกาย ภาษาพูด รวมทั้งวัฒนธรรมพื้นบ้านบางอย่างที่สะท้อนผ่านสถาปัตยกรรมบ้านเรือนและงานประเพณีชุมชน แต่ก็มีความเลื่อมใสเดียวกันคือการบูชา บ่านเวือง (Bàn Vương) ซึ่งถือว่าเป็นบรรพบุรุษผู้ให้กำเนิดเผ่าเย้า
ประเพณีการบูชา บ่านเวือง ของชุมชนเผ่าเย้าที่จังหวัดกว๋างนินห์ - ảnh 1พิธีเซ่นไหว้บ่านเวือง(bienphong.com.vn

ตามตำนานที่ชาวบ้านได้เล่าขานกันมานั้น บ่านเวือง คือนายพล ลองเขียนโห่ ซึ่งสามารถรบชนะศัตรูผู้รุกรานประเทศ บิ่งเวือง จึงได้แต่งงานกับเจ้าหญิง มีบุตรด้วยกัน12คน โดยเป็นหญิง6คนและชาย6คน ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็น12ตระกูลใหญ่คือ ตระกูล บ่าน ลาม หมาน เอวี๋ยน ดัง เจี๋ยว เลือง ต๊ง เฝือง โด๊ย ลืว ลี้ หลังจากที่กษัตริย์ บิ่งเวือง เสด็จสวรรคต  บ่านเวือง ก็ได้ขึ้นครองราชย์ แต่ก็ยังคงรักษาวิถีชีวิตที่เรียบง่าย สอนชุมชนเผ่าเย้าให้รู้จักปลูกข้าวทำนา ทอผ้า พัฒนาชีวิตที่อิ่นหนำผาสุก เมื่อบ่านเวือง จากไป ชุมชนเผ่าเย้าก็จัดงานเซ่นไหว้บูชาโดยยกย่องให้เสมือนเป็นบรรพบุรุษ ซึ่งงานนี้ได้รับการสืบสานเรื่อยมาจนเป็นประเพณีที่ชาวบ้านปฏิบัติกันจนถึงทุกวันนี้ ในวัฒนธรรมของชนเผ่าเย้าของเวียดนาม ผู้ให้กำเนิดเผ่าเย้านั้นก็ถือเป็นผีประจำบ้านจึงได้รับการบูชาพร้อมกับบรรพชนและเทพ5องค์ได้แก่ เทพเจ้าแห่งเมล็ดข้าว เทพเจ้าแห่งวัฒนธรรม เทพเจ้าแห่งการล่าสัตว์และเทพเจ้าแห่งปศุสัตว์2องค์ โดยในงานพิธีกรรมทางวัฒนธรรมความเลื่อมใสที่สำคัญของชุมชนเผ่าเย้า จะต้องมีพิธีกรรมเซ่นไหว้ บ่านเวือง คุณวีถิเตวี๊ยน เจ้าหน้าที่หน่วยวัฒนธรรมของอำเภอ บาเเจ๋ เผยว่า “ทางการจังหวัดกว๋างนิงห์ได้มีแผนการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมของชนเผ่าเย้าซึ่งได้รับการอนุมัติเมื่อปี2019 ขณะนี้ได้มีการก่อสร้างศาลเจ้าบ่านเวืองแล้ว ซึ่งตามข้อมูลที่บันทึกนั้น หมู่บ้านเซินหายในอำเภอบาแจ๋คือถิ่นกำเนิดชุมชนเผ่าเย้า โดยชาวบ้านยังคงเก็บรักษาเอกสารที่มีค่าต่างๆที่ระบุเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมของชนเผ่าเช่น พิธีเกิ๊บซัก และชุดพื้นเมือง เป็นต้น"

การบูชาบ่านเวืองเป็นประเพณีที่โดดเด่นในวิถีชีวิตของชนเผ่าเย้าซึ่งถูกจัดขึ้นในวันที่หนึ่งเดือนสองจันทรคติทุกปี โดยถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่เกี่ยวข้องกับชะตาชีวิตของแต่ละคน แต่ละตระกูลและชาติ  ดังนั้นพิธีเซ่นไหว้ถูกจัดขึ้นตามขั้นตอนต่างๆอย่างละเอียดและสมบูรณ์โดยมีตัวแทนของทั้ง12ตระกูลเข้าร่วมพิธีถวายธูปเทียนดอกไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆต่อบ่านเวืองด้วยความเคารพ ในระหว่างการจัดงานยังมีการแสดงท่ารำต่างๆเช่นรำพญาเต่า รำเต้นไฟ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นประเพณีแห่งความลี้ลับที่สร้างเอกลักษณ์ให้แก่วัฒนธรรมความเลื่อมใสของเผ่าเย้า นายหว่างวันดึ๊ก รองประธานสภาประชาชนตำบลเเทงเซิน อำเภอบาแจ๋เผยว่า “ศาลเจ้า บ่านเวือง จะมีหิ้งบูชา ที่ โดยหิ้งบูชาตรงกลางบูชาบ่านเวือง บรรพบุรุษผู้ให้กำเนิดเผ่าเย้า หิ้งบูชาทางขวาเป็นที่บูชาเทพ ตามแทง ใช้สำหรับพิธีเกิ๊บซักและการบูชาทั่วไป ส่วนทางซ้ายใช้เป็นที่บูชาเทพตามเงวียน ซึ่งมีบทบาทในการจัดงานบ่านเวืองประจำปี" 

ตั้งแต่ช่วงเริ่มจัดพิธีไปจนถึงเสร็จสิ้นพิธีเซ่นไหว้บ่านเวือง ชาวบ้านจะต้องปฏิบัติตามข้อห้ามต่างๆอย่างเคร่งครัดทั้งผู้นำพิธี หมอผี ผู้เข้าร่วมงาน โดยห้ามนินทา หรือพูดคำหยาบและสิ่งที่ไม่ดีและต้องกินเจ เป็นต้น ด้วยความเชื่อว่ายิ่งแสดงความเคารพศรัทธาก็ยิ่งทำให้พิธีเซ่นไหว้นั้นศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น

สำหรับชาวเย้าบาแจ๋ที่จังหวัดกว๋างนิงห์และชุมชนเผ่าเย้าทั่วไป พิธีเซ่นไหว้บ่านเวืองนั้นมีความหมายแห่งการเป็นมนุษย์อย่างลึกซึ้งเพราะได้ทำให้จิตใจของผู้คนหวนคิดถึงรากเง่าและมีจิตใจสงบเพราะจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง พิธีกรรมแห่งความเลื่อมใสนี้ยังเป็นสายใยเชื่อมจิตใจและความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว ระหว่างตระกูลและหมู่บ้านให้ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสงบสุข./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด