วัดในชีวิตจิตใจของชนเผ่าเขมรในเวียดนาม

(VOVworld)- ชนเผ่าเขมรก็นับถือศาสนาพุทธเหมือนหลายชนเผ่าในเวียดนามดังนั้นในชุมชนชนเผ่าเขมร วัดวาอารามถือเป็นจุดสำคัญที่ไม่เพียงแต่เป็นศาสนสถานเท่านั้นหากยังเป็นโรงเรียนเพื่ออบรมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ทั้งด้านการผลิต การดำเนินชีวิตวัฒนธรรมและการศึกษาของชาวท้องถิ่น



(VOVworld)- ชนเผ่าเขมรก็นับถือศาสนาพุทธเหมือนหลายชนเผ่าในเวียดนามดังนั้นในชุมชนชนเผ่าเขมร วัดวาอารามถือเป็นจุดสำคัญที่ไม่เพียงแต่เป็นศาสนสถานเท่านั้นหากยังเป็นโรงเรียนเพื่ออบรมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ทั้งด้านการผลิต การดำเนินชีวิตวัฒนธรรมและการศึกษาของชาวท้องถิ่น

วัดในชีวิตจิตใจของชนเผ่าเขมรในเวียดนาม - ảnh 1

วัดของชุมชนชนเผ่าเขมรในเวียดนามเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้านซึ่งมีความหมายเหมือนกับศาลาประจำหมู่บ้านของชนเผ่ากิงหรือบ้านโรง ชายคาใหญ่ของชุมชนพี่น้องชนเผ่าต่างๆในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนของเวียดนาม แต่วัดเขมรมีความผูกพันธ์อย่างใกล้ชิดกับชีวิตของชาวบ้านมากกว่าศาลาประจำหมู่บ้านหรือบ้านกลางของชนเผ่าอื่นๆเพราะสำหรับผู้ชายเขมร โรงเรียนชีวิตแห่งแรกที่พวกเขาเริ่มเข้าศึกษาในช่วงก่อนไปโรงเรียนคือวัดและผู้ชายทุกคนเมื่อถึงวัยแล้วจะต้องบวช การบวชถือว่าเป็นการอบรมบ่มนิสัยให้ดีมีศีลธรรมดังนั้นการบวชจึงถือว่าเป็นประเพณีที่จำเป็นสำหรับลูกผู้ชายชนเผ่าเขมรทุกคน นอกจากนั้น ไม่ว่าจะเป็นงานวิวาห์หรืองานศพในชุมชนชนเผ่าเขมรต่างก็มีพระสงฆ์เข้าร่วมพิธี ส่วนการบูชาบรรพชนนั้นจะทำกันที่วัดไม่มีการบูชาที่บ้านเหมือนเผ่าอื่นๆ

วัดไม่เพียงแต่เป็นศาสนสถานที่สะท้อนแนวคิดและการประกอบศาสนกิจของชนเผ่าเขมรเท่านั้นหากยังเสมือนคลังหนังสือธรรมะและคำสอนแห่งพุทธศาสตร์ รวมทั้งเป็นที่รับแข็กจากต่างถิ่นเพราะวัดและพระสงฆ์มีความใกล้ชิดกับคนในชุมชนเหมือนสมาชิกในครอบครัว นายเหงวียนหุ่งหวี นักวิจัยวัฒนธรรมพื้นเมืองได้กล่าวว่า“คนชนเผ่าเขมรมีความผูกพันธ์กับวัดเหมือนครอบครัว ซึ่งมีทั้งความหมายทางศาสนาและการดำเนินชีวิต เป็นที่พึ่งที่สำคัญทางจิตใจเพื่อให้ทุกคนมาขอคำปรึกษา ดังนั้นวัดคือสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจของชุมชน

วัดในชีวิตจิตใจของชนเผ่าเขมรในเวียดนาม - ảnh 2

จากความศักดิ์สิทธิ์และความหมายที่สำคัญในชีวิตประจำวัน  วัดของชุมชนชนเผ่าเขมรในเวียดนามจึงได้รับการก่อสร้างอย่างยิ่งใหญ่และมีสถาปัตยกรรมที่ปราณีตสวยงาม โดยหลังคามักจะออกทรงปราสาท        เป็นหลังคาทรงจตุรมุขที่มีการประดับเครื่องยอดขึ้นไปบริเวณจุดตัดของสันหลังคาด้วยความเชื่อว่า ส่วนยอดสูงสุดนั้นเป็นส่วนที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดเพราะเป็นที่ประทับของเทพเจ้า รองศ.ดร.เลิมบ๊านาม จากมหาวิทยาลัย สังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยเผยว่า“สถาปัตยกรรมวัดเขมรนั้นมีเอกลักษณ์พิเศษที่ไม่เหมือนวัดในเขตที่ราบลุ่มภาคเหนือ ในชุมชนชนเผ่าเขมรวัดจะถูกตั้งบนที่สูงอย่างโอ่โถงสวยงามเพื่อให้สมกับเป็นชายคาร่วมของชุมชน เป็นที่พึ่งทางจิตใจให้แก่ชาวบ้าน

จุดเด่นที่สามารถพบเห็นได้ในสถาปัตยกรรมวัดเขมรคือบนหลังคามักจะมีการแกะสลักรูปพญานาคนากา ซึ่งเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ซึ่งถ้าเป็นพญานาคสามเศียรจะเป็นสัญลักษณ์ของฟ้า-ดิน-มนุษย์ พญานาค5เศียรหมายถึง 5 ธาตุ อันประกอบด้วย ธาตุ ไฟ ดิน ทอง น้ำ ไม้ พญานาค7เศียรเป็นสัญลักษณ์ของการไปสู่การตรัสรู้ หรือถ้าเป็น9เศียรก็เป็นการเบิกทางไปสู่สวรรค์ นักวิจัยวัฒนธรรมพื้นเมือง เหงวียนหุ่งหวีกล่าวว่า เมื่อเทียบกับสถาปัตยกรรมของวัดในท้องถิ่นอื่นๆของเวียดนาม วัดเขมรในภาคใต้ถือว่ามีเอกลักษณ์โดดเด่นที่สุดซึ่งเปรียบเสมือนเป็นภาพปักหลายสีสันที่สะท้อนวัฒนธรรมความเชื่อเฉพาะของชาวเขมร“จากสีสันที่สดใสและมีการผสมกันอย่างกลมกลืนเพื่อสร้างเป็นภาพอันงดงามนั้นเราจะเห็นได้ว่าคนชนเผ่าเขมรเป็นคนที่มีหัวศิลปะและมีความพิถีพิถันมากกว่าชุมชนในท้องถิ่นอื่นๆ

ปัจจุบันนี้ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมีวัดเขมรกว่า600แห่ง แม้จะมีการก่อสร้างในช่วงประวัติศาสตร์ต่างๆแต่วัดทุกแห่งล้วนเป็นกิจการแห่งศิลปะที่มีความสวยงามยิ่งจนมีวัดหลายแห่งที่มีอายุเก่าแก่เป็นร้อยปีได้รับการรับรองเป็นโบราณสถานทางวัฒนธรรมและความเลื่อมใสแห่งชาติและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมาก.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด