ศิลปะการทำเครื่องดนตรีพื้นเมือง พิณติ๋ง ของชนเผ่าไตที่จังหวัดกาวบั่ง
Le Phuong-VOV5 -  
(VOVWORLD) -
พิณติ๋งเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชนกลุ่มน้อยเผ่าไต หนุ่ง ไท ซึ่งมักจะใช้ประกอบในกิจกรรมด้านความเลื่อมใส งานเทศกาลและงานสังสรรค์ชุมชนต่างๆ แต่มีอย่างหนึ่งที่ไม่เหมือนกันก็คือเทคนิคการทำพิณติ๋งของแต่ละชนเผ่า ซึ่งในรายการวันนี้ทางผู้จัดทำรายการขอแนะนำวิธีการทำพิณติ๋งของชนเผ่าไตที่จังหวัดกาวบั่ง
เเม้ดูจะเป็นเครื่องดนตรีที่เรียบง่ายแต่กว่าที่จะได้พิณติ๋ง1อันก็ต้องผ่านหลายขั้นตอนที่ซับซ้อน |
พิณติ๋งเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองที่มีสถานะสำคัญเป็นอย่างยิ่งในวิถีชีวิตของชนเผ่าไต ซึ่งมีบทบาทเป็นตัวนำจังหวะและบรรเลงดำเนินทำนองประกอบการร้องเพลง เป็นเครื่องดนตรีประเภทสายชนิดดีด มีรูปร่างคล้าย กีต้าร์แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปมี 3 สาย ในบางท้องถิ่นอาจมี 2 สาย ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับ ซึง กระจับปี่ เป็นต้น
เเม้ดูจะเป็นเครื่องดนตรีที่เรียบง่ายแต่กว่าที่จะได้พิณติ๋ง1อันก็ต้องผ่านหลายขั้นตอนที่ซับซ้อน โดยกระโหลกพิณทำด้วยลูกน้ำเต้าแก่จัดตากให้แห้งตัดครึ่งด้านขวางของผล แกะเมล็ดในและเยื่อออกให้หมด คันพิณทำจากไม้ขนุนหรือไม้หม่อน สายพิณใช้เส้นไหม ซึ่งส่วนที่หายากที่สุดเพื่อนำมาประกอบพิณติ๋งคือลูกเต้า เพราะต้องเลือกลูกเต้าแก่ที่มีขนาดพอดี ทรงกลมมีเส้นรอบวงประมาณ60-70เซนติเมตร เปลือกหนา นายด่ามซวนหว่า ช่างทำพิณติ๋ง ที่กาวบั่งเผยว่า“เราต้องเลือกลูกน้ำเต้าที่มีทรงสวย แก่จัด ตัดออกด้านบน แช่น้ำประมาณสัปดาห์แล้วตากแห้ง แห้งเมื่อไหร่ก็นำไปแช่น้ำปูนขาวประมาณสามวันเมื่อป้องกันปลวกกิน อีกทั้งยังช่วยให้พิณมีเสียงที่ใสขึ้นด้วย”
กระโหลกพิณทำด้วยลูกน้ำเต้า
|
นายหว่า เผยต่อไปว่า หลังจากลูกน้ำเต้าแห้งดีแล้วก็จะนำไปเจาะรูรอบๆ โดยแบ่งเป็น6จุด จุดละ9รูรวมทั้งหมดเป็น54รูเพื่อระบายเสียง ขนาดของรูขึ้นอยู่กับขนาดของลูกน้ำเต้า คันพิณทำจากไม้ที่มีอายุประมาณ15ปีขึ้นไป เนื้อเนียนไม่มีลาย ยาวประมาณ80เซนติเมตร-1เมตร ส่วนปลายสุดมีลักษณะงอนเป็นรูปจันทร์เสี้ยวและมีการแกะสลักลวดลายต่างให้ดูสวยงาม ส่วนการขึ้นสายพิณต้องพอดีเพื่อให้เสียงดังกังวานไพเราะแจ่มใสเพราะถ้าตรึงเกินไปแล้วก็จะขาด แต่ถ้าหย่อนเกินก็ให้เสียงไม่เพราะ ในอดีตจะใช้สายไหมแต่ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้สายอื่นแทนเช่นสายกีตาร์ โดยกว่าจะได้พิณ1อันนอกจากต้องเตรียมวัสดุที่เหมาะสมแล้วยังต้องการฝีมือของช่างศิลป์ ที่มีประสบการณ์และมีความสามารถในด้านดนตรีโดยเฉพาะเพลงพื้นเมืองถึงจะทำให้เสียงพิณที่ออกมาไพเราะได้
เวลาได้ผ่านไปหลายชั่วคน แต่พิณติ๋งก็ยังคงเป็นสัญลักษณ์แห่งเครื่องดนตรีพื้นเมืองที่ขาดมิได้ในงานชุมชนวัฒนธรรมต่างๆ การอนุรักษ์และส่งเสริมให้วัฒนธรรมพื้นบ้านได้คงอยู่และพัฒนาต่อไปในชีวิตจิตใจของชนเผ่าไตในจังหวัดกาวบั่งได้สร้างแรงจูงใจให้ชาวท้องถิ่นร่วมกันธำรงอาชีพทำพิณติ๋งเพื่อให้คนรุ่นหลังสืบต่อไป.
Le Phuong-VOV5