แหวนหมั้น สัญลักษณ์แห่งความรักของชนเผ่าจูรู

(VOVWORLD) -ในคลังวัฒนธรรมประเพณีที่โดดเด่นต่างๆของชนเผ่าจูรูที่น่าสนใจคือประเพณีต่างๆในงานแต่งงาน โดยเฉพาะแหวนหมั้นของคู่รัก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความรักความผูกพันระหว่างหนุ่มสาวเผ่าจูรู
แหวนหมั้น สัญลักษณ์แห่งความรักของชนเผ่าจูรู - ảnh 1แหวนเงินของชาวจูรู (Photo internet)

สำหรับชาวจูรู แหวนเงินเป็นเครื่องประดับของชาวเผ่าจูรูทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่หญิงหรือชาย รวยหรือจนและยังเป็นสิ่งของที่ขาดมิได้ในงานสำคัญๆเช่นงานตรุษเต๊ตและงานแต่งงาน โดยเฉพาะเป็นของหมั้นหลักในขบวนขันหมากเพื่อไปสู่ขอ เป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและความรับผิดชอบของสามีภรรยาในครอบครัว  นางเลืองแทงเซิน นักวิจัยวัฒนธรรมชนเผ่าในเขตเตยเงวียนเผยว่า การที่คู่บ่าวสาวได้มอบแหวนหมั้นให้กันก็เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและความผาสุกของทั้งสองครอบครัว ถ้าไม่มีแหวนหมั้นชีวิตคู่ของสองคนที่แต่งงานกันจะไม่ราบรื่นและไม่มีความสุข

แหวนหมั้นนั้นมีสองวงที่แตกต่างกัน  โดยแหวนของฝ่ายหญิงเรียกว่า sri ของฝ่ายชายเรียกว่า sra แหวนแต่ละวงถูกแกะสลักอย่างปราณีตสวยงาม เมื่อทั้งคู่ได้มอบแหวนหมั้นให้แก่กันก็ปรารถนาให้ชีวิตคู่นั้นมีความสุขและสมบูรณ์ไปตลอดกาล นางเลืองแทงเซิน นักวิจัยวัฒนธรรมชนเผ่าในเขตเตยเงวียนเผยว่า“แหวนหมั้นต้องทำโดยฝีมือของชาวเผ่าจูรูเอง ดังนั้นจะมีหมู่บ้านที่ประกอบอาชีพทำแหวนหมั้นเฉพาะเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนชาวจูรู โดยแหวนหมั้นนั้นก็เหมือนกับกำไลรักของชนเผ่าอื่นๆในเตยเงวียนที่ต้องทำเป็นคู่และแบ่งเป็นเพศหญิงกับเพศชาย”

แหวนหมั้น สัญลักษณ์แห่งความรักของชนเผ่าจูรู - ảnh 2มอบแหวนให้แก่ผู้ชายในพิธีสู่ขอ(Photo internet)

ปัจจุบันนี้ ในชุมชนชาวจูรูยังคงรักษาอาชีพพื้นเมืองนี้ต่อไปและได้มีการสานต่อให้แก่ชนรุ่นหลังรวมทั้งช่างศิลป์ ยาต๊วด ที่ต.ตูตรา อ.เดินเยือง จ.เลิมด่ง ซึ่งเขาเผยว่าวัตถุสำคัญในการทำแม่แบบของแหวนคือขี้ผึ้งป่า ดินเหนียวและขี้ควาย โดยจะนำขี้ผึ้งไปต้มให้ละลายแล้วจุ่มไม้เท้าในขึ้ผึ้งร้อนๆ พักให้เย็นจะได้กระบอกขี้ผึ้งกลมๆ แล้วนำมาตัดเป็นวงแหวนตามขนาดนิ้วมือของผู้ชายและผู้หญิง ลวดลายบนแหวนดัดด้วยเส้นขี้ผึ้งขนาดเล็กๆ3เส้น หลังจากดัดรูปทรงให้แหวนเสร็จก็นำไปจุ่มในส่วนผสมของดินเหนียวกับขี้ควายแล้วเอาไปตากแดดให้แห้ง ซึ่งใช้เวลาประมาณครึ่งวัน ต่อจากนั้นจะนำมาเผาบนเตาถ่านให้ส่วนที่เป็นขี้ผึ้งละลายให้หมด จะเหลือแต่ส่วนนอกที่เป็นดินเหนียว ช่างศิลป์จะเทน้ำเงินเหล็วลงไปในแม่แบบดินเหนียวนั้นเพื่อที่จะได้แหวนสำเร็จรูป ขั้นตอนสุดท้ายคือจะนำแหวนไปขัดให้ขึ้นเงางาม ถ้าเป็นแหวนผู้ชายจะปะเม็ดเกอเนียสีแดงบนเเหวน ส่วนแหวนของผู้หญิงไม่มี  ซึ่งตามประสบการณ์ของช่างศิลป์นั้น ส่วนที่ยากที่สุดคือทำแม่แบบของแหวน ซึ่งต้องใช้ฝีมือและต้องมีความพิถีพิถันมาก “ผมประกอบอาชีพทำแหวนเงินของชนเผ่ามาหลายสิบปีแล้วและปัจจุบันก็ได้สอนให้ลูกหลานได้สานต่อเพื่อจุดประกายความรักอาชีพพื้นเมืองให้แก่ชนรุ่นหลัง

นอกจากแหวนหมั้นสำหรับคู่รักแล้ว สำหรับชาวจูรู แหวนเงินยังเป็นเครื่องประดับที่ทุกคนอยากมีเพราะเชื่อว่า แหวนนั้นมีความศักสิทธิ์มากและนี่คือแรงดลใจให้ชุมชนชาวจูรูพยายามอนุรักษ์และสานต่อประเพณีวัฒนธรรมพื้นเมืองที่ดีงามของชนเผ่าตนให้คงอยู่ต่อไป.    

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด