“VietNam-The Real War” หรือ “เวียดนาม-สงครามผ่านรูปภาพ” มุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับสงครามเวียดนาม

(VOVworld) - “VietNam-The Real War หรือเวียดนาม-สงครามผ่านรูปภาพ” คือหัวข้อของงานนิทรรศการภาพถ่ายซึ่งจัดโดยสำนักข่าวเอพีของสหรัฐ ณ กรุงฮานอยเป็นครั้งแรก งานนิทรรศการได้สร้างความซาบซึ้งใจเป็นอย่างมากให้แก่ผู้เข้าชม นำเสนอมุมมองที่สมบูรณ์เกี่ยวกับสงครามที่สหรัฐก่อขึ้นในเวียดนาม นี่คือสงครามที่ดุเดือด สร้างความสูญเสียอย่างหนักให้แก่ทหารของทั้งสองฝ่ายและประชาชนผู้บริสุทธิ์ นอกจากนั้น จากมุมมองของช่างภาพของสำนักข่าวเอพีได้ช่วยให้ผู้เข้าชมงานมีการมองที่หลากหลายเกี่ยวกับสงครามนี้
(VOVworld) - “VietNam-The Real War หรือเวียดนาม-สงครามผ่านรูปภาพ” คือหัวข้อของงานนิทรรศการภาพถ่ายซึ่งจัดโดยสำนักข่าวเอพีของสหรัฐ ณ กรุงฮานอยเป็นครั้งแรก งานนิทรรศการได้สร้างความซาบซึ้งใจเป็นอย่างมากให้แก่ผู้เข้าชม นำเสนอมุมมองที่สมบูรณ์เกี่ยวกับสงครามที่สหรัฐก่อขึ้นในเวียดนาม นี่คือสงครามที่ดุเดือด สร้างความสูญเสียอย่างหนักให้แก่ทหารของทั้งสองฝ่ายและประชาชนผู้บริสุทธิ์ นอกจากนั้น จากมุมมองของช่างภาพของสำนักข่าวเอพีได้ช่วยให้ผู้เข้าชมงานมีการมองที่หลากหลายเกี่ยวกับสงครามนี้
“VietNam-The Real War” หรือ “เวียดนาม-สงครามผ่านรูปภาพ” มุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับสงครามเวียดนาม - ảnh 1
งานนิทรรศการได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้เข้าชม

เวลา 8.45 น. ของวันที่ 11 มิถุนายน ที่ห้องจัดแสดงเลขที่ 45 ถนนจ่างเตี่ยน เขตหว่านเกี๊ยม กรุงฮานอย มีแขกรับเชิญ สื่อมวลชนและผู้เข้าชมงานหลายคนกำลังรอพิธีเปิดงาน “VietNam-The Real War” หรือ “เวียดนาม สงครามผ่านรูปภาพ” อย่างใจจดใจจ่อ งานนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้เข้าชมและสื่อมวลชนเพราะนี่คือครั้งแรกที่สำนักข่าวเอพีของสหรัฐจัดงานนิทรรศการเกี่ยวกับสงครามเวียดนาม ในงานมีการจัดแสดงภาพโปสเตอร์เด็ก Napalm ขนาดใหญ่ของช่างภาพ นิคอุ๊ต ที่ได้รับรางวัล Pulitzer และถูกเลือกเป็นภาพข่าวโลกประจำปี 1972 นอกจากนั้น เมื่อปี 2010 นิตยสาร New Statesman ของอังกฤษได้เลือกให้ภาพนี้เป็นภาพข่าวร่วมสมัยที่น่าประทับใจโดยภาพเด็ก Napalm นั้นคือภาพถ่ายเด็กๆที่ถูกไฟไหม้จากการทิ้งระเบิด Napalm ของกองทัพสหรัฐพร้อมเสียงร้องไห้ขอความช่วยเหลือตามทางหลวงหมายเลข 1 ใกล้ จ๋างบ่างซึ่งภาพที่โดดเด่นคือเด็กหญิง กิมฟุก อายุ 9 ขวบ ในสภาพร่างกายเปลือยเปล่ากำลังร้องไห้อย่างน่าสงสารในขณะที่ทหารของกองพล 25 ของรัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนามตามไปด้านหลัง ภาพนี้ถูกถ่ายเมื่อวันที่ 8 มิถุนายนปี 1972 นาย นิค อุ๊ต ได้เผยว่า“เมื่อผมถ่ายรูปเด็กหญิง กิมฟุก ผมได้รับข้อความนับพันข้อความจากทั่วโลก เมื่อภาพถ่ายนี้ถูกพิมพ์ลงบนหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆก็ได้สร้างความสะเทือนใจไปทั่วโลกและสร้างกระแสคัดค้านสหรัฐซึ่งภาพนี้ทำให้ชาวอเมริกันถือว่านี่คือความพ่ายแพ้ของพวกเขาในสงครามเวียดนาม พิพิทภัณฑ์ต่างๆในสหรัฐล้วนจัดแสดงภาพถ่ายนี้เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจมากขึ้นซึ่งก็มีนักเรียนนับล้านคนได้เดินทางมาพิพิธภัณฑ์เพื่อชมภาพถ่ายนี้

“VietNam-The Real War” หรือ “เวียดนาม-สงครามผ่านรูปภาพ” มุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับสงครามเวียดนาม - ảnh 2
ภาพเด็ก Napalm

ในช่วงสงครามเวียดนาม เพื่อรายงานข่าวอย่างถูกต้องและเข้าถึงอารมณ์ให้ได้ชีวิตชีวาได้มากที่สุด  เอพีได้ส่งผู้สื่อข่าวฝีมือดีไปยังสมรภูมิเพื่อช่วยให้ประชาชนในโลกมีมุมมองที่หลากหลายมากขึ้นเกี่ยวกับสงครามนี้ นาย Gray Pruitt ประธานและผู้อำนวยใหญ่สำนักข่าวเอพีได้เผยว่า“ผู้สื่อข่าวของเอพีได้ถ่ายภาพหลายภาพซึ่งได้ช่วยให้โลกมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับสงครามในเวียดนาม ผู้สื่อข่าวของเอพีได้รายงานข่าวเกี่ยวกับสงครามอย่างถูกต้อง ในตลอดกว่า 170 ปีแห่งการพัฒนาของเอพี พวกเรายังคงยืนหยัดปฏิบัติแนวทางและเป้าหมายคือรายงานให้โลกได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเราได้ปฏิบัติในช่วงสงครามและในปัจจุบัน เอพีมีภาพถ่ายชุดหนึ่งที่เก็บสะสมในช่วงสงคราม เมื่อ ๒ ปีก่อน พวกเราได้ตัดสินใจจัดทำชุดสะสม นี่เป็นหนังสือภาพถ่ายที่มีชื่อว่า “เวียดนาม สงครามผ่านภาพถ่าย” และภาพถ่ายที่ถูกจัดแสดงในงานนี้มาจากหนังสือเล่มดังกล่าว เอพีอยากแนะนำภาพถ่ายที่มีความหมายทางประวัติศาสตร์ให้ประชาชนเวียดนามรับทราบ

“VietNam-The Real War” หรือ “เวียดนาม-สงครามผ่านรูปภาพ” มุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับสงครามเวียดนาม - ảnh 3
ภาพถ่ายเกี่ยวกับพระมหาเถระ ทิ๊ก กว๋าง ดึ๊ก ที่เผาตนเองเมื่อปี ๑๙๖๓ เพื่อคัดค้านการปราบปรามศาสนาพุทธของทางการสาธารณรัฐเวียดนาม

ในจำนวนภาพถ่ายที่ถูกจัดแสดงในงานนิทรรศการ มีหลายภาพที่ได้สร้างความสะเทือนใจต่อประชามติโลก สร้างกระแสคัดค้านสหรัฐที่ก่อสงครามในเวียดนาม นั่นคือภาพถ่ายเกี่ยวกับพระมหาเถระ ทิ๊ก กว๋าง ดึ๊ก ที่เผาตนเองเมื่อปี ๑๙๖๓ เพื่อคัดค้านการปราบปรามศาสนาพุทธของทางการสาธารณรัฐเวียดนาม ภาพถ่ายนายพล เหงียน หงอก ลวาน ผู้บัญชาการตำรวจสาธารณรัฐเวียดนามที่ยิงปืนพกใส่ศีรษะนาย เหงียนวันแล้ม ผู้สงสัยว่าเป็นทหารปลดปล่อยบนถนนสายหนึ่งในนครไซ่ง่อนในช่วงเริ่มการโจมตีครั้งใหญ่ปี ๑๙๖๘ ซึ่งภาพถ่ายนี้ถ่ายโดยช่างภาพ Eddie Adams ที่ได้รับรางวัล Pulitzer ประจำปี ๑๙๖๙ และยังมีภาพถ่ายพ่อคนหนึ่งที่กำลังอุ้มศพลูกในขณะที่ทหารคอมมานโดของสาธารณรัฐเวียดนามกำลังนั่งมองบนรถหุ้มเกราะของช่างภาพ Horst Fass ที่ถ่ายในไตนิงเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคมปี ๑๙๖๔ ซึ่งได้รับรางวัล Pulitzer ประจำปี ๑๙๖๕ ในงานไม่เพียงแต่แนะนำภาพถ่ายที่แสดงถึงโทษกรรมของกองทัพสหรัฐและความสูญเสียของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น หากยังแนะนำมุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับผู้ก่อสงคราม นั่นคือภาพถ่ายทหารอเมริกันช่วยเหลือแม่เฒ่าเมื่อเขาและชาวบ้านต้องย้ายไปยังโซนนิ่งที่จัดให้ไว้ ภูเขาที่กำลังมีควันลอยฟุ้งอยู่ด้านหลังหรือภาพถ่ายที่กล่าวถึงช่วงเวลาพักผ่อนของทหารอเมริกันหลังการสู้รบแต่บนใบหน้าของพวกเขายังเต็มไปด้วยความหวาดกลัวและเบื่อหน่ายสงคราม เช่นภาพถ่าย “war is hell” หรือ “สงครามคือนรก” ซึ่งเป็นหนึ่งในภาพถ่ายที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับสงครามเวียดนามของช่างภาพ Horst Fass ที่กล่าวถึงทหารอเมริกันนายหนึ่งที่ใส่หมวกที่มีคำว่า “สงครามคือนรก” ณ สนามบิน เฟือกหวิงเมื่อเดือนมิถุนายนปี ๑๙๖๕ นาย เหงียนฟู้วิง หนึ่งในผู้เข้าชมงานได้แสดงความรู้สึกตื้นตันใจว่า“จากการเข้าชมงาน ผมเข้าใจความโหดร้ายและความน่ากลัวของสงครามในเวียดนามซึ่งทำให้ประชาชนเวียดนามประสบความสูญเสียมหศาลและเข้าใจความกล้าหาญของช่างภาพเอพีที่ได้ถ่ายภาพสงครามอย่างเข้าถึงอารมณ์โดยสะท้อนให้เห็นถึงความเสียหายของทหารทั้งสองฝ่ายและประชาชนในเขตที่เกิดการสู้รบ เช่นภาพถ่ายศพเด็กที่น่าสงสารมาก นอกจากนั้น ยังมีภาพถ่ายคนชราและสตรีที่เสียชีวิตในสงครามนี้ซึ่งพวกเขาคือประชาชนผู้บริสุทธิ์ ความดุเดือดของสงครามนี้เหมือนคำพูดที่ทหารอเมริกันได้เขียนไว้ใส่ที่หมวกว่า “สงครามคือนรก” สงครามได้สร้างความสูญเสียและความโศรกเศร้า ถ้าหากพวกเราหลีกเลี่ยงสงครามได้ก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด”

“VietNam-The Real War” หรือ “เวียดนาม-สงครามผ่านรูปภาพ” มุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับสงครามเวียดนาม - ảnh 4
ช่างภาพ นิคอุ๊ต

สำหรับนาย ดั่งเหยิดมิง ผู้กำกับที่มีชื่อเสียงของเวียดนามที่อยู่ในนครไซ่ง่อนเมื่อคืนวันที่ ๓๐ เมษายนปี ๑๙๗๕ ซึ่งเป็นช่วงแรกหลังจากปลดปล่อยภาคใต้ งานนิทรรศการภาพถ่ายนี้ได้ย้อนอดีตทบทวนความทรงจำของเขา“ผมคิดถึงช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ของประชาชาติ โดยเฉพาะสงครามต่อต้านสหรัฐอเมริกาเพื่อกู้ชาติ ช่างภาพเวียดนามหลายคนได้ถ่ายภาพหลายภาพเกี่ยวกับสงครามที่เปิดโปงโทษกรรมและความปวดร้าวของสงคราม แต่งานนี้ได้ช่วยให้ผู้เข้าชมมีมุมมองที่หลากหลาย โดยเฉพาะจากช่างภาพอเมริกัน ผมขอขอบคุณพวกเขาเพราะถ้าพวกเขาไม่ถ่ายภาพนี้ พวกเราก็จะเข้าใจสงครามจากมุมมองของช่างภาพเวียดนามเท่านั้น การแนะนำภาพถ่ายนี้ช่วยให้พวกเรามีมุมมองอย่างสมบูรณ์เกี่ยวกับสงคราม ช่างภาพสหรัฐถ่ายภาพไม่ใช่เพื่อการประชาสัมพันธ์หากอยากกล่าวถึงความจริงของสงคราม นั่นคือ ชาวอเมริกันเป็นผู้ก่อสงคราม กองทัพสหรัฐและจิตใจแห่งการต่อต้านสงคราม”
งานนิทรรศการนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากประชาชน ผู้เข้าชมงานทุกคนต่างมีความคิดเห็นของตนเกี่ยวกับสงคราม โดยเฉพาะสำหรับช่างภาพผู้สื่อข่าว นี่คือโอกาสที่ดีเพื่อให้พวกเขามีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับอาชีพที่ได้เลือกเฟ้น ตลอดจนความกล้าหาญในการประกอบอาชีพในภาคสนามเพื่อถ่ายภาพที่ล้ำค่าของช่างภาพชนรุ่นก่อน นาย เหงียน นา เซิน ช่างภาพผู้สื่อข่าวรุ่นใหม่ของเอพีในเวียดนามได้เผยว่า“การจัดงานนี้ได้ช่วยให้ผู้เข้าชมงานมีมุมมองที่ชัดเจนเกี่ยวกับภาพข่าว ตลอดจนบทบาทของช่างภาพผู้สื่อข่าว โดยเฉพาะในช่วงสงคราม ในจำนวนผู้สื่อข่าวที่เสียชีวิตในสงครามตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่คือช่างภาพผู้สื่อข่าวและผู้ถ่ายทำภาพยนตร์ ในสงคราม ฝ่ายเวียดนามมีผู้สื่อข่าวเสียชีวิต ๗๐ คน ส่วนฝ่ายสหรัฐมี ๔ คน รวมทั้งพี่ชายของช่างภาพ นิคอุ๊ต ผมเคยมีโอกาสลงพื้นที่เพื่อถ่ายภาพในเขตที่มีการปะทะก็เห็นถึงความตึงเครียดและความดุเดือดของสงคราม แต่นี่คืออาชีพที่ผมได้เลือกแล้ว ภาพถ่ายของช่างภาพผู้สื่อข่าวรุ่นก่อนได้สร้างแรงบันดาลใจให้พวกเราเลือกที่จะเป็นช่างภาพผู้สื่อข่าว ภาพถ่ายที่มีความหมายแทนคำพูดนับล้านคำเพื่อสะท้อนสถานการณ์ที่เป็นจริงของสงคราม ความดุเดือด ความโหดร้ายและบทบาทของช่างภาพผู้สื่อข่าว
ในการกล่าวปราศรัยในพิธีเปิดงาน นาย บุ่ยแทงเซิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้ชื่นชมการจัดกิจกรรมที่มีความหมายของเอพีในเวียดนาม“ผมชื่นชมการที่สำนักข่าวเอพีที่ได้จัดงานนิทรรศการโดยจัดแสดงภาพถ่ายดีเด่นกว่า ๕๐ ภาพที่ถูกคัดเลือกจากหนังสือภาพข่าวเกี่ยวกับสงครามเวียดนามซึ่งเป็นชุดสะสมภาพถ่ายของช่างภาพผู้สื่อข่าวที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเอพีที่กล่าวถึงช่วงเวลาและโศกนาฏกรรมของประเทศและประชาชนเวียดนามอย่างถูกต้องและน่าประทับใจที่สุด ภาพถ่ายนี้ถือเป็นคำเตือนเกี่ยวกับความโหดร้ายของสงครามเพื่อให้พวกเราให้ความเคารพคุณค่าของสันติภาพ เอกราชและเสรีภาพ”
ภาพถ่ายกว่า ๕๐ ภาพเกี่ยวกับสงครามของช่างภาพผู้สื่อข่าวเอพีจะถูกจัดแสดงในงานไปจนถึงวันที่ ๒๖ มิถุนายนนี้ หลังจากนั้นก็จะมอบให้พิพิทภัณฑ์ประวัติศาสตร์กองทัพประชาชนเวียดนามเก็บรักษาต่อไป./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด