ความก้าวหน้าของเทคนิคการปลูกถ่ายอวัยวะในเวียดนาม

(VOVWORLD) - นับตั้งแต่เวียดนามปลูกถ่ายอวัยวะครั้งแรกเมื่อปี 1992 จนถึงปัจจุบัน ทุกปี หน่วยงานปลูกถ่ายอวัยวะเวียดนามก็ได้ประสบความสำเร็จใหม่ๆ โดยเฉพาะในหลายปีมานี้ จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย หน่วยงานปลูกถ่ายอวัยวะเวียดนามได้บรรลุความคืบหน้าใหม่ ซึ่งมีเทคนิคการปลูกถ่ายอวัยวะทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาในโลก

ความก้าวหน้าของเทคนิคการปลูกถ่ายอวัยวะในเวียดนาม - ảnh 1แพทย์โรงพยาบาลเวียดดึ๊กทำการผ่านตัด (หนังสือพิมพ์กงหล่วน)

 

ประวัติศาสตร์ของหน่วยงานปลูกถ่ายอวัยวะเวียดนามได้เริ่มจากการปลูกถ่ายไตให้แก่นาย หวูแหม่งดวาน ผู้ป่วยอายุ 40 ปี เมื่อวันที่ 4 มิถุนายนปี 1992 ที่โรงพยาบาลเสนารักษ์ 103 จากผู้บริจาคคือน้องชาย อายุ 28 ปี ซึ่งสร้างนิมิตหมายแห่งก้าวพัฒนาใหม่ให้แก่หน่วยงานการแพทย์เวียดนาม พร้อมทั้งสร้างความหวังให้ผู้ป่วยโรคไตขั้นรุนแรงในการที่จะสู้ต่อไป หลังจากนั้น 5 เดือน โรงพยาบาลเจอไหร่ในนครโฮจิมินห์ก็สามารถทำการปลูกถ่ายไตได้เป็นครั้งแรกและผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายก็ยังมีสุขภาพแข็งแรง เมื่อปี 2004 เด็กหญิง เหงียนถิเหยียบ อายุ 10 ปีที่จังหวัดนามดิ่งห์เป็นผู้ป่วยคนแรกที่ได้รับการปลูกถ่ายตับ ณ โรงพยาบาลเสนารักษ์ 103 โดยคุณพ่อเป็นผู้บริจาค ซึ่งในปัจจุบัน เธอได้เติบโตและกำลังทำงานในหน่วยงานการแพทย์ ส่วนคุณพ่อของเธอก็ยังคงมีสุขภาพแข็งแรงเช่นกัน และเมื่อปี 2007 โรงพยาบาลเวียดดึ๊กได้ทำการปลูกถ่ายตับสำหรับผู้ใหญ่เป็นรายแรกของเวียดนาม และอีกหนึ่งหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในประวัติศาสตร์การปลูกถ่ายอวัยวะเวียดนามคือการประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายหัวใจครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2010  ณ โรงพยาบาลเสนารักษ์ 103 จากประเทศที่มีหน่วยงานปลูกถ่ายอวัยวะที่ล้าหลัง ปัจจุบัน เวียดนามสามารถปลูกถ่ายอวัยวะที่ซับซ้อนต่างๆ เช่นไต ตับ หัวใจและปอด ซึ่งสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้กว่า 1,500 คน ซึ่งเทียบเท่าประเทศที่มีเทคนิคการปลูกถ่ายอวัยวะที่พัฒนาในโลก ภายหลัง 26 ปี  นับตั้งแต่ทำการปลูกถ่ายอวัยวะครั้งแรก เทคนิคการปลูกถ่ายอวัยวะของเวียดนามได้พัฒนาทัดเทียมระดับโลก โดยเมื่อวันที่ 27 มิถุนายนปี 2018 แพทย์แผนกโรคทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาล เจอโหร่ นครโฮจิมินห์ ได้ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดส่องกล้องไตของผู้บริจาค 2 คนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยใช้หุ่นยนต์ผ่าตัด ดร. ท้ายมิงเซิม หัวหน้าแผนกโรคทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาล เจอไหร่ ได้เผยว่า “จุดเด่นของหุ่นยนต์คือสามารถผ่าตัดในจุดที่อยู่ลึกได้อย่างแม่นยำ จุดดีของการใช้หุ่นยนต์ผ่าตัดคือ แผลผ่าตัดเล็กและผู้ป่วยฟื้นตัวโดยเร็ว ถ้าประกันสาธารณสุขครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดนี้ก็จะมีผู้ป่วยหลายคนลงทะเบียนผ่าตัดมากขึ้น”

ความก้าวหน้าของเทคนิคการปลูกถ่ายอวัยวะในเวียดนาม - ảnh 2การปลูกถ่ายปอดที่โรงพยาบาลเสนารักษ์ (vietnamplus) 

ตามความเห็นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข จนถึงปัจจุบัน เวียดนามมีความพร้อมในการปลูกถ่ายไตที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และกำลังพัฒนาสู่การปลูกถ่ายมดลูกหรือแขนขา เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายอวัยวะหลายส่วนพร้อมกัน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจมาก

ปัจจุบัน ทุกปี เวียดนามมีผู้ป่วยเกือบ 8 พันคนที่ต้องได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ แต่จำนวนผู้บริจาคอวัยวะยังมีไม่มากนัก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการบริจาคของญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ ถ้าทำการปลูกถ่ายอวัยวะจากผู้ที่สมองตายหรือหัวใจหยุดเต้นก็จะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยอีกหลายคนที่ต้องการปลูกถ่ายหัวใจ ไต ตับ ตับอ่อน และอวัยวะอื่นๆ ศาสตราจารย์ ดร. เหงียนเตี๊ยนเกวียด ผู้อำนวยการโรงพยาบาล เวียดดึ๊ก ได้แสดงความเห็นว่า การรณรงค์ให้ประชาชนและชุมชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายด้านมนุษยธรรมของการบริจาคอวัยวะเพื่อช่วยชีวิตคนอื่นคือสิ่งที่จำเป็น “พวกเราต้องรณรงค์ให้ประชาชนในสังคมเข้าร่วมการบริจาคอวัยวะเมื่อยังมีชีวิตอยู่หรือหลังจากสมองตายเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยและเพื่อวิจัยพัฒนาการแพทย์ของประเทศ การประชาสัมพันธ์อาจจะผ่านสื่อต่างๆ การรณรงค์ในชุมชนชาวพุทธ ชุมชนคาทอลิค แหล่งฝึกอบรม โรงพยาบาล สำนักงานของหน่วยงานสาธารณสุข ขยายรูปแบบเพื่อรณรงค์ ระดมแหล่งพลังเพื่อจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ในสังคม”

เพื่อยกระดับจิตสำนึกและพฤติกรรมของชุมชน สื่อมวลชนต้องเดินหน้าเพื่อยกระดับจิตสำนึกของชุมชนในการป้องกัน และตรวจรักษาโรคมะเร็ง ตลอดจนการรณรงค์การบริจาคอวัยวะ เพื่อมุ่งสู่การเป็นฝ่ายรุกในการเข้าร่วมกระบวนการแห่งมนุษยธรรมนี้.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด