นิทรรศการ ชีวิตของเด็กในยามสงคราม

(VOVworld)- ภาพถ่ายต่างๆในนิทรรศการภาพที่มีชื่อว่า ชีวิตของเด็กในยามสงคราม ที่มีขึ้น ณ กรุงฮานอยในช่วงเดือนกันยายนนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตของเด็กเรียนในช่วงที่ประเทศต้องทำการต่อสู้กับสงครามทำลายล้างทางอากาศในภาคเหนืออย่างดุเดือดของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาช่วงปี1964-1972 ซึ่งเป็นโอกาสให้ชาวเวียดนามรุ่นใหม่และมิตรประเทศได้รับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การต่อสู้อย่างกล้าหาญและเกียรติประวัติใฝ่การศึกษาของชาติเวียดนามมากยิ่งขึ้น

(VOVworld)- ภาพถ่ายต่างๆในนิทรรศการภาพที่มีชื่อว่า ชีวิตของเด็กในยามสงคราม ที่มีขึ้น ณ กรุงฮานอยในช่วงเดือนกันยายนนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตของเด็กเรียนในช่วงที่ประเทศต้องทำการต่อสู้กับสงครามทำลายล้างทางอากาศในภาคเหนืออย่างดุเดือดของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาช่วงปี1964-1972 ซึ่งเป็นโอกาสให้ชาวเวียดนามรุ่นใหม่และมิตรประเทศได้รับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การต่อสู้อย่างกล้าหาญและเกียรติประวัติใฝ่การศึกษาของชาติเวียดนามมากยิ่งขึ้น
 นิทรรศการ ชีวิตของเด็กในยามสงคราม - ảnh 1  นิทรรศการ ชีวิตของเด็กในยามสงคราม - ảnh 2
พิธีเปิดปีการศึกษาใหม่และหมวกฟางคือสิ่งของติดตัวของทุกคนในช่วงสงคราม

นาย เหงวียนกงหุ่ง ผู้ชมคนหนึ่งกำลังอธิบายให้ลูกชายอายุ8ขวบฟังเกี่ยวกับภาพที่บันทึกช่วงเวลาการต่อสู้อย่างดุเดือดแต่เด็กๆก็ยังพยายามศึกษาเล่าเรียนท่ามกลางสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความยากลำบากในสมัยสงครามด้วยความหวังว่า เมื่อได้ชมภาพเหล่านี้ลูกของเขาจะมีความเข้าใจและมีความมานะพยายามมากขึ้นในชีวิต  ซึ่งถึงแม้ชีวิตในตอนนั้นจะมีความลำบากยากเข็นแต่บรรยากาศที่คึกคักของการศึกษาที่สะท้อนให้เห็นจากภาพต่างๆไม่ว่าจะเป็นภาพเด็กๆสวมหมวกที่ทำจากฟางและเดินเท้าเปล่าไปเรียน  บรรยากาศอันศักสิทธิ์ของพิธีเปิดปีการศึกษาใหม่ที่มีครบทั้งธงทิวดอกไม้และภาพของลุงโฮ ตลอดจนภาพเด็กนั่งท่องตำราด้วยใบหน้าที่เบิกบานข้างหลุมหลบระเบิด เป็นต้นนั้นต่างก็ทำให้ผู้ชมรู้สึกทราบซึ้งใจเมื่อได้เห็นภาพถ่ายเหล่านี้ นาย เหงวียนกงหุ่งเผยว่า         ผมบังเอิญรู้ข่าวการเปิดนิทรรศการนี้จึงตั้งใจพาลูกมาดูเพื่อให้เขาเข้าใจว่าในสมัยก่อนรุ่นของคุณพ่อคุณแม่ต้องศึกษาเล่าเรียนอย่างไร ผมประทับใจภาพของเด็กนั่งท่องตำราที่หลุมหลบระเบิดแม้จะลำบากแต่เด็กทุกคนก็พยายามอย่างเต็มที่เพื่อศึกษาหาความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างสรรค์อนาคตที่สดใสให้แก่ประเทศโดยไม่สนใจต่อสงครามที่กำลังเกิดขึ้นรอบๆตัวเรา
นิทรรศการ ชีวิตของเด็กในยามสงคราม - ảnh 3

เด็กนั่งท่องตำราด้วยใบหน้าที่เบิกบานข้างหลุมหลบระเบิด 

ภาพที่ใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ตรงกลางห้องแสดงเป็นภาพเด็กหญิง2คนสวมหมวกฟางไปโรงเรียน ใบหน้าที่บริสุทธิ์ไร้เดียงสาของเด็กน้อยได้สะท้อนให้เห็นว่า ถึงแม้ห่ากระสุนระเบิดของศัตรูจะดุเดือดแค่ไหนแต่ก็ไม่สามารถขัดขวางการศึกษาเล่าเรียนของพวกเขาได้ โดยห้องเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงประถมต่างอยู่ในอุโมงใต้ดินและนักเรียนทุกคนรู้จักขุดหลุมหลบระเบิด ขุดคูเชื่อมต่อกันเพื่อใช้เดินทางไปยังจุดต่างๆ รวมทั้งได้ฝึกทักษะการปฐมพยาบาล ฝึกทำขนมปังและอาหา ส่วนสิ่งของติดตัวไปโรงเรียนทุกวันนั้นนอกจากสมุดปากกาแล้วยังมีกระเป๋าใส่ชุดปฐมพยาบาลและหมวกฟางและแม้จะต้องเรียนไปพักไปเนื่องจากสัญญาณเตือนภัยฉุกเฉิน เสียงระเบิดและเสียงเครื่องบินทิ้งระเบิดดังสนั่นหวั่นไหวแต่นักเรียนทุกคนยังคงมุ่งมั่นพยายามเรียนให้ดีเรียนให้เก่งและเข้าร่วมกิจกรรมการผลิตท่ามกลางเสียงเพลงที่คึกครื้นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่กัน นาย เหงวียนซวนเลียน อายุ70ปีผู้ชมอีกคนเผยว่า ภาพต่างๆได้ชวนให้เขานึกถึงช่วงเวลาในอดีต  ในช่วงนั้นคุณจะไม่เห็นความหวาดกลัวบนใบหน้าของเด็กทุกคน ชีวิตยามสงครามก็ยังดำเนินไปตามปกติเว้นแต่เมื่อมีสัญญาณเตือนเครื่องบินมา พ่อแม่ก็พาไปที่หลุมหลบระเบิดซึ่งก็ไม่ได้ยินเสียงร้องไห้ของเด็กๆแต่อย่างใด
นิทรรศการ ชีวิตของเด็กในยามสงคราม - ảnh 4

ภาพที่ใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ตรงกลางห้องแสดงเป็นภาพเด็กหญิง2คนสวมหมวกฟางไปโรงเรียน 
มีหลายคนที่มาชมนิทรรศการรู้สึกประทับใจกับภาพของหมวกฟางหลากหลายรูปแบบที่เด็กๆทำเองโดยหมวกเหล่านี้ถือเป็นของติดตัวของเด็กทุกคนในช่วงสงครามเพื่อป้องกันไม่ให้ได้รับบาดเจ็บจากสะเก็ดระเบิด เวลาได้ผ่านไปกว่า40ปีแต่ภาพต่างๆที่เก็บบันทึกชีวิตของเด็กฮานอยในยามสงครามก็ช่วยให้หลายคนเหมือนได้กลับสู่ชีวิตที่แสนยากลำบากแต่รุ่งโรจน์ของประเทศ ที่ม้จะขาดแคลนหลายสิ่งหลายอย่างแต่ชีวิตในสายตาที่บริสุทธิ์ของเด็กไร้เดียงสากลับยังคงเปี่ยมไปด้วยความสุข./.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

เสรี สุวรรณเพชร

ชอบมาก สนใจมาก เรื่องราวสารคดีในอดีตของเวียตนาม อยากให้เยาวชนคนไทยรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกับเยาวชนเวีัยตนาม หากมีสารคดีประกอบรูปภาพ เรื่องราวต่างๆในอดีตของเวียตนามที่น่าสนใจ กรุณานำมาให้ศึุกษาอีก จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อคนรุ่นใหม่ในอาเีซี่ยนที่จะได้เรียนรู้อยู่ร่วมกันต่อไป





ขอบคุณครับ

เสรี

ข่าวอื่นในหมวด