ภาคภาษาไทยพัฒนาพร้อมๆกับส่วนกระจายเสียงต่างประเทศของสถานีวิทยุเวียดนาม

(VOVWORLD) - รายการภาคภาษาไทยออกอากาศเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ปี 1957 หลังการก่อตั้งสถานีวิทยุเวียดนาม 12 ปี และในสภาวการณ์ที่กองทัพเวียดนามได้สร้างชัยชนะเดียนเบียนฟูครั้งประวัติศาสตร์ที่นำไปสู่การลงนามข้อตกลงเจนีวาปี 1954 ว่าด้วยการยุติสงครามและฟื้นฟูสันติภาพในอินโดจีน ดังนั้น จึงมีหน้าที่ประชาสัมพันธ์ข้อตกลงเจนีวาและเรียกร้องให้สนับสนุนสงครามต่อต้านสหรัฐอเมริกาเพื่อช่วงชิงเอกราช เสรีภาพและรวมประเทศเวียดนามเป็นเอกภาพ 

 

ภาคภาษาไทยพัฒนาพร้อมๆกับส่วนกระจายเสียงต่างประเทศของสถานีวิทยุเวียดนาม - ảnh 1เจ้าหน้าที่ภาคภาษาไทยรุ่นก่อนๆ

ในตลอด 66 ปีที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวและผู้ประกาศข่าวของภาคภาษาไทยได้สานต่อเกียรติประวัติที่รุ่งโรจน์ของส่วนกระจายเสียงต่างประเทศในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประเทศ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม คนเวียดนามและความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับต่างประเทศอย่างกว้างขวางในทั่วโลก

ด้วยความรู้สึกสำนึกในบุญคุณของประชาชนไทยที่ช่วยเหลือชาวเวียดนามโพ้นทะเลที่อพยพจากประเทศลาวมายังไทยเมื่อเดือนมีนาคมปี 1946 นาย ด่าววันเติมและชาวเวียดนามโพ้นทะเลในประเทศไทยอีก 2 คนได้สมัครงานที่ภาคภาษาไทยของส่วนกระจายเสียงต่างประเทศตั้งแต่มีการเปิดรายการนี้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคมปี 1957 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนไทยมีความเข้าใจเกี่ยวกับข้อตกลงเจนีวาปี 1954 ว่าด้วยการยุติสงครามและฟื้นฟูสันติภาพในอินโดจีน ซึ่งทำให้ประเทศเวียดนามถูกแบ่งเป็นสองภาคเหนือ-ใต้ โดยมีแม่น้ำเบ๊นหายและสะพานเหี่ยนเลืองเป็นเส้นแบ่งเขตทางทหารชั่วคราว การแทรกแซงของสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียตนามเพื่อทำลายข้อตกลงเจนีวา ซึ่งทำให้ประชาชนเวียดนามต้องลุกขึ้นสู้เพื่อต่อต้านสหรัฐอเมริกาและรวมประเทศเวียดนามเป็นเอกภาพ  โดยแม้กำลังของเครื่องส่งของวิทยุเวียดนามในช่วงนั้นจะอ่อนมาก ซึ่งทำให้บางครั้งคนไทยฟังไม่ชัด แต่ทางผู้จัดทำรายการก็พยายามที่จะปรับปรุงเนื้อหาให้มีความสมบูรณ์ นาย ด่าววันเติม ได้กล่าวว่า

หลังสงครามกับอเมริกา ประมาณปีค.ศ.1976-1977 ก็เริ่มมีจดหมายจากผู้ฟังที่ส่งมา บางทีก็ชมเชย สรรเสริญและตำหนิติชม พวกเราก็รู้สึกประทับใจและพยายามปรับปรุงรายการเพื่อที่จะสนองนโยบายของรัฐบาล หลังจากที่รัฐบาลเวียดนามดำเนินนโยบายเปลี่ยนแปลงใหม่ ซึ่งที่เรียกกันว่า นโยบาย Doi Moi เมื่อปี 1986 งานทุกด้านไม่ว่าจะระบบตลาด องค์การต่างๆก็มีการเปลี่ยนแปลงใหม่และปรับปรุงโครงสร้างใหม่เพื่อที่จะสนองความจำเป็นในการพัฒนาในยุคนั้น”

นอกจากประชาสัมพันธ์แนวทางและนโยบายของพรรคและรัฐ เมื่อปี 1979 ผู้สื่อข่าวและผู้ประกาศข่าวภาคภาษาไทยได้เข้าร่วมคณะผู้เชี่ยวชาญของสถานีวิทยุเวียดนามเดินทางไปช่วยเหลือฟื้นฟูการดำเนินงานของสถานีวิทยุพนมเปญ  นอกจากนี้ การที่ประเทศและองค์กรต่างๆได้เปิดสำนักงานตัวแทนย่านเอเชียตะออกเฉียงใต้ที่กรุงเทพฯ ทำให้สถานีวิทยุเวียดนามได้ตัดสินใจเปิดสำนักงานตัวแทนในต่างประเทศแห่งแรกที่ประเทศไทยเมื่อปี 1999 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกของสถานีวิทยุเวียดนามในฐานะเป็นหนึ่งในองค์การสื่อสารมวลชนที่สำคัญของเวียดนาม นาง เหงวียนถิมิง นักข่าวคนแรกของวิทยุเวียดนามรับหน้าที่ไปเปิดสำนักงานตัวแทนของวีโอวี ณ กรุงเทพฯ ได้เผยว่า

การก่อตั้งสำนักงานตัวแทนสถานีวิทยุเวียดนามในกรุงเทพฯนั้น เป้าหมายก็คือเพื่อที่จะสื่อสารให้ผู้ฟังชาวไทยและผู้ฟังที่อยู่ในเครือข่ายสมาคมอาเซียนได้รับรู้ถึงการพัฒนา การเปลี่ยนใหม่ของประเทศเวียดนาม คนเวียดนาม ผลสำเร็จในการชนะสงครามต่อต้านสองจักรวรรดิใหญ่”

ตั้งแต่ปี 1985 ได้มีการประกาศรับสมัครผู้สื่อข่าวและผู้ประกาศข่าวภาคภาษาไทย โดยรับผู้ที่สอบผ่านภาคภาษาอื่นๆ เช่น อังกฤษและรัสเซียแล้วมาเรียนภาษาไทย นาง เลแทงเหวี่ยน อดีตหัวหน้าภาคภาษาไทยได้เผยว่า ได้สอบเข้าสถานีวิทยุเวียดนามด้วยวิชาภาษาอังกฤษและเรียนภาษาไทยโดยเจ้าหน้าที่อาวุโสของภาคภาษาไทยเป็นผู้สอน

มีผู้ผ่านการคัดเลือก 4 คน โดยเรียนภาษาไทยภายใต้การแนะนำของอาจารย์หว่าเป็นเวลา 2 ปี หลังเรียนจบก็ต้องสอบอีกครั้ง ถ้าสอบผ่านก็จะได้มาทำงานที่สถานีวิทยุเวียดนาม โดยทุกวันพวกเราได้เรียนคำศัพท์ใหม่และฝึกการแปลข่าวจากภาษาเวียดนามเป็นภาษาไทย อีกทั้งฝึกอ่านข่าวและบทนำให้มีความคล่องแคล่วก่อนที่จะได้เข้าห้องอ่าน”

ภาคภาษาไทยพัฒนาพร้อมๆกับส่วนกระจายเสียงต่างประเทศของสถานีวิทยุเวียดนาม - ảnh 2เจ้าหน้าที่ภาคภาษาไทยรุ่นปัจจุบัน

นอกจากพยายามเรียนภาษาไทยให้เก่งเพื่อนำไปใช้ในการแปลและนำเสนอข้อมูลข่าวสาร บรรดาผู้สื่อข่าวและผู้ประกาศข่าวภาคภาษาไทยในตอนนั้นต้องพยายามฟันฝ่าความยากลำบากต่างๆ เช่น การอัดเสียงด้วยเครื่องบันทึกเทปและการใช้ดินสอเขียนลงในกระดาษสีดำ ซึ่งทำให้การอ่านไม่ค่อยสะดวก จนถึงช่วงปี 1999-2003 สถานีวิทยุเวียดนามได้นำระบบ Dalet และ Netia มาใช้งานในห้องส่ง อีกทั้งได้จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่ภาคภาษาต่างๆ หน่วยละ 1-2 เครื่อง ต่อมา ในเดือนมกราคมปี 2012 ได้มีการเปิดเว็บไซต์ www.vovworld.vn ของส่วนกระจายเสียงต่างประเทศที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่าน 12 ภาษารวมทั้งภาษาไทย นาง เลแทงเหวี่ยน อดีตหัวหน้าภาคภาษาไทยได้ให้ข้อสังเกตว่า นี่ถือเป็นก้าวกระโดดของส่วนกระจายเสียงที่สอดคล้องกับแนวโน้มของยุคสมัย โดยที่ประเทศไทย ได้มีการพัฒนาในเรื่องนี้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2008 ซึ่งในช่วงนั้น เธอได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าสำนักงานตัวแทนสถานีวิทยุเวียดนาม ณ กรุงเทพฯ

การเปิดเว็บไซต์ของส่วนกระจายเสียงต่างประเทศเป็นการเปิดช่องทางใหม่ด้านการสื่อสารให้แก่ผู้ฟังและผู้อ่านจากประเทศไทยและประเทศต่างๆทั่วโลก ซึ่งช่วยให้ผู้ฟังและผู้อ่านสามารถศึกษา หาความรู้ในเชิงลึกเกี่ยวกับประเทศเวียดนามและความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับประเทศต่างๆ โดยผู้ฟังหลายคนให้ความสนใจต่อข่าวและบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว”

จากการสานต่อเกียรติประวัติของเจ้าหน้าที่ภาคภาษาไทยรุ่นก่อนๆ บรรดาผู้สื่อข่าวและผู้ประกาศข่าวรุ่นใหม่ได้พยายามพัฒนาทั้งรายการวิทยุและเว็บไซต์ โดยจำนวนผู้เข้าชมเว็บภาคภาษาไทยถือว่ามากเป็นอันดับต้น ๆ ของส่วนกระจายเสียงต่างประเทศ รองจากภาษาอังกฤษและภาษาเวียดนาม ซึ่งบรรดาผู้ฟังและผู้อ่านให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อคอลัมน์ต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว สีสันวัฒนธรรม 54 ชนเผ่า วัฒนธรรม รายการเพลง ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับไทย เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้สื่อข่าวและผู้ประกาศข่าวภาคภาษาไทยรุ่นต่างๆ รู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก นาง ฝ่ามแอ๊งเหงวียด อดีตผู้ประกาศข่าวภาคภาษาไทยได้แสดงความยินดีในโอกาสรำลึกครบรอบ 66 ปีการก่อตั้งภาคภาษาไทยว่า

“ดิฉันรู้สึกภาคภูมิใจในผู้สื่อข่าวและผู้ประกาศข่าวรุ่นใหม่มากที่สานต่อเกียรติประวัติและพัฒนาภาคภาษาไทยให้นับวันเข้มแข็งและมีความทันสมัยมากขึ้น ซึ่งมีส่วนร่วมเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภาคภาษาไทยของสถานีวิทยุเวียดนามไปทั่วโลกเพื่อให้ประชาชนประเทศต่างๆมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมและสังคมของประเทศเวียดนามมากขึ้น ขอให้ภาคภาษาไทยพัฒนาก้าวรุดหน้าต่อไป น้องๆมีสุขภาพแข็งแรงและพยายามพัฒนาภาคภาษาไทยให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น”.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด