สามีภรรยารังสรรค์ขวดแก้วเก่าให้มีค่า

(VOVWORLD) - ขวดแก้วที่ถูกทิ้งและไร้ค่าได้ถูกนำมารังสรรค์ให้กลายเป็นแจกันและของตกแต่งบ้านที่สวยงามด้วยฝีมือของสองสามีภรรยาคือนาย ดิงเทียนเติมและนาง เหงียนเหยี่ยวถุย ซึ่งความเป็นมาของแนวคิดนี้และผลงานด้านศิลปะนั้นได้รับการแปรรูปเป็นอย่างไร เราจะพาท่านไปเยี่ยมบ้านของสามีภรรยาคู่นี้
สามีภรรยารังสรรค์ขวดแก้วเก่าให้มีค่า - ảnh 1นาง เหงียนเหยี่ยวถุย 

เวลา 09.00 น. บนชั้น 2 ที่บ้านของสองสามีภรรยานาย ดิงเทียนเติมและนาง เหงียนเหยี่ยวถุย ที่มีพื้นที่กว่า 30 ตารางเมตร ในถนนหงอกห่า กรุงฮานอย ทั้งคู่กำลังทำการเรียงขวดแก้วตามขนาดและสีสันเพื่อเตรียมวาดภาพบนขวดเหล่านี้ตามใบสั่งซื้อของลูกค้า โดยนาย เติม ทำการร่างแบบบนกระดาษก่อน เช่นวัดเสาเดียว สระคืนดาบ ดอกบัว สาวในชุดประจำชาติ Ao dai และสะพานลองเบียน เป็นต้น ส่วนนาง ถุย จะติดแบบร่างที่ขวดแล้ววาดตามแบบด้วยสีสำหรับวาดบนกระจก นาง ถุย วาดกรอบก่อน แล้วใช้สีอื่นๆแต่งเติมให้ขวดมีชีวิตชีวาและสวยขึ้น  นาง ถุย กล่าวว่า“การทำสีบนวัสดุแต่ละอย่างต้องใช้สีที่แตกต่างกัน ดังนั้น การวาดบนขวดแก้วก็ต้องใช้สีเฉพาะเหมือนกัน  สีสำหรับวาดบนแก้วขวดจะใช้สีสะท้อนแสง โดยดิฉันมักจะซื้อสีที่นำเข้าจากฝรั่งเศส ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง เพราะไม่ค่อยมีใครนำเข้าสีประเภทนี้จากต่างประเทศ ถ้าทำแบบอุตสาหกรรม ต้องแกะสลักวาดภาพและนำไปเผาเพื่อให้สีติดทนนาน แต่ดิฉันทำด้วยมือไม่มีการเผาหรือแกะสลัก ดังนั้นต้องใช้เวลาตากให้แห้ง 2 วันถึงจะใช้ได้”

สามีภรรยารังสรรค์ขวดแก้วเก่าให้มีค่า - ảnh 2ขวดแก้วที่ถูกทิ้งและไร้ค่าได้ถูกนำมารังสรรค์ให้กลายเป็นแจกันและของตกแต่งบ้านที่สวยงาม 

ในห้องของนาย เติมและนาง ถุย ขวดแก้วรูปทรงต่างๆนับร้อยขวดที่ถูกแต่งแต้มสีสันเพื่อใช้เป็นแจกันดอกบัว แจกันดอกเบญจมาศ หรือทำเป็นแก้วน้ำที่วาดลายสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในกรุงฮานอย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมจากลูกค้าเป็นอย่างมาก โดยสามารถมอบเป็นของที่ระลึกให้แก่ญาติมิตรหรือเพื่อนมิตรชาวต่างชาติ สำหรับราคาขายนั้นก็เริ่มตั้งแต่ 1 แสนด่งถึงเกือบ 1 ล้านด่งหรือ 150 บาทถึง 1,500 บาท เมื่อกล่าวถึงเหตุผลที่ประกอบอาชีพนี้ นาง ถุย เผยว่า “เมื่อก่อน ดิฉันเรียนที่มหาวิทยาลัยวิจิตรศิลป์อุตสาหกรรม คณะการออกแบบ หลังจากเรียนจบ ดิฉันก็ศึกษาความรู้เพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ตจนพบกับเว็ปไซต์ที่แนะนำการวาดภาพบนขวดแก้วและดิฉันก็ลองวาดดู  ในตอนแรก ดิฉันใช้สีที่มีอยู่ เช่นสี Arcylic เพื่อวาดบนขวดแก้ว ต่อมา ดิฉันได้ศึกษาในเชิงลึกและใช้สีสำหรับวาดบนขวดแก้ว โดยเฉพาะหลังจากนั้น สามีเห็นว่า นี่คืออาชีพที่น่าสนใจจึงเริ่มนำขวดมาดัดแปลง เพราะขวดสุรามีรูปทรงที่สวยและเป็นการนำของเก่ากลับมาใช้ใหม่เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม”

นาย เติม ที่ใส่แว่นสายตานั้น พร้อมรอยยิ้มอ่อนโยน เผยว่า เขามักจะซื้อขวดแก้วจากร้านรับซื้อของเก่าหรือร้านอาหาร การนำขวดแก้วที่ถูกทิ้งมาดัดแปลงทำเป็นของใช้ที่มีประโยชน์จนได้รับความนิยมจากลูกค้า ทำให้ตัวเขาและภรรยาก็รู้สึกปลื้มปิติเป็นอย่างมาก เพราะเห็นว่า สิ่งที่พวกเขาทำมีความหมาย และกว่าที่นาย เติม จะสามารถดัดแปลงตัดแต่งขวดแก้วได้คล่องเหมือนในปัจจุบันก็ต้องใช้เวลาศึกษาเรียนรู้อาชีพและขั้นตอนต่างๆในการทำ “ที่ฮานอยมีไม่กี่คนที่ประกอบอาชีพนี้ ดังนั้นจึงไม่ค่อยมีสถานที่เพื่อให้ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติตาม ผมต้องเรียนที่โรงงานผลิตกระจกหลายแห่งเพื่อเรียนวิธีการตัดขวด ผมต้องใช้เวลาเกือบ 2 เดือนครึ่ง เพราะต้องใช้มีดตัดกระจกซึ่งไม่ค่อยมีขายในตลาด  เมื่อเอาขวดมาที่บ้าน สิ่งแรกที่ผมต้องทำคือล้างขวดให้สะอาด แล้วดูว่า ขวดนี้มีรูปทรงเหมาะที่จัดดัดแปลงทำเป็นอะไร เช่นทำเป็นแจกันหรือแก้วเครื่องดื่ม ปกติการผลิตแจกันต้องใช้อุปกรณ์และเครื่องจักรกลที่ทันสมัย แต่ผมสามารถทำแจกันแบบนี้ได้ด้วยมือจึงรู้สึกดีใจมาก ต่อมาเมื่อประกอบอาชีพนี้ ผมก็รู้สึกรักอาชีพนี้มากขึ้นและรู้สึกมีความสุขเมื่อประกอบอาชีพนี้”

สามีภรรยารังสรรค์ขวดแก้วเก่าให้มีค่า - ảnh 3นาย ดิงเทียนเติม 

หลังจากประกอบอาชีพนี้เป็นเวลาเกือบ 5 ปีก็มีลูกค้ามาอุดหนุนนาย เติมและนาง ถุย เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์และก็อยากสนับสนุนอาชีพนี้ของนาย เติมและนาง ถุย เพราะมีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม คุณป้า เติม ลูกค้าขาประจำของนาย เติมและนาง ถุย เผยว่า “ดิฉันไม่คิดว่า ขวดแก้วที่ไร้ค่าจะถูกนำมาทำใหม่ให้เป็นสิ่งของที่มีประโยชน์ และมีคุณค่าด้านศิลปะ เช่นแจกันและแก้วเครื่องดื่ม ซึ่งสวยมาก ผลิตภัณฑ์นี้สามารถใช้สำหรับตกแต่งบ้านหรือมอบเป็นของที่ระลึกได้ อาชีพของนาย เติมและนาง ถุย มีความหมายมาก ซึ่งควรได้รับการขยายผล เพราะนอกจากสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวของพวกเขาก็ยังช่วยลดขยะในสิ่งแวดล้อม และสามารถใช้ชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น”

สามีภรรยารังสรรค์ขวดแก้วเก่าให้มีค่า - ảnh 4ขวดแก้วที่ไร้ค่าจะถูกนำมาทำใหม่ให้เป็นสิ่งของที่มีประโยชน์ 

ผ่านสื่อมวลชนที่แนะนำเกี่ยวกับการกระทำที่มีความหมายของนาย เติมและนาง ถุย จำนวนลูกค้าที่มาหาพวกเขานับวันเพิ่มมากขึ้น ใบสั่งซื้อสินค้าที่พวกเขาเคยได้รับมากที่สุดคือการทำขวด 450 ขวด เมื่อกล่าวถึงแผนการในอนาคต นาย เติม เผยว่า “เป้าหมายอันใกล้ที่ผมพยายามบรรลุคือเรียกร้องให้มีการก่อตั้งศูนย์รวบรวมขวดที่ใช้แล้วเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ที่มีฐานะยากจนหรือคนพิการ ผ่านการกระทำของผม ผมอยากบอกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเราล้วนมีคุณค่าและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ อาชีพนี้ไม่เพียงแต่คือความหลงใหลเท่านั้น หากยังสร้างรายได้แถมยังมีส่วนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย”

ปัจจุบัน มีบริษัทนำเที่ยวบางแห่งได้หารือกับนาย เติมและนาง ถุย เกี่ยวกับการแนะนำอาชีพวาดภาพบนขวดในแพ็คเกจทัวร์สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาเยือนกรุงฮานอย หวังว่า ด้วยความหลงใหลอาชีพ การใช้ชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะได้รับการขยายผล และผลิตภัณฑ์จะได้รับความนิยมมากขึ้น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด