หนุ่มชาวม้งทำธุรกิจสตาร์ทอัพเพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าม้ง

(VOVWORLD) - ด้วยความประสงค์ที่จะเผยแพร่คุณค่าวัฒนธรรมของชนเผ่าม้งให้แก่ทั้งชาวเวียดนามและชาวต่างชาติ นาย สุ่งอาบิ่ง หรือมีอีกชื่อคือ ซาบิ่ง อายุ 30ปี ชนเผ่าม้งจากอำเภอต่วนย้าว จังหวัดเดียนเบียนได้จัดตั้งบริษัท Hmong Tagkis จำกัดที่นครโฮจิมินห์ ที่ออกแบบและผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นด้วยผ้าลินินและผ้าลวดลายพื้นเมืองของชนเผ่าม้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมีส่วนร่วมอนุรักษ์และพัฒนาอาชีพทอผ้าพื้นเมือง อีกทั้งเชื่อมโยงกับสตรีชาวม้งในนครโฮจิมินห์เพื่อพัฒนาตราสินค้าสำหรับเสื้อผ้าแฟชั่นของชนเผ่าม้ง

 

หนุ่มชาวม้งทำธุรกิจสตาร์ทอัพเพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าม้ง - ảnh 1 นาย สุ่งอาบิ่ง หรือมีอีกชื่อคือ ซาบิ่ง เจ้าของบริษัท Hmong Tagkis จำกัด

 
 

“สาเหตุที่ผมเลือกทำเสื้อผ้าแฟชั่นที่มีเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าม้งเพราะมีความปรารถนาให้ผลิตภัณฑ์ของชนเผ่าม้งเป็นที่รู้จักมากขึ้น สองคือมีหลายบริษัทต่างๆที่ปกปิดแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ของชนเผ่าม้ง โดยบอกว่า เป็นผ้าลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของเขตตะวันตกเฉียงเหนือที่มีชนเผ่าม้งและชนเผ่าเย้าอาศัยเป็นจำนวนมาก ผมเป็นชาวม้งและรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้แนะนำผลิตภัณฑ์ของชนเผ่าม้งหรือผลิตภัณฑ์ของชนเผ่าเย้า”

 นาย ซาบิ่ง มีรูปร่างเล็ก ผิวคล้ำ ใส่เสื้อสูทสีดำ ปกคอ แขนเสื้อสูทและเสื้อยืดคอหัวใจสีน้ำเงินครามและกางเกงทรงหลวมสีดำและมีลวดลายพื้นเมือง ด้วยน้ำเสียงที่อบอุ่นและสำเนียงภาคใต้ นาย ซาบิ่ง เล่าให้ฟังถึงเรื่องราวการทำธุรกิจสตาร์ทอัพที่เริ่มจากการเดินทางจากจังหวัดเดียนเบียนมาทำงานที่นครโฮจิมินห์เพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่มีลูกหลายคนและพ่อป่วยหนักตอนอายุ 14ขวบ ต่อจากนั้น นาย ซาบิ่งได้ตัดสินใจกลับไปเรียนในโรงเรียนอีกครั้งเพื่อมีโอกาสได้พัฒนาตัวเองมากขึ้น ซึ่งเขาโชคดีมากที่สามารถหาอาชีพเสริมที่เกี่ยวข้องกับการวาดรูปตกแต่งบนชุดอ๊าวหย่าย หรือ ชุดประจำชาติของคนเวียดนามในตลอด 5ปี ซึ่งนี่ถือเป็นพื้นฐานให้นาย ซาบิ่ง เปิดร้านออกแบบชุดอ๊าวหย่ายเมื่อปี2016 และหลังจากนั้นกว่า1 ปี ก็ได้จัดตั้งบริษัท Hmong Tagkis จำกัดที่ออกแบบและผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นที่ใช้ผ้าลินินและผ้าลวดลายพื้นเมืองของชนเผ่าม้ง เช่น เสื้อยืด ชุดแต่งงาน เข็มขัด ชุดอ๋าวหย่ายและแจ็คเก็ตที่ใช้ผ้าลินินและมีการวาดหรือพิมพ์ลวดลายพื้นเมืองของชนเผ่าม้งที่ขายในราคาตั้งแต่ 1แสนถึง 3.5 ล้านด่งหรือประมาณ 135-46,000บาท

หนุ่มชาวม้งทำธุรกิจสตาร์ทอัพเพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าม้ง - ảnh 2ผลงานของนายซาบิ่งที่เข้าร่วมงานเทศกาลของชนเผ่าม้งในกรุงฮานอย 

 “ปีแรกเป็นปีที่เรากำหนดทิศทางเกี่ยวกับตราสินค้าและวิธีเข้าถึงลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมากและต้องใช้เงินทุนเยอะ โดยผมได้ใช้รายได้ทั้งหมดจากร้านออกแบบชุดอ๊าวหย่ายเพื่อลงทุนในบริษัท Hmong Tagkis จำกัด ซึ่งปัจจุบันบริษัท Hmong Tagkis จำกัดสามารถช่วยเหลือตนเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาร้านออกแบบชุดอ๊าวหย่าย สำหรับงานด้านบุคลากร พวกเรามีพนักงาน 5คน โดยเป็นพนักงานที่ดูแลการวาดรูปตกแต่งบนชุดอ๊าวหย่าย 3 คนและพนักงานที่ตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมืองของชนเผ่าม้ง 2 คน สำหรับตัวผมเอง ต้องสอนการวาดรูปและการออกแบบให้แก่พนักงานและดูแลเรื่องการตลาด”

หนุ่มชาวม้งทำธุรกิจสตาร์ทอัพเพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าม้ง - ảnh 3ผลงานการวาดรูปตกแต่งบนชุดอ๊าวหย่ายของนายซาบิ่ง 

ด้วยความประสงค์ที่จะเดินหน้าพัฒนาตราสินค้าเสื้อผ้าแฟชั่นของชนเผ่าม้ง นาย ซาบิ่งได้เชื่อมโยงและเชิญสตรีชาวม้งที่ไปทำงานในนิคมอุตสาหกรรมในนครโฮจิมินห์ จังหวัดบิ่งเยือง จังหวัดบิ่งเฟือกและจังหวัดลองอานมาทำงานให้แก่บริษัท Hmong Tagkis จำกัด โดยสตรีชาวม้งเหล่านี้จะดูแลงานเย็บปักถักร้อยและวาดรูปลวดลายพื้นเมืองบนผลิตภัณฑ์ที่นาย ซาบิ่งออกแบบ“ผมได้เชื่อมโยงกับสตรีชาวม้งเพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างรายได้จากงานเย็บปักถักร้อยที่ชื่นชอบ โดยที่บ้านเกิด พวกเขาทำงานเย็บปักถักร้อยเก่งมาก แต่ไม่มีรายได้ ซึ่งทำให้พวกเขาต้องไปทำงานในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ผมได้เชิญสตรีชาวม้งมาทำงานเพื่อสามารถสร้างรายได้ให้แก่พวกเขาและมีส่วนร่วมอนุรักษ์อาชีพพื้นเมืองของชนเผ่าม้ง”

หนุ่มชาวม้งทำธุรกิจสตาร์ทอัพเพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าม้ง - ảnh 4นายซาบิ่งได้เข้าร่วมเทศกาลของชนเผ่าม้งในประเทศไทย 

นอกจากเชื่อมโยงกับชมรมชนเผ่าม้งภายในประเทศ นาย ซาบิ่งยังได้เชื่อมโยงกับชมรมชนเผ่าม้งในประเทศสหรัฐเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในต่างประเทศ นอกจากนี้ เขาได้เข้าร่วมกิจกรรมวัฒนธรรมและศิลปะของชมรมชนเผ่าม้งในประเทศต่างๆในภูมิภาค เช่น เทศกาลของชนเผ่าม้งในประเทศไทย โดยได้แนะนำและจัดการเดินแฟชั่นโชว์ผลงานที่ตนเองออกแบบ ซึ่งได้ดึงดูดความสนใจและได้รับความนิยมจากชมรมชนเผ่าม้งในประเทศไทย ส่วนในชมรมชนเผ่าม้งภายในประเทศ นาย ซาบิ่งเป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะความสามารถและตระหนักถึงการอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมของชนเผ่าม้ง นาย หย่างอาหาย เจ้าหน้าที่ชาวม้งที่ดูแลด้านวัฒนธรรมในอำเภอบั๊กห่า จังหวัดลาวกายได้ประเมินว่า“ผมมีความประทับใจต่อคุณซาบิ่งเป็นอย่างมากเนื่องจากมีจิตใจที่ทุ่มเททำเพื่อชมรมชนเผ่าม้งและมีความประสงค์ให้ผ้าลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าม้งเป็นที่รู้จักมากขึ้นในทั่วโลกผ่านการแนะนำชุดแต่งกายพื้นบ้านของชนเผ่าม้งและการออกแบบเสื้อผ้าแฟชั่นที่ใช้ผ้าลินินและลวดลายพื้นเมืองของชนเผ่าม้ง โดยมีการผสมผสานระหว่างชุดแต่งกายพื้นเมืองของชนเผ่าม้งกับชุดแต่งกายของชนเผ่าอื่นๆอย่างมีความคิดสร้างสรรค์และรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าม้ง”

หนุ่มชาวม้งทำธุรกิจสตาร์ทอัพเพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าม้ง - ảnh 5ผลงานของนายซาบิ่งที่ได้รับความนิมยมจากลูกค้า 

ปัจจุบัน นอกจากพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งภายในและต่างประเทศแล้ว นาย ซาบิ่ง ยังเน้นประชาสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับลูกค้าผ่านทาง fanpage Facebook Hmong Tagkis ที่มีผู้ติดตามกว่า 11,000 คน นอกจากนี้ นายซาบิ่งยังมีแผนเปิดร้านออนไลน์บนเว็บไซต์ Amazon.com และเชื่อมโยงกับลูกค้าในญี่ปุ่นและยุโรปผ่านทาง instagram และ facebook เพื่อให้ตราสินค้าเสื้อผ้าแฟชั่นของชนเผ่าม้งนับวันเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในตลาดโลก.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด