อนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์ที่บ้านนาจอก จังหวัดนครพนม

(VOVworld) - เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 126 ปีวันคล้ายวันเกิดของประธานโฮจิมินห์ 19 พฤษภาคม สมาคมมิตรภาพเวียดนาม – ไทยได้ร่วมมือกับทางการจังหวัดนครพนมจัดพิธีเปิดอนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์ที่บ้านนาจอก จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นอนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

(VOVworld) - เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 126 ปีวันคล้ายวันเกิดของประธานโฮจิมินห์ 19 พฤษภาคม สมาคมมิตรภาพเวียดนาม – ไทยได้ร่วมมือกับทางการจังหวัดนครพนมจัดพิธีเปิดอนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์ที่บ้านนาจอก จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นอนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

อนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์ที่บ้านนาจอก จังหวัดนครพนม - ảnh 1
อนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์ที่บ้านนาจอก จังหวัดนครพนม (Photo nhipcauquehuong.com)

จังหวัดนครพนม ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยถือเป็นบ้านแห่งที่สองของคนเวียดนามโพ้นทะเล ในช่วงปี1928 – 1929 ประธานโฮจิมินห์ได้มาพำนักอาศัยและเปิดการฝึกอบรมเยาวชนเวียดนามที่รักชาติให้เป็นแกนนำรุ่นแรกของการปฏิวัติเวียดนาม ปัจจุบันนี้ ที่นี่ยังคงมีร่องรอยต่างๆเกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์ เช่น ต้นไม้ที่ท่านปลูกเอง สิ่งของวัตถุที่บอกเล่าถึงความทรงจำและภาพลักษณ์เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายของประธานโฮจิมินห์ นายจิ๋งกาวเซิน นายกสมาคมชาวเวียดนามสาขาจังหวัดนครพนมเผยว่า “ที่นครพนมมีหมู่บ้านมิตรภาพไทย – เวียดนาม ซึ่งก่อสร้างโดยทางการท้องถิ่น โดยอดีตนายกรัฐมนตรีเวียดนามฟานวันขายและอดีตนายกรัฐมนตรีไทยทักษิณ ชินวัตรเข้าร่วมในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ปี 2004 ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ในทุกๆปี เมื่อถึงวันคล้ายวันเกิดของประธานโฮจิมินห์ที่ 19 พฤษภาคม ทางการท้องถิ่นและสมาคมชาวเวียดนามที่อาศัยในจังหวัดนครพนมจะจัดพิธีรำลึกวันคล้ายวันเกิดของท่านซึ่งมีชาวเวียดนามจากทั่วประเทศไทยเข้าร่วม”
10 ปีต่อมา เมื่อเดือนมีนาคมปี 2014 ชาวเวียดนามที่อาศัยในจังหวัดนครพนมได้ร่วมกันก่อสร้างเขตอนุสรณ์สถานประธานโฉจิมินห์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในหมู่บ้านมิตรภาพไทย – เวียดนามบนพื้นที่กว้างถึง 12,000 ตารางเมตร แบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็น 12 ส่วนโดยพิพิธภัณฑ์โฮจิมินห์และสถาบันสถาปัตยกรรมไทยเป็นผู้ออกแบบ ซึ่งมีอาคารใหญ่สำหรับเป็นที่บูชาประธานโฮจิมินห์ที่ก่อสร้างตามรูปแบบของสถาปัตยกรรมเวียดนาม นายด่าวจ่องลี๊ หัวหน้ากรรมการบริหารอนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์ในจังหวัดนครพนมเผยว่า การก่อสร้างอนุสรณ์สถานนี้ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างมากจากรัฐบาลทั้งสองประเทศ “ตอนที่รองประธานประเทศเวียดนามเหงียนถิยวานเดินทางมาเยือนประเทศไทย ท่านได้เป็นคนแรกสนับสนุนเงินทุนก่อสร้าง 100 ล้านด่งและเมื่อครั้งที่เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามเหงียนฟู้จ่องมาเยือนจังหวัดนครพนม ในนามของพรรค รัฐและประชาชนเวียดนาม ท่านได้มอบเงินให้สมาคมฯ 3 หมื่นล้านด่งเพื่อใช้ก่อสร้างอนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์ ผมได้ศึกษาโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ต่างๆเกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์ในทั่วโลกแล้วจึงสามารถยืนยันได้ว่า นี่เป็นอนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์ที่ใหญ่ที่สุด ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดและมีความหมายที่สุด”
หลังการก่อสร้างเป็นเวลา 2 ปี อนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์ก็ได้เปิดตัวท่ามกลางบรรยากาศที่ชื่นมื่นและความภาคภูมิใจของชุมชนชาวเวียดนามที่อาศัยในประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดนครพนม ปัจจุบันถ้าหากมาเยือนอนุสรณ์สถานแห่งนี้ หลังจากที่จุดธูปสักการะประธานโฮจิมินห์ เราก็ไม่ควรพลาดการเยือนหมู่บ้านมิตรภาพไทย – เวียดนาม ซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ประธานโฮจิมินห์ นายด่าวจ่องลี้เผยว่า “เมื่อกล่าวถึงประธานโฮจิมินห์ ชุมชนชาวเวียดนามที่อาศัยในประเทศไทยต่างรำลึกถึงท่าน ดังนั้นการก่อสร้างอนุสรณ์สถานนี้ถือว่าเป็นการก่อสร้างรูปเคารพประธานโฮจิมินห์ในต่างประเทศ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่ล้ำค่าสำหรับลูกหลานของเราเท่านั้น หากยังช่วยให้เด็กไทยได้มาศึกษาชีวิตที่เรียบง่ายและสมถะของประธานโฮจิมินห์อีกด้วย ส่วนชาวเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศต้องสอนลูกหลานให้รู้จักรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ดีงามของประชาชาติ เหมือนท่านประธานโฮจิมินห์ที่แม้จะทำการปฏิวัติในต่างประเทศหลายปีแต่ก็ยังคงสามารถรักษาเอกลักษณ์ของคนเวียดนามเอาไว้ได้”
ส่วนนางเหงียนถิเหื่อง ชาวเวียดนามที่อาศัยในประเทศไทยได้แสดงความเห็นว่า “พวกเรามีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่เป็นลูกหลานคนเวียดนามและลูกหลานของประธานโฮจิมินห์ ในทุกๆปี เมื่อถึงวันคล้ายวันเกิดของท่าน คนเวียดนามที่อาศัยในประเทศไทยต่างพากันไปจุดธูปเพื่อรำลึกถึงคุณูปการของท่าน ส่วนเขตอนุสรณ์สถานนี้ยังช่วยให้นักศึกษามาศึกษาแบบอย่างคุณธรรมของประธานโฮจิมินห์”
ในนครพนม เรื่องราวและร่องรอยต่างๆเกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์ยังคงได้รับการอนุรักษ์ ซึ่งถือเป็นบทเรียนอันล้ำค่าที่ชุมชนชาวเวียดนามที่อาศัยในจังหวัดฯพยายามสานต่อให้แก่คนรุ่นหลัง.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด