เหงียนถิห่ง-ช่างซ่อมแซมเสื้อผ้าฮานอย

(VOVworld)ถ้าเสื้อผ้าของคุณผู้ฟังเกิดขาดขึ้นมาแล้วเอาไปให้คุณป้า เหงียนถิห่ง ที่มีฉายาว่า ช่างซ่อมเสื้อผ้าเก่าห่าเถ่ง รับรองว่า เสื้อผ้าของคุณผู้ฟังจะดูเหมือนใหม่เลย สำหรับวันนี้ ขอเชิญท่านผู้ฟังร่วมกับนักข่าวของสถานีวิทยุเวียดนามพบปะกับช่างเย็บปักถักร้อย เหงียนถิห่งนะคะ

(
VOVworld)ถ้าเสื้อผ้าของคุณผู้ฟังเกิดขาดขึ้นมาแล้วเอาไปให้คุณป้า เหงียนถิห่ง ที่มีฉายาว่า ช่างซ่อมเสื้อผ้าเก่าห่าเถ่ง รับรองว่า เสื้อผ้าของคุณผู้ฟังจะดูเหมือนใหม่เลย สำหรับวันนี้ ขอเชิญท่านผู้ฟังร่วมกับนักข่าวของสถานีวิทยุเวียดนามพบปะกับช่างเย็บปักถักร้อย เหงียนถิห่งนะคะ

เหงียนถิห่ง-ช่างซ่อมแซมเสื้อผ้าฮานอย - ảnh 1
คุณป้า เหงียนถิห่ง

เวลา 08.00 น. ร้านซ่อมเสื้อผ้าของคุณป้า เหงียนถิห่ง ในซอย แทงเมี๊ยน กรุงฮานอยเริ่มมีลูกค้ามาอุดหนุนโดยมีทั้งที่นำเสื้อที่ชำรุดมาให้ซ่อมหรือมารับเสื้อผ้าที่ซ่อมแล้ว ที่บ้าน 2 ชั้นของคุณป้าห่ง ชั้นล่างเปิดร้านรับซ่อมแซมเสื้อผ้าโดยในพื้นที่เกือบ 20 ตารางเมตร มีเสื้อผ้าของลูกค้าที่นำมาฝากซ่อมทั้งที่วางอยู่บนพื้นและบนชั้นวางที่สูงกว่า 1 เมตร คุณป้า ห่ง ปัจจุบันอายุเกือบ 70 ปี ผมสีดอกเลา แต่เธอยังคงดูกระฉับกระเฉงว่องไว โดยได้คุยกับผู้สื่อข่าวของสถานีวิทยุเวียดนามไปพลางซ่อมไปว่า “ดิฉันประกอบอาชีพนี้มา 37 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี 1979 ตอนที่เพิ่งมาเป็นลูกสะใภ้ แม่สามีก็สอนให้ ดิฉันเป็นคนฮานอยแท้ๆ ดังนั้นจึงถูกสอนงานบ้านงานเรือนของผู้หญิงอย่างละเอียด ดังนั้นเมื่อแม่สามีสอนวิธีการเย็บปักถักร้อยให้ ดิฉันจึงเรียนได้ง่าย คุณแม่ก็เป็นชาวฮานอย เธอถ่ายทอดอาชีพนี้ให้แก่ลูกสาวและลูกสะใภ้ ในตอนนั้น แม่สามีเป็นหนึ่งในช่างซ่อมเสื้อผ้าที่มีชื่อเสียงของกรุงฮานอย”

อุปกรณ์สำหรับใช้ประกอบอาชีพนี้ของคุณป้าห่งนั้นมีไม่มากนัก นั่นคือกล่องใส่เข็มเย็บผ้าขนาดต่างๆและเข็มถัก ส่วนงานของคุณป้าห่งก็มีหลากหลายมาก ตั้งแต่การเย็บการถัก การปะ การลดไซด์เสื้อกันหนาวและการชุน แต่คุณป้าห่งเน้นทำการชุนเสื้อผ้าที่ขาดเพราะเป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือและเป็นเหตุผลที่ทำให้ลูกค้าพากันมาอุดหนุนร้านของเธอ ในการพูดคุยเกี่ยวกับเคล็ดลับของอาชีพนี้ คุณป้าห่ง บอกว่า “ผู้ประกอบอาชีพนี้ต้องใจเย็นเพราะการเลาะเส้นด้ายยากมาก สำหรับผู้ที่ใจร้อน ถ้าเจาะไม่ได้ เขาก็จะทิ้งเลยและก็ต้องรู้ว่า เสื้อผ้าแต่ละแบบต้องซ่อมอย่างไรและที่สำคัญคือการใช้ด้ายจากเสื้อผ้าตัวนั้นในการซ่อม เฉพาะผ้าขนสัตว์ เราสามารถเก็บจากเสื้อผ้าเก่าอื่นๆได้ เราต้องเย็บสานกันจนเป็นเนื้อเดียวกับเนื้อผ้าเดิม ส่วนสำหรับเสื้อผ้าที่มี 2 สีขึ้นไปก็ต้องมีเทคนิกในการปะและเย็บให้ดูละเอียดเรียบเนียน”

เหงียนถิห่ง-ช่างซ่อมแซมเสื้อผ้าฮานอย - ảnh 2
ชื่อร้านของคุณป้า เหงียนถิห่ง

คุณป้าห่งเล่าให้ฟังว่า ลูกค้ามาร้านเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อกว่า 30 ปีก่อนซึ่งเป็นช่วงที่เวียดนามเพิ่งเปิดประเทศ “ในช่วงนั้น ประเทศยังยากจน คนมีเสื้อผ้ากันไม่กี่ชุดโดยเสื้อผ้าสวยๆ เขาจะเอามาซ่อมกันที่นี่ ปัจจุบัน ความต้องการซ่อมแซมเสื้อผ้าเพิ่มมากขึ้นเพราะมีเสื้อผ้าแบรนด์เนมและเสื้อผ้าที่เป็นของที่ระลึกเยอะขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนก็ดีขึ้น ดิฉันจึงมีงานมากขึ้น เมื่อก่อน ดิฉันซ่อมเสื้อผ้าได้ 1-2 ตัวต่อวันเท่านั้น ถึงช่วงตรุษเต๊ตจะมีลูกค้ามากหน่อย ส่วนวันธรรมดาก็ไม่มากเท่าไหร่ เสื้อผ้าธรรมดา ชาวบ้านเขาจะปะเอง”
จากการมีฝีมือดี เสื้อผ้าที่ฉีกขาดได้รับการแก้ไขและทำการชุนหรือปะจนแทบจะมองไม่เห็นร่องรอยของการซ่อมแซม ทำให้ลูกค้าที่มารับเสื้อผ้ามีความสุขมาก“ผมรักร้านนี้ เพราะเจ้าของร้านคือคุณป้าห่งอัธยาศัยดี ซ่อมเสื้อผ้าอย่างประณีต ผมเป็นลูกค้าประจำมา 10 ปีแล้วและไว้วางใจร้านนี้มาก”
“เมื่อก่อน คุณแม่พาผมมาที่นี่เพื่อซ่อมเสื้อผ้า คุณป้าห่งทำอาชีพนี้ตั้งแต่ตอนผมอายุกว่า 10 ขวบ ปีนี้ผมอายุ 50 ปีแล้ว คุณป้าห่งซ่อมแซมเสื้อผ้าได้เก่งมากและมีชื่อเสียง เสื้อผ้าแบรนด์เนมก็สามารถเอามาให้คุณป้าห่งซ่อมแซมได้แล้วจะดูไม่ออกเลยว่า เสื้อผ้าเคยฉีกขาดก่อน คุณป้าห่งมีฝีมือดีมาก”

เหงียนถิห่ง-ช่างซ่อมแซมเสื้อผ้าฮานอย - ảnh 3
ผู้ประกอบอาชีพนี้ต้องใจเย็นเพราะการเลาะเส้นด้ายยากมาก 

นอกจากทักษะฝีมือที่ดีแล้ว ค่าซ่อมเสื้อผ้าก็ไม่แพงโดยลูกค้าจ่ายค่าซ่อมแค่ 2 หมื่น ถึง 3 หมื่นด่งเท่านั้น สำหรับคุณป้าห่ง เมื่อลูกโตขึ้น การทำงานหาเงินไม่ใช่เรื่องหลัก หากสิ่งสำคัญคือการมีความสุขในงานที่ทำ “ดิฉันรักอาชีพนี้เนื่องจากมีความหลงไหลโดยถึงแม้อายุจะมากแล้วแต่ก็ยังคงทำอาชีพนี้ เมื่อซ่อมแซมเสื้อผ้าให้ลูกค้า แล้วลูกค้ามีความสุข ดิฉันก็มีความสุขด้วย อาชีพนี้คืองานบริการ ดิฉันมีอายุมากแล้ว แต่ยังคงมีงานทำ หาเงินได้และอนุรักษ์อาชีพนี้ได้”
แม้เวลาจะ 11 โมงกว่าแล้ว แต่ยังคงมีลูกค้ามาที่ร้านอย่างต่อเนื่องเพราะนี่คือช่วงพักของเจ้าหน้าที่และพนักงานบริษัท ท่ามกลางกรุงฮานอยที่คึกคัก ดิฉันยังคงสงสัยว่า คุณป้าห่งจะอนุรักษ์และสืบทอดอาชีพให้แก่ลูกหลานเช่นไร ใครจะทำอาชีพนี้ต่อเหมือนความในใจของคุณป้าห่งที่บอกกับเราว่า“นี่คืออาชีพที่นำความสุขมาให้แก่ทุกคน ดิฉันมีอายุมากแล้ว ถ้าหากลูกหลานไม่ทำอาชีพนี้ต่อ ดิฉันก็คงเศร้าใจมากเพราะเสื้อผ้าสวยๆหลายตัวต้องถูกทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย”.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด