บทสัมภาษณ์ประธานสภาธุรกิจไทย – เวียดนาม

(VOVworld) - “มูลค่าการค้าต่างตอบแทนระหว่างไทยกับเวียดนามจะพยายามขึ้นถึง 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 เมื่อเที่ยบกับ 1 หมื่น 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2015” นี่คือคำยืนยันของท่าน สนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาธุรกิจไทย – เวียดนามเนื่องในโอกาสให้สัมภาษณ์คณะผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนามที่มาทำข่าวในประเทศไทยในระหว่างวันที่ 23-28 พฤษภาคม
(VOVworld) -
มูลค่าการค้าต่างตอบแทนระหว่างไทยกับเวียดนามจะพยายามขึ้นถึง 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 เมื่อเที่ยบกับ 1 หมื่น 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2015” นี่คือคำยืนยันของท่าน สนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาธุรกิจไทย – เวียดนามเนื่องในโอกาสให้สัมภาษณ์คณะผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนามที่มาทำข่าวในประเทศไทยในระหว่างวันที่ 23-28 พฤษภาคม ในการตอบคำถามของนักข่าวกิมเงิน สมาชิกของคณะฯ เกี่ยวกับบทบาทของความสัมพันธ์ทางการค้าในภาพรวมความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับไทย ท่านสนั่น อังอุบลกุลเผยว่า
บทสัมภาษณ์ประธานสภาธุรกิจไทย – เวียดนาม - ảnh 1
“พูดถึงเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ ประเทศไทยและประเทศเวียดนามนั้นมีความสำคัญมากเพราะเนื่องจากว่า สองประเทศนั้นก็มีประวัติความเป็นมา เรามาจากประเทศที่พื้นฐานการเกษตร ในขณะเดียวกันรัฐบุรุษที่รวมประเทศเวียดนามก็คือท่านโฮจิมินห์ก็เคยมาพำนักอยู่ที่นครพนมเป็นเวลา 2 ปีในอดีต เพราะฉะนั้นความไว้วางใจและความยอมรับระหว่างประชาชน รัฐบาลทั้งสองประเทศนั้น เราเรียกว่า มีความไว้วางใจมากสูงสุด ในขณะเดียวกันถ้าพูดถึงเรื่องนี้ การที่สองประเทศจะมีการลงทุนและการค้าทำร่วมกันนี้ก็คือหนึ่งเรื่องเสถียรภาพของรัฐบาล นี่เป็นสิ่งที่สำคัญ แล้วก็พูดถึงด้านสังคมเราก็มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ดังนั้นสองประเทศนี้จึงเป็นคู่ค้าที่มีความสำคัญมาก”
สำหรับบทบาทของสภาธุรกิจไทย – เวียดนามในการขยายความร่วมมือทางการค้าระหว่างไทยกับเวียดนาม ท่านสนั่น อัง อุบลกุลให้ข้อสังเกตว่า 
“เมื่อพูดถึงสภาหอการค้าและสภาธุรกิจไทย – เวียดนามนั้นมีบทบาทสำคัญมากเนื่องจากเราเป็นตัวแทนของภาคเอกชนเกี่ยวกับเรื่องการค้า เพราะฉะนั้นเราจะมีการรวมตัวกันระหว่างผู้ประกอบการทั้งหลาย แล้วภาคเอกชนทั้งใหญ่ทั้งกลางและทั้งเล็กมาทำงานร่วมกัน รวบรวมข้อมูล อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ ในขณะเดียวกันก็จะมีการรวบรวมเกี่ยวกับข้อเสนอแนะให้กับทางภาครัฐของประเทศไทยในการที่จะนำเสนอให้กับประเทศเวียดนามด้วยกัน ฉะนั้นความสัมพันธ์อันนี้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งขณะนี้ แม้แต่ประเทศเวียดนามเราก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นทำงานแบบเป็นต้นแบบระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน เรากำลังพิจารณาว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมรัฐบาลกับเอกชนเกี่ยวกับเรื่องส่งเสริมการค้าและการลงทุนในประเทศเวียดนามด้วยในไม่ช้า ในขณะเดียวกัน ประเทศเวียดนามไม่มีเจ้าหน้าที่ของบีโอไอไปอยู่ที่นั่น เพราะตอนนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาตั้งงบประมาณในปีหน้าว่าเราจะมีเจ้าหน้าที่ของบีโอไอของไทยไปประจำอยู่ที่เวียดนามก็เป็นการตอบย้ำว่า รัฐบาลไทยแล้วก็เอกชนนั้นให้ความสำคัญที่จะส่งเสริมให้คนไทยไปลงทุนที่ประเทศเวียดนามในอนาคตให้มากยิ่งขึ้น”
บทสัมภาษณ์ประธานสภาธุรกิจไทย – เวียดนาม - ảnh 2
การที่ประชาคมเออีซีได้จัดตั้งเมื่อปลายปีที่แล้วได้ส่งผลดีต่อทั้งเวียดนามและไทย โดยเฉพาะความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับเวียดนาม สำหรับเรื่องนี้ ท่านสนั่น อัง อุบลกุลได้เผยว่า

“การร่วมตัวของเออีซีนี้จะเป็นประโยชน์ สำคัญมากสำหรับไทยกับเวียดนาม เนื่องจากว่ามีสินค้าหลายประเภทที่ไทยนั้นต้องการไปลงทุนในเวียดนามไม่ใช่เฉพาะเป็นการซื้อขายในประเทศเวียดนามเท่านั้นเอง แต่จะเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก โดยเฉพาะพวกรองเท้า พวกชิ้นส่วนประกอบ พวกเครื่องไฟฟ้า และยังมีพวกปีโตรเคมีต่างๆ เป็นต้น ผมคิดว่า ประเทศเวียดนามนี้จะเป็นฐานในการช่วยกระจายสินค้าให้กับผู้ผลิตที่อยู่ในทั้งไทยและเวียดนาม โดยเฉพาะที่ส่งของที่ผลิต ที่เมืองไทยเราไม่ผลิตแล้วเราเอาผลิตที่เวียดนามส่งไปในกัมพูชานี้สะดวกกว่าเยอะ ส่งไปในฟิลิปปินส์ อะไรอย่างนี้เป็นต้น ก็ผมว่า อันนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากเพราะทำให้ฐานการตลาด ขนาดของตลาด อย่างเช่น ในเวียดนามก็มี 90 กว่าล้านคนก็จะขึ้นเป็น 600 ล้านคนและโดยเฉพาะประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นมิตรที่มีความใกล้ชิดแล้วก็มีสินค้าที่คล้ายคลึงกัน ประเทศไทยก็สามารถจะเอานำเทคโนโลยีต่างๆ แล้วก็เอาพวกแบบที่ดีๆแล้วก็มีรสนิยมสำหรับผู้บริโภคได้ดีกว่า สามารถที่จะถ่ายทอดแล้วก็เอาไปสอนให้กับคนเวียดนามด้วย ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งทำให้สินค้าที่ผลิตในเวียดนามสามารถจะกระจายไปในตลาดของเออีซีหรืออาเซียนด้วย”
สำหรับการใช้ศักยภาพซึ่งกันและกันเพื่อบรรลุเป้าหมายการเพิ่มมูลค่าการค้าต่างตอบแทนขึ้นถึง 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 ท่านสนั่น อัง อุบลกุลได้ย้ำว่า
“สินค้าที่นำเข้าจากเวียดนามเข้ามาในประเทศไทยก็มีทั้งหมด มากพอสมควร แต่ที่เห็นนี้คือกาแฟ ของเวียดนามนี้แน่นอนครับ แล้วก็พวกน้ำมันบางชนิด ในขณะเดียวกันก็จะมีพวกเหลก แล้วก็พวกสินค้าอุปโภคบริโภค พวก handy craft เป็นต้น ซึ่งก็มีมากมาย ซึ่งฝ่ายไทยเราเองนี้กำลังที่จะส่งเสริมให้มีการนำสินค้าที่ทำจากเวียดนามเข้ามาขายในเมืองไทย ทางสภาธุรกิจของเราร่วมกับทางกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการต่างประเทศกำลังจะจัดงานอันนี้อยู่เชิญชวนพวก suppliers จากเวียดนามมาทำ bussinessmatching ในเมืองไทยภายใน 2 เดือนข้างหน้านี้ ในขณะเดียวกัน ของไทยที่ได้ส่งไปขายที่เวียดนามก็มีพวกรถยนต์ พวกเครื่องไฟฟ้า แล้วก็มีสินค้าอุปโภคบริโภค และในอนาคต เรื่อง logistic ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ไทยจะมีบทบาทหรือแม้แต่นำเอาเทคโนโลยีเกี่ยวกับเรื่องการเพิ่มผลผลิตเกี่ยวกับทางด้านเกษตร เรื่องอาหารต่างๆ ผมคิดว่าอันนี้สำคัญ เรื่องอาหารนี้คือทางไทยเราก็นำจากทางเวียดนามมีมาก ในขณะเดียวกัน ทางไทยแล้วก็มีพวกผลไม้ที่จะส่งไปยังเวียดนาม ซึ่งผมคิดว่า ถ้าสองประเทศร่วมกันเข้านี้จะเป็นการผนึกกำลังที่มีความสำคัญมากช่วยซึ่งกันและกัน”.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด