ข้อตกลง RCEP: โอกาสเพื่อผลักดันการส่งออกสินค้าของเวียดนาม

(VOVWORLD) - ข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในทุกด้านในภูมิภาคหรือ RCEP ที่มี 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนและ 5 ประเทศหุ้นส่วนเข้าร่วม ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ออสเตรเลียและสาธารณรัฐเกาหลีเป็นข้อตกลงการค้าเสรีฉบับใหม่ที่มีมาตรฐานที่เข้มงวดและมีข้อผูกมัดเกี่ยวกับการเปิดตลาดที่กว้างลึก นับตั้งแต่มีผลบังคับใช้ สถานประกอบการเวียดนามได้ใช้โอกาสในการผลักดันการส่งออกไปยังตลาด RCEP อย่างรวดเร็ว และเป็นฝ่ายรุกในการปรับปรุงมาตรฐานและคุณภาพสำหรับสินค้าส่งออกเพื่อมีขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสูงและได้รับประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าว
ข้อตกลง RCEP: โอกาสเพื่อผลักดันการส่งออกสินค้าของเวียดนาม - ảnh 1ข้อตกลง RCEP เป็นข้อตกลงการค้าเสรีฉบับใหม่ที่มีมาตรฐานที่เข้มงวดและมีข้อผูกมัดเกี่ยวกับการเปิดตลาดที่กว้างลึก (vnexpress)

ข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในทุกด้านในภูมิภาคหรือ RCEP มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี 2022 และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้ทันที ซึ่งรวมถึงคำมั่นปรับลดอัตราภาษีร้อยละ 64 หลังจากข้อตกลงมีผลบังคับใช้ ในตอนท้ายของแผนงานคือหลังผ่านไป 20 ปี เวียดนามจะยกเลิกภาษีเกือบร้อยละ 90 ให้แก่ประเทศหุ้นส่วนในขณะที่ประเทศหุ้นส่วนจะยกเลิกภาษีกว่าร้อยละ 90 ให้แก่เวียดนามและประเทศอาเซียน นาง เหงียนถิกวิ่งงา รองอธิบดีกรมการค้าพหุภาคีของกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมได้เผยว่า เนื่องจากข้อกำหนดของแหล่งกำเนิดสินค้าในข้อตกลง RCEP เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้สินค้าส่งออกของเวียดนามสามารถเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื่อได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีได้ เนื่องจากวัตถุดิบต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ในตลาดภูมิภาค RCEP

“ความแตกต่างอีกประการของข้อตกลงนี้คือแทนที่จะใช้ข้อตกลง FTA 5 ฉบับระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนเหมือนเมื่อก่อนและปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดสินค้าที่แตกต่างกันถึง 5 แบบเพื่อให้ได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีเพื่อการส่งออก ข้อตกลงนี้ได้สร้างข้อกำหนดเกี่ยวกับแหล่งกำเนินสินค้าที่สอดประสานกัน ซึ่งหมายความว่า ขณะนี้ สถานประกอบการเวียดนามสามารถใช้วัตถุดิบนำเข้าจากทุกประเทศในภูมิภาค RCEP รวมถึง 10 ประเทศอาเซียนและ 5 ประเทศหุ้นส่วนเพื่อผลิตสินค้าและส่งออกไปยังประเทศสมาชิก RCEP และต่างได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีถ้าหากตอบสนองข้อกำหนดเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของสินค้า”

ข้อตกลง RCEP สร้างบรรยากาศการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น ดังนั้น สถานประกอบการเวียดนามจึงเป็นฝ่ายรุกเพื่อเตรียมพร้อมปรับตัวเข้ากับบรรยากาศการแข่งขัน มาตรการคุ้มครองทางการค้าที่หลายประเทศได้ถูกกำหนดต่อสินค้าที่ส่งออกจากประเทศอื่น ๆ รวมถึงการฟ้องร้องต่อต้านการขายทุ่มตลาด การต่อต้านการอุดหนุนและการคุ้มครองทางการค้า  การลงนามและบังคับใช้ข้อตกลง RCEP เป็นโอกาสสำหรับสถานประกอบการเวียดนามที่กำลังแสวงหาความร่วมมือและการร่วมทุนกับหุ้นส่วนต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เหงียนห่งเยียน แสดงความเห็นว่า

“การบังคับใช้ข้อตกลง RCEP ที่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของสินค้าสำหรับ 15 ประเทศได้รับการคาดหวังว่า จะสร้างโอกาสให้ชุมชนสถานประกอบการเวียดนามพัฒนาห่วงโซ่อุปทานใหม่  อีกทั้งเปิดพื้นที่การผลิตร่วมกันซึ่งเป็นตลาดส่งออกขนาดใหญ่ที่มีเสถียรภาพและยาวนานสำหรับภูมิภาค เนื่องจากประเทศที่เข้าร่วมข้อตกลง มีหลายประเทศที่เป็นเจ้าของวัตถุดิบเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เช่น จีน สาธารณรัฐเกาหลีและกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งเป็นหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่ที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆของ โดยมียอดมูลค่าการนำเข้า-ส่งออกรวมกันคิดเป็น 1ใน 2 ของยอดมูลค่าการค้าของประเทศ นี่จึงเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายสำหรับสถานประกอบการเวียดนามเพื่อเพิ่มความหลากหลายและใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบต้นทุนอย่างเต็มที่เพื่อปรับปรุงผลิตภาพ คุณภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งอำนวยความสะดวกทางการค้า ส่งเสริมการส่งออกและมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ”

ข้อตกลง RCEP: โอกาสเพื่อผลักดันการส่งออกสินค้าของเวียดนาม - ảnh 2รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เหงียนห่งเยียน (VNA)

จากมุมมองทางการค้า ประเทศสมาชิกของข้อตกลง RCEP เป็นแหล่งจัดสรรสำหรับการนำเข้าที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม โดยเฉพาะวัตถุดิบ เครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตและการส่งออก นี่เป็นโอกาสเพื่อให้สถานประกอบการมีแหล่งจัดสรรวัตถุดิบต้นทุนที่มีราคาไม่แพงและมีเทคโนโลยีที่มีคุณภาพเพื่อปรับปรุงกำลังการผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขัน อีกทั้ง สถานประกอบการสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ง่ายขึ้นเพื่อให้ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีเมื่อส่งออกไปยังประเทศสมาชิกของ RCEP แต่อย่างไรก็ตาม แหล่งจัดสรรจากประเทศ RCEP ก็อาจสร้างอุปสรรคให้แก่สถานประกอบการในการแข่งขันในตลาดภายในประเทศเวียดนาม นาย เหงียนแองเยือง หัวหน้าหน่วยงานวิจัยของสถาบันวิจัย การบริหารเศรษฐกิจส่วนกลางหรือ CIEM กล่าวว่า สถานประกอบการควรศึกษาพันธกรณีของข้อตกลง RCEP อย่างรอบคอบ และไม่แยกข้อตกลง RCEP ออกจากข้อตกลง FTA ฉบับอื่นๆในแผนธุรกิจ และควรถือข้อตกลง RCEP เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยง "ห่วงโซ่อุปทาน" ให้ความสำคัญเรื่องมาตรฐานและคุณภาพสินค้าส่งออก

“สถานประกอบการต้องมียุทธศาสตร์เพื่อยกระดับความสามารถในการส่งออก และไม่เพียงแต่เน้นการแข่งขันในด้านราคาเท่านั้น หากยังต้องให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพด้วย เราต้องตอบสนองมาตรฐานและกฎระเบียบใหม่ ๆ เกี่ยวกับสินค้าโดยเฉพาะตลาดจีนที่มีข้อกำหนดต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ในการทำธุรกิจ สถานประกอบการต่างก็รู้ดีว่า เรายังคงส่งออกไปยังตลาดอย่างญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งเป็นตลาดที่สำคัญและมีศักยภาพ สถานประกอบการเองต้องใช้ประโยชน์จากโอกาสเพื่อให้ได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากหุ้นส่วนต่างประเทศ”

รายงานของศูนย์ WTO และการผสมผสานของสหภาพการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนามระบุว่า ประเทศสมาชิกข้อตกลง RCEP เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม เพราะในจำนวน 10 ประเทศและดินแดนที่มีโครงการลงทุนในเวียดนามมากที่สุด มี 6 ประเทศอยู่ในกลุ่ม RCEP คือ สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน มาเลเซียและไทย นี่อาจเป็นโอกาสสำหรับสถานประกอบการเวียดนามที่กำลังแสวงหาความร่วมมือและการร่วมทุนกับหุ้นส่วนต่างประเทศ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด