ข้อตกลงเอฟทีเอแบบใหม่-โอกาสและความท้าทาย

(VOVWorld)-ข้อตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอยุคใหม่คืออะไรและต้องทำอย่างไรเพื่อให้สถานประกอบการภายในประเทศได้รับผลประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าวและเวียดนามจะใช้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษด้านภาษีอย่างเต็มที่หรือไม่  นี่เป็นปัญหาที่รัฐบาลเวียดนาม สำนักงานที่เกี่ยวข้องและสถานประกอบการเวียดนาม  โดยเฉพาะ สำนักงานตัวแทนเวียดนามในต่างประเทศให้ความสนใจในการยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของสถานประกอบการเวียดนามในบรรยากาศการประกอบธุรกิจใหม่
(VOVWorld)-ข้อตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอยุคใหม่คืออะไรและต้องทำอย่างไรเพื่อให้สถานประกอบการภายในประเทศได้รับผลประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าวและเวียดนามจะใช้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษด้านภาษีอย่างเต็มที่หรือไม่  นี่เป็นปัญหาที่รัฐบาลเวียดนาม สำนักงานที่เกี่ยวข้องและสถานประกอบการเวียดนาม  โดยเฉพาะ สำนักงานตัวแทนเวียดนามในต่างประเทศให้ความสนใจในการยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของสถานประกอบการเวียดนามในบรรยากาศการประกอบธุรกิจใหม่
ข้อตกลงเอฟทีเอแบบใหม่-โอกาสและความท้าทาย - ảnh 1
ข้อตกลงเอฟทีเอสร้างโอกาสมากมายให้แก่สถานประกอบการเวียดนาม

จนถึงขณะนี้  เวียดนามได้เข้าร่วมและเสร็จสิ้นการเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงเอฟทีเอทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีรวม๑๒ฉบับ   โดยข้อตกลงเอฟทีเอ๘ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้  ซึ่งข้อตกลงเอฟทีเอยุคใหม่ที่เสร็จสิ้นการเจรจาได้แก่ ข้อตกลงเอฟทีเอระหว่างเวียดนามกับสหภาพยุโรปและข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกหรือทีพีพี  จากการเจรจาและการลงนามข้อตกลงเอฟทีเอหลายฉบับ  เวียดนามกำลังผสมผสานอย่างกว้างลึกและได้รับการชื่นชมจากหุ้นส่วนต่างๆ  นาง Charlotte Laursen เอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำเวียดนาม  ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกที่เข้าร่วมการเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงเอฟทีเอระหว่างเวียดนามกับอียูได้ให้ข้อสังเกตว่า “ฉันมีความประทับใจต่อความตั้งใจของรัฐบาลเวียดนามในการเสร็จสิ้นการเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงเอฟทีเอระหว่างเวียดนามกับอียูและข้อตกลงทีพีพี  จากแผนการร่วมมือที่เต็มไปด้วยศักยภาพ  เวียดนามจะได้รับผลประโยชน์ต่างๆจากข้อตกลงดังกล่าว  ซึ่งก็หมายความว่า เวียดนามก็ต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่เพื่อได้รับผลประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าว”

ข้อตกลงเอฟทียุคใหม่มีอะไรที่แตกต่างจากข้อตกลงแบบเก่า  อันดับแรกคือในด้านการส่งออก ข้อตกลงเอฟทีเอยุคใหม่จะช่วยยกเลิกภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าส่วนใหญ่ของเวียดนามและประเทศหุ้นส่วนต่างๆ รวมทั้ง หุ้นส่วนใหญ่คือ สหรัฐและอียู  นี่เป็นโอกาสที่ดีเพื่อให้เวียดนามเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคา  ถ้าเปรียบเทียบกับการเข้าร่วมองค์การการค้าโลกหรือ WTO   ซึ่งประเทศต่างๆให้คำมั่นที่จะปรับลดภาษีสำหรับสินค้าบางรายการเท่านั้น  โดยไม่ยกเลิกภาษีสำหรับสินค้าส่วนใหญ่  ซึ่งข้อตกลงเอฟทีเอสร้างความได้เปรียบในด้านภาษีแต่นี่ก็เป็นความท้ายทาย   นาย ฝามกวางวิง เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศสหรัฐได้เผยว่า เวียดนามสามารถใช้ผลประโยชน์จากสิทธิพิเศษด้านภาษีต่างๆ  แต่ก่อนอื่น สินค้าเวียดนามต้องตอบสนองเงื่อนไขเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดและมาตรฐานด้านเทคนิคของตลาดการส่งออก “ถ้าหากพวกเราเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผลิตภัณฑ์ของตน  ก็จะสามารถหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีในอัตราสูงและตอบสนองเงื่อนไขด้านเทคนิค เวียดนามมีสินค้าที่มีจุดแข็งคือ รองเท้า ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปและสัตว์น้ำ แม้ข้อตกลงทีพีพียังไม่มีผลบังคับใช้แต่พวกเรามีการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี  ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการเปลี่ยนแปลงใหม่และการผสมผสานของตนและสามารถดึงดูดความสนใจของบรรดานักลงทุนต่างชาติ”
ข้อตกลงเอฟทีเอแบบใหม่-โอกาสและความท้าทาย - ảnh 2
สถานประกอบการเวียดนามต้องเป็นฝ่ายรุกเพื่อใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเอฟทีเอ

แน่นอนว่า กำแพงกีดกันทางเทคนิคและระบบการควบคุมสุขอนามัยพืชที่เข้มงวดเป็นสิ่งที่ขัดขวางสินค้าเวียดนามในการเจาะตลาดของประเทศหุ้นส่วน  นอกจากนี้ สถานประกอบการเวียดนามต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่คือ  การแข่งขันกับสินค้าที่มีราคาถูกและมีคุณภาพสูงจากประเทศหุ้นส่วนในตลาดภายในประเทศ  ดังนั้น รัฐบาล กระทรวง หน่วยงานและสถานประกอบการเวียดนามต้องตระหนักได้ดีเกี่ยวกับความท้าทายดังกล่าวเพื่อแสวงหามาตรการแก้ไข  นาง เหงวียนแองทู  รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์สังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยได้เผยว่า “ปัจจุบัน  เวียดนามกำลังผลักดันการปรับปรุงบรรยากาศการประกอบธุรกิจ  โดยไม่เพียงแต่ลดเวลาการทำระเบียบราชการให้แก่สถานประกอบการเท่านั้น หากยังเน้นยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและวางกลไกต่างๆอีกด้วย  บรรดาสถานประกอบการต้องเป็นฝ่ายรุกมากขึ้น  รัฐบาลต้องประสานงานกับสมาคมและสถานประกอบการในการวางโครงการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อให้สถานประกอบการมีความเข้าใจมากขึ้นในการใช้โอกาสและฟันฝ่าอุปสรรคในกระบวนการผสมผสาน”
ผลการวิจัยต่างๆปรากฎว่า เวียดนามจะเป็นประเทศที่ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดในจำนวน๑๒ประเทศที่เข้าร่วมข้อตกลงทีพีพี  โดยอัตราจีดีพีของเวียดนามจะเพิ่มขึ้นกว่า๒หมื่น๓พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี๒๐๒๐  มูลค่าการส่งออกของเวียดนามในปี๒๐๒๕จะเพิ่มขึ้นเป็น๖หมื่น๘พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  ข้อตกลงเอฟทีเอระหว่างเวียดนามกับอียูยังสร้างโอกาสการส่งออกใหญ่ให้แก่เวียดนามเมื่อเข้าถึงตลาดใหญ่  จากการมีความได้เปรียบต่างๆทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง  แหล่งทรัพยากรธรรมชาติและกองกำลังแรงงาน  เวียดนามมีโอกาสความร่วมมือมากมายทั้งด้านเงินทุน  รูปแบบ วิธีการบริหารใหม่ ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้นให้แก่สถานประกอบการเวียดนาม
ภายหลัง๑๐ปีที่เข้าร่วมองค์การการค้าโลก ซึ่งเป็นนิมิตหมายแรกในกระบวนการผสมผสาน  ปัจจุบัน  ข้อตกลงการค้าเสรียุคใหม่จะสร้างโอกาสครั้งที่สองเพื่อการผสมผสานที่เข้มแข็งมากขึ้นของเวียดนามและจะกลายเป็นพลังขับเคลื่อนในการปฏิรูปกลไกและระเบียบราชการใหม่ที่มีประสิทธิภาพของเวียดนาม  เวียดนามกำลังเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดีเพื่อใช้โอกาสจากข้อตกลงเอฟทีเอได้อย่างเต็มที่.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด