ความท้าทายที่เวียดนามต้องฟันฝ่าเมื่อเข้าร่วมทีพีพี

(VOVworld) –  เมื่อเร็วๆนี้ ที่กรุงฮานอย ได้มีการจัดการเจรจาระดับหัวหน้าคณะเจรจาข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกหรือทีพีพี การเข้าร่วมข้อตกลงฉบับนี้จะทำให้เศรษฐกิจเวียดนามผสมผสานอย่างกว้างลึกยิ่งขึ้นและอำนวยความสะดวกให้แก่การลงทุนและการส่งออกของเวียดนามมากขึ้นแต่เวียดนามก็ต้องรับมือกับความท้าทายใหม่ๆเช่นกัน

(VOVworld) –  เมื่อเร็วๆนี้ ที่กรุงฮานอย ได้มีการจัดการเจรจาระดับหัวหน้าคณะเจรจาข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกหรือทีพีพี การเข้าร่วมข้อตกลงฉบับนี้จะทำให้เศรษฐกิจเวียดนามผสมผสานอย่างกว้างลึกยิ่งขึ้นและอำนวยความสะดวกให้แก่การลงทุนและการส่งออกของเวียดนามมากขึ้นแต่เวียดนามก็ต้องรับมือกับความท้าทายใหม่ๆเช่นกัน

ความท้าทายที่เวียดนามต้องฟันฝ่าเมื่อเข้าร่วมทีพีพี - ảnh 1
สถานประกอบการเวียดนามต้องตระหนักถึงความได้เปรียบและความท้าทายเมื่อเข้าร่วมทีพีพี (Photo: VOV )

ในการเข้าร่วมการเจรจาที่กรุงฮานอยครั้งนี้ นอกจากคณะเจรจาของเวียดนามแล้วยังมีตัวแทนของอีก๑๑ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์และสหรัฐโดยเน้นหารือถึงปัญหาที่ยังคั่งค้างอยู่ในด้านต่างๆ เช่น การเข้าถึงตลาดสินค้าและการบริการ ลิขสิทธิทางปัญญา การลงทุน สิ่งแวดล้อม สถานประกอบการภาครัฐ พื้นฐานทางนิตินัยและมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทวิภาคี สำหรับเวียดนามซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่เข้าร่วมทีพีพี ข้อตกลงฉบับนี้จะสร้างโอกาสให้แก่การผลิต ประกอบธุรกิจ การค้า การลงทุน โดยเฉพาะ ผลักดันการส่งออก

เมื่อข้อตกลงทีพีพีมีผลบังคับใช้ อัตราภาษีนำเข้าสินค้ากว่าร้อยละ๙๐ของรายการสินค้าทั้งหมดจะลดลงเหลือร้อยละ๐ในตลาดใหญ่ๆ เช่น สหรัฐ ออสตรเลีย ญี่ปุ่นและแคนาดาซึ่งจะช่วยให้สถานประกอบการเวียดนามผลักดันการส่งออก คาดว่า มูลค่าการนำเข้าส่งออกของประเทศสมาชิกทีพีพีจะอยู่ที่๒แสน๓หมื่นล้านเหรียญสหรัฐและการเข้าร่วมทีพีพีจะช่วยให้การค้าของเวียดนามมีการขยายตัวตั้งแต่ร้อยละ๒๐ถึงร้อยละ๓๐ อย่างไรก็ดี เพื่อได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากร สินค้าส่งออกของเวียดนามต้องตอบสนองความต้องการเกี่ยวกับหลักการแหล่งผลิตสินค้าจากภายในประเทศหรือประเทศสมาชิกทีพีพี ในขณะเดียวกัน ในส่วนของสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป แหล่งวัตถุดิบร้อยละ๕๐ต้องนำเข้าจากประเทศนอกกลุ่มทีพีพี อีกด้านหนึ่ง ควบคู่กับการลดภาษีศุลกากร ตลาดภายในประเทศจะต้องเปิดกว้างเพื่อรับสินค้าจากต่างชาติ สถานประกอบการเวียดนามจะต้องแข่งขันอย่างดุเดือดยิ่งขึ้น นายเหงวียนดึ๊กถ่วน รองประธานสภาบริหารสถานประกอบการเวียดนามกล่าวว่า“ข้อตกลงทีพีพีมีด้านใหม่ๆที่เวียดนามยังไม่เข้าร่วมการเจรจา หน่วยงานวางนโยบายควรศึกษาเพื่อสร้างพื้นฐานทางนิตินัยช่วยให้สถานประกอบการเวียดนามปรับตัวเข้ากับบรรยากาศทีพีพี รัฐบาลควรช่วยวางแนวทางให้แก่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป สถานประกอบการก็ต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อสามารถเข้าร่วมตลาดโลกได้อย่างมั่นคง”

นอกจากการแก้ไขปัญหาเดิม เช่น พัฒนาการค้า การบริการและการลงทุนอย่างเสรีแล้ว ข้อตกลงฉบับนี้ยังระบุถึงด้านใหม่ๆและสำคัญ เช่น ลิขสิทธิทางปัญญา นโยบายการแข่งขัน สถานประกอบการภาครัฐ การจัดซื้อของรัฐบาล แรงงานและสิ่งแวดล้อม จากมาตรฐานที่ตั้งไว้สูง คำมั่นสัญญาที่กว้างลึก และเงื่อนไขการปฏิบัติที่เข้มงวดทำให้เวียดนามต้องผลักดันการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ ดร.หวอจี๊แถ่ง รองหัวหน้าสถาบันวิจัยบริหารเศรษฐกิจส่วนกลางกล่าวว่า ข้อตกลงทีพีพีสร้างแรงกดดันเพื่อให้เวียดนามต้องทำการปฏิรูป“ผลประโยชน์ที่พวกเราได้รับจากทีพีพีขึ้นอยู่กับการปฏิรูปของพวกเรา การปฏิรูปนั้นผนึกแน่นกับโครงการปรับปรุงโครงสร้างเป้าหมายคือ การลงทุนสาธารณะ สถานประกอบ การภาครัฐ องค์การสินเชื่อ การปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนและประกอบธุรกิจให้ดีขึ้น  การจัดสรรทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อปรับปรุงระบบเศรษฐกิจเชิงตลาดให้มีความสมบูรณ์”

ข้อตกลงทีพีพีมุ่งสู่ความเสมอภาคไม่จำแนกประเทศพัฒนาหรือกำลังพัฒนาซึ่งเป็นโอกาสใหญ่ให้แก่การพัฒนาแต่สถานประกอบการเวียดนามต้องพยายามปรับตัวเพื่อสามารถแข่งขันกับสถานประกอบการของประเทศอุตสาหกรรมพัฒนา เช่น สหรัฐ แคนาดาและออสตรเลีย ดังนั้น ถ้าอยากใช้โอกาสและได้รับประโยชน์จากข้อตกลงทีพีพี เวียดนามต้องทำการปฏิรูปซึ่งถือเป็นปัญหาที่สำคัญ นายเจิ่นยูหลีกผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจกล่าวว่า“รัฐบาลกำลังพยายามปรับปรุงโครงสร้างสถานประกอบการภาครัฐ ธนาคาร การลงทุนและการจัดซื้อภาครัฐเพื่อต้อนรับและผสมผสานแหล่งลงทุนพัฒนาใหม่และปรับตัวเข้ากับบรรยากาศของทีพีพี สำหรับสถานประกอบการ ถึงเวลาแล้วที่ต้องเริ่มยุคใหม่บนพื้นฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้น สถานประกอบการต้องให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงโครงสร้าง ยกระดับทักษะการบริการ คุณภาพของแหล่งบุคลากรและประสิทธิภาพของการเชื่อมโยงพร้อมทั้งเสริมสร้างบทบาทของสมาพันธ์สถานประกอบการเพื่อเป็นสะพานเชื่อมระหว่างสถานประกอบการกับตลาด”

เพื่อเข้าร่วมทีพีพี เวียดนามต้องทำหลายสิ่งหลายอย่าง และนี่ก็เป็นช่วงเวลาสำคัญเพื่อให้เวียดนามทำการปฏิรูปอย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้นเพื่อใช้โอกาสกระตุ้นให้เศรษฐกิจเวียดนามพัฒนา./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด