ความร่วมมือเพื่อแสวงหาตลาดรองรับสินค้าศิลปะหัตถกรรม
Tô Tuấn - VOV5 -  
(VOVworld) – บรรยากาศที่เงียบเชียบและสินค้าค้างสต๊อกเป็นสภาพที่เป็นจริงของหมู่บ้านศิลปาชีพเวียดนามในเวลาที่ผ่านมาซึ่งหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือตลาดส่งออกลดลงเนื่องจากถูกผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกดังนั้นการแสวงหาตลาดรองรับสินค้าและผลักดันความร่วมมือระหว่างหมู่บ้านศิลปาชีพต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดภายในประเทศพร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ของต่างประเทศเป็นแนวทางที่หมู่บ้านศิลปาชีพจำนวนมากในเวียดนามกำลังดำเนินอยู่
(VOVworld) – บรรยากาศที่เงียบเชียบและสินค้าค้างสต๊อกเป็นสภาพที่เป็นจริงของหมู่บ้านศิลปาชีพเวียดนามในเวลาที่ผ่านมาซึ่งหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือตลาดส่งออกลดลงเนื่องจากถูกผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกดังนั้นการแสวงหาตลาดรองรับสินค้าและผลักดันความร่วมมือระหว่างหมู่บ้านศิลปาชีพต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดภายในประเทศพร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ของต่างประเทศเป็นแนวทางที่หมู่บ้านศิลปาชีพจำนวนมากในเวียดนามกำลังดำเนินอยู่
|
หมู่บ้านงอบChuong(Photo:Internet) |
(VOVworld) – ปัจจุบัน ในเวียดนามมีหมู่บ้านศิลปาชีพประมาณ๔พัน๕ร้อยแห่ง รวมทั้งหมู่บ้านศิลปาชีพที่ได้รับการรับรองไปแล้วกว่า๑พัน๖ร้อยแห่งพร้อมกับ หมู่บ้านศิลปาชีพพื้นเมืองเกือบ๔๐๐แห่งและช่างศิลป์นับพันคนที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นช่างเก่งมีฝีมือดี บรรดาหมู่บ้านศิลปาชีพได้สร้างงานทำประมาณ๑๒ล้านตำแหน่งรวมทั้งสร้างงานทำอีกนับล้านตำแหน่งในชนบทในช่วงที่ว่างจากการทำนา ในเกือบ๑ทศวรรษที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกของหมู่บ้านศิลปาชีพอยู่ที่กว่า๑พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี แต่ใน๒ปีที่ผ่านมา ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกได้ทำให้ตลาดส่งออกลดลง การผลิตและประกอบธุรกิจของหมู่บ้านศิลปาชีพประสบความยากลำบาก รวมทั้งหมู่บ้านเซรามิกBát Tràng อำเภอGia Lâm กรุงฮานอยที่เคยมียอดการส่งออกเป็นอันดับต้นแต่ปัจจุบัน จำนวนลูกค้าและใบสั่งซื้อสินค้าได้ลดลงเป็นจำนวนมากและปริมาณสินค้าค้างสต๊อกสูง หมู่บ้านศิลปาชีพจำนวนมาก เช่น หมู่บ้านผ้าไหมVan Phúc หมู่บ้านจักสานPhú TúcอำเภอPhú Xuyên กรุงฮานอย หมู่บ้านแกะสลักไม้Đông Giao ตำบล Lương Điền อำเภอCẩm GiàngจังหวัดHải Dương หมู่บ้านเครื่องเฟอร์นิเจอร์Đồng KỵอำเภอTừ Sơn จังหวัดBắc Ninh เป็นต้น ก็ประสบปัญหาเช่นกัน อย่างไรก็ดี ในสภาวการณ์เศรษฐกิจโลกซบเซาก็ยังมีสถานประกอบการจำนวนมากที่ได้ฟันฝ่าอุปสรรคในเชิงรุกโดยได้หันทำผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศแทนการส่งออกซึ่งจากความพยายามดังกล่าว สถานประกอบการจำนวนมากจึงสามารถฟื้นฟูการผลิตและแสวงหาลู่ทางการพัฒนาใหม่ของตนได้ นายNguyễn Thủy Dương เจ้าของโรงงานผลิตเครื่องเซรามิกที่หมู่บ้านเซรามิกGiang CaoตำบลBát Tràng เผยว่า“ในอดีต จำนวนสินค้าส่งออกของหมู่บ้านไปยังประเทศต่างๆอยู่ในระดับสูงมาก ในหลายปีที่ผ่านมา ใบสั่งซื้อจากต่างประเทศลดน้อยลงดังนั้นชาวบ้านจึงหันมาทำผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศแทน”
|
การผลักดันการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายในประเทศก็เป็นวิธีการกระตุ้นอุปสงค์และกำลังซื้อภายในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ(Photo:Internet) |
เมื่อก่อนนี้ ครอบครัวของนาย Nguyễn Thủy Dương เพียงผลิตเครื่องเซรามิกเสริมฮวงจุ้ยเท่านั้นแต่ปัจจุบันได้หันมาทำผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศจึงสามารถฟันฝ่าระยะอุปสรรคและรายได้ใน๑๐เดือนที่ผ่านมาสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี๒๐๑๑ จากอุปสรรคเดียวกันนี้ หมู่บ้านศิลปาชีพหลายแห่งได้สร้างความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตเพื่อทำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆตอบสนองความต้องการภายในประเทศแทนการส่งออกไปยังต่างประเทศ ในสภาวการณ์ที่เวียดนามกำลังผลักดันการรณรงค์“ชาวเวียดนามให้ความสนใจใช้สินค้าเวียดนาม” การผลักดันการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายในประเทศของสถานประกอบการในหมู่บ้านศิลปาชีพก็เป็นวิธีการกระตุ้นความต้องการและกำลังซื้อภายในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ในทางเป็นจริงของกระบวนการแสวงหาตลาด สถานประกอบการจำนวนมากเห็นว่า การพัฒนาตลาดภายในประเทศเป็นแนวทางที่ถูกต้องที่ช่วยให้พวกเขาฟื้นฟูการผลิตและประกอบธุรกิจ นอกจากนี้ บรรดาหมู่บ้านศิลปาชีพก็กำลังผลักดันการลงทุนเพื่อพัฒนารูปแบบ และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าศิลปหัตถกรรมของเวียดนามในตลาดโลก ส่วนสมาพันธ์หมู่บ้านศิลปาชีพเวียดนามก็ย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องมีความร่วมมือระหว่างแขนงงานต่างๆ เช่น วัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยวเพื่อนำผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านศิลปาชีพมาสู่ผู้บริโภคเวียดนามมากยิ่งขึ้นพร้อมทั้งสร้างความน่าสนใจในตัวผลิตภัณฑ์ให้กับชาวต่างประเทศมากขึ้น นายLưu Duy Dần นายกสมาพันธ์หมู่บ้านศิลปาชีพเวียดนามเผยว่า “เมื่อประเทศผสมผสานเข้ากับกระแสโลก ผลิตภัณฑ์ต้องมีคุณภาพสูงประณีตสวยงาม และต้องพัฒนาเทคโนโลยีและสิ่งที่สำคัญคือ ต้องทำความเข้าใจสถานการณ์ระหว่างประเทศในเชิงรุก หมู่บ้านศิลปาชีพต้องแก้ไขอุปสรรคด้านเงินทุน ตลาด เทคโนโลยี แรงงาน สิ่งแวดล้อมและพื้นที่ทำการผลิต ดังนั้นควบคู่กับความช่วยเหลือจากรัฐ หมู่บ้านศิลปาชีพและครอบครัวที่ทำการผลิตต้องร่วมมือลงทุน”
|
ผ้าไหมHa Đong(Photo:Internet) |
แม้จะประสบความยากลำบากแต่มูลค่าการส่งออกสินค้าศิลปหัตถกรรมของเวียดนาม เช่น เครื่องจักสาน พรม เครื่องเซรามิก เครื่องลงรักขัดเงาและ เครื่องถักปักฉลุใน๙เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่กว่า๑พัน๑ร้อยล้านเหรียญสหรัฐและคาดว่าทั้งปีจะอยู่ที่๑พัน๖ร้อยล้านเหรียญสหรัฐ แนวทางพัฒนาหมู่บ้านศิลปาชีพในช่วงปี๒๐๑๒ถึงปี๒๐๒๐คือพัฒนาหมู่บ้านศิลปาชีพโดยเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวหมู่บ้านศิลปาชีพ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งถ้าทำได้เช่นนั้น หมู่บ้านศิลปาชีพเวียดนามจะสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน./.
Tô Tuấn - VOV5