สถานประกอบการเวียดนามกับโอกาสจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

(VOVWORLD) - ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC มีประชากรกว่า 600 ล้านคน คาดว่า จีดีพีในปี 2020 จะอยู่ที่ 4.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐและจะกลายเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 ของโลกภายในปี 2030 ซึ่งจะสร้างโอกาสมากมายให้แก่สถานประกอบการในประเทศอาเซียน รวมถึงเวียดนาม ซึ่งหลังการก่อตั้ง AEC มาเป็นเวลา 2 ปี สถานประกอบการเวียดนามกำลังพยายามแสวงหามาตการผลักดันการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อครองส่วนแบ่งตลาดในประเทศอาเซียน
สถานประกอบการเวียดนามกับโอกาสจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน - ảnh 1 เหล้าเขากวาง

เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการก่อตั้ง AEC ปัจจุบัน สถานประกอบการตระหนักได้ดีเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายจาก AEC ในการผสมผสาน โดยผลการสำรวจความคิดเห็นสถานประกอบการของ VCCI หลังจากที่ AEC ได้รับการก่อตั้งมาเป็นเวลา 1 ปีปรากฎว่า มีสถานประกอบการร้อยละ 47 ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ AEC ในเชิงรุก แต่อย่างไรก็ตาม การประยุกต์ใช้จุดแข็งต่างๆจาก AEC ยังไม่ใช่เรื่องง่าย

บริษัทหุ้นส่วนผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดสารพิษเวียดนาม ซึ่งเป็นบริษัทแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรของเวียดนามที่ส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังประเทศยุโรปบางแห่ง แต่สำหรับตลาดอาเซียนนั้น จนถึงขณะนี้ กำลังอยู่ในระดับของการศึกษาและสำรวจตลาดเท่านั้น ซึ่งสาเหตุมาจากการเตรียมความพร้อมเพื่อการผสมผสานอย่างรอบคอบ นาย เหงวียนวันเตวน ผู้อำนวยการบริษัทหุ้นส่วนผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดสารพิษเวียดนามได้เผยว่า“พวกเรากำลังศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกลไก นโยบาย และศักยภาพตลาดประเทศอาเซียน โดยต้องไปสำรวจตลาด รวมทั้งความต้องการของลูกค้าและบริษัทจำหน่าย ซึ่งต้องทำการวิจัยตลาดในระดับชาติที่มีการสนับสนุนจากรัฐ”

ส่วนนาย เหงวียนคั๊กเซิน ประธานกรรมการบริหารและผู้อำนวยการเครือบริษัทเซินอานได้เห็นด้วยกับทัศนะดังกล่าวของนาย  เหงวียนวันเตวน พร้อมทั้งเผยว่า การเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบเมื่อเจาะตลาดอาเซียนคือสิ่งที่จำเป็นสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันไม่สูงนัก

“การก่อตั้ง AEC ได้สร้างทั้งโอกาสและความท้าทายต่อสถานประกอบการ ซึ่งถ้าหากรู้จักใช้โอกาสต่างๆอย่างเต็มที ก็จะได้รับประโยชน์มากมาย แต่ถ้ายังไม่เตรียมความพร้อมอย่างเพียงพอ ก็จะประสบอุปสรรคเพราะผลิตภัณฑ์ของสถานประกอบการในกลุ่มอาเซียนมีความคล้ายคลึงกัน ดังนั้นสถานประกอบการเวียดนามต้องวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพื่อสามารถแข่งขันได้ในตลาดอาเซียน”

จากแนวทางใช้ประโยชน์จากจุดแข็งและผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เช่น เหล้าพื้นเมือง เหล้าเขากวางและผลิตภัณฑ์ต่างๆจากเขากวาง ซึ่งได้ช่วยให้เครือบริษัทเซินอานสามารถครองส่วนแบ่งในตลาดอาเซียน โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าของบริษัทฯไปยังประเทศอาเซียนในปี 2016 อยู่ที่ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2015 และทางบริษัทเซินอานได้ตั้งเป้าหมายว่า จะเพิ่มมูลค่าการส่งออกขึ้นเป็น 15 – 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐในอีก 5 ปีข้างหน้า

“พวกเรากำลังทำการวิจัยเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ยุทธศาสตร์ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและตลาดของประเทศสมาชิกอาเซียน พร้อมทั้งพยายามยกระดับทักษะความสามารถด้านภาษาให้แก่เจ้าหน้าที่พนักงานเพื่อสามารถสื่อสารกับหุ้นส่วนต่างๆในประเทศสมาชิกอาเซียนได้”

สถานประกอบการเวียดนามกับโอกาสจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน - ảnh 2นาย เลคั๊กหว่า ผู้อำนวยการบริษัท VNTech

นอกเหนือจากการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ๆแล้ว บริษัท VNTech ที่ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้เน้นประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพและลดราคาสินค้า นาย เลคั๊กหว่า ผู้อำนวยการใหญ่บริษัท VNTech ได้ยืนยันว่า“ผลิตภัณฑ์ของบริษัท VNTech มีคุณภาพเทียบเท่าผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากมาเลเซียและไทย แต่ราคาตํ่ากว่าร้อยละ 20 ซึ่งถือปัจจัยที่เอื้อให้แก่การเจาะตลาดต่างๆในภูมิภาค โดยในปี 2016 การทำธุรกิจของบริษัทฯสามารถสร้างรายได้มากถึง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ.

ส่วนความท้าทายสำคัญที่สถานประกอบการกำลังต้องเผชิญคือความเสียเปรียบในการพัฒนาเศรษฐกิจและประสบการณ์จากการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนที่ช้ากว่าประเทศอื่นๆ ซึ่งทำให้สถานประกอบการเวียดนามต้องผลักดันการผสมผสานเข้ากับภูมิภาค โดยสถานประกอบการเวียดนามได้พยายามฟันฝ่าความท้าทายและใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการผสมผสานและใช้โอกาสต่างๆจากการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน ส่วนหน่วยงานภาครัฐได้ช่วยยกระดับความรู้ สนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารเพื่อช่วยให้สถานประกอบการเข้าถึงตลาดต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในการกล่าวปราศรัยในการเสวนา “เออีซีกับโอกาสสำหรับสถานประกอบการเวียดนาม” ณ กรุงฮานอยเมื่อเร็วๆนี้ นาย เหงวียนก๊วกหยุง หัวหน้าคณะผู้แทน SOM อาเซียนเวียดนามและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้เผยว่า“ผู้ประกอบการเวียดนามนับวันยิ่งตระหนักดีถึงโอกาสและความท้าทายต่างๆ ส่วนทางฝ่ายผู้บริหารเราก็ตระหนักถึงบทบาทของรัฐบาลและกระทรวง หน่วยงานต่างๆในการจัดทำกลไก นโยบายเพื่อสนับสนุนสถานประกอบการ อำนวยความสะดวกแก่สถานประกอบการในการหาข้อมูลที่ต้องการอย่างถูกต้องเพื่อการผสมผสานในเวลาข้างหน้า”

ปัจจุบัน อาเซียนคือหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของเวียดนาม โดยอัตราการขยายตัวด้านการค้าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 15 ต่อปี ส่วนบรรดาผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศได้พยากรณ์ว่า อัตราการขยายตัวของอาเซียนจะสูงกว่าอียูในอีก 10 ปีข้างหน้า ดังนั้น สถานประกอบการเวียดนามกำลังพยายามใช้ประโยชน์จากเออีซีเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของตลาดภายในประเทศและครองส่วนแบ่งตลาดต่างๆในกลุ่มอาเซียน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด