สร้างกลไกที่ให้สิทธิพิเศษเพื่อสร้างสรรค์เขตเศรษฐกิจพิเศษ
Cẩm Tú - Vĩnh Phong -  
(VOVWORLD) - ร่างกฎหมายว่าด้วยเขตราชการ-เศรษฐกิจพิเศษที่จัดทำโดยกระทรวงวางแผนและการลงทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพื้นฐานทางนิตินัยให้แก่การจัดตั้ง พัฒนาและบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ ๓ แห่งคือ เขตเศรษฐกิจพิเศษ เวินโด่นในจังหวัดกว๋างนิง เขตเศรษฐกิจพิเศษบั๊กเวินฟองในจังหวัดแค้งกว่าและเขตเศรษฐกิจพิเศษฟู้ก๊วกในจังหวัดเกียนยาง ซึ่งจากข้อกำหนดที่ให้สิทธิพิเศษด้านภาษีและที่ดิน ร่างกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษได้ถูกคาดหวังว่า จะสร้างก้าวกระโดดให้แก่การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจเวียดนาม
เขตพักผ่อนหย่อนใจ Vinpearl ในเกาะฟู้ก๊วก (Photo: tienphong.vn) |
ร่างกฎหมายว่าด้วยเขตราชการ-เศรษฐกิจพิเศษมีข้อกำหนดเชิงก้าวกระโดดเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยทำการปรับระบบการบริหารราชการให้กระทัดรัดผ่านการปฏิบัตินโยบาย one-stop-service ที่เอื้อให้แก่การทำระเบียบการต่างๆสำหรับนักลงทุน นอกจากนี้ ยังมีข้อกำหนดที่ให้สิทธิพิเศษด้านภาษีและที่ดินมากกว่าข้อกำหนดที่ผ่านๆมา เช่น ลดจำนวนแขนงอาชีพลงทุนประกอบธุรกิจที่ต้องมีเงื่อนไขจาก 243 สาขาลงเหลือ 108 สาขา ขยายและอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศในการเข้าถึงที่ดิน การจำนองทรัพย์สินและการถือกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย ในด้านภาษี โครงการลงทุนต่างๆได้รับการยกเว้นภาษีสำเข้าเป็นเวลา ๗ ปีนับตั้งแต่เริ่มการผลิต ส่วนสถานประกอบการได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งปกติอยู่ที่ร้อยละ 10 เป็นเวลา ๔ปีและลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ร้อยละ 50เป็นเวลา ๙ ปีนับตั้งแต่มีรายได้ที่เข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษี นาย เหงวียนวันจุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุนได้เผยว่า ร่างกฎหมายว่าด้วยเขตราชการ-เศรษฐกิจพิเศษได้รับการจัดทำเพื่อคํ้าประกันทักษะความสามารถในการแข่งขันและมีข้อกำหนดเชิงก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับระบบกฎหมายในปัจจุบัน “ร่างกฎหมายนี้เน้นในการสร้างรูปแบบหน่วยงานบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษและหน่วยงานภาครัฐต่างๆที่เชิดชูความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ควบคู่กับการตรวจสอบของหน่วยงานภาครัฐ ประชาชนและสถานประกอบการ ในด้านเศรษฐกิจ ร่างกฎหมายฯระบุถึงนโยบายสำคัญ 10 ข้อ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานที่เอื้อให้แก่การยกระดับทักษะความสามารถในการแข่งขันมีข้อกำหนดเชิงก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับระบบกฎหมายเวียดนาม รวมถึงประเทศและดินแดนที่มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งนโยบายต่างๆต้องได้รับการเผยแพร่อย่างเปิดเผย โปร่งใสเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิ์ทำการตรวจสอบการปฏิบัติได้”
เขตเศรษฐกิจพิเศษเวินโด่น (Photo: nguoilaodong.vn) |
คาดว่า เมื่อกลไกให้สิทธิพิเศษแก่เขตเศรษฐกิจพิเศษได้รับการจัดทำแล้วเสร็จและมีผลบังคับใช้ จะช่วยสร้างกระแสการลงทุนที่เข้มแข็งจากนักลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศในเขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ เช่น เวินโด่น บั๊กเวินฟองและฟู้ก๊วก ทำให้เขตเศรษฐกิจพิเศษสามารถทำรายได้เข้างบประมาณแผ่นดินและมีส่วนร่วมต่อการขยายตัวจีดีพีของเวียดนามมากขึ้นหลังปี 2020 โดยเขตเศรษฐกิจพิเศษเวินโด่นอาจทำรายได้เข้างบประมาณแผ่นดินประมาณ ๔ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษบั๊กเวินฟอง จะอยู่ที่ประมาณ 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและเขตเศรษฐกิจพิเศษฟู้ก๊วก จะอยู่ที่ประมาณกว่า ๓ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ เขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆยังช่วยสร้างงานทำและเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร
แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อสามารถบรรลุตัวเลขดังกล่าว นาย เหงวียนมิงฟอง ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจได้เผยว่า การให้สิทธิพิเศษด้านภาษีและที่ดินยังไม่เพียงพอเพื่อดึงดูดการลงทุน หากสิ่งที่สำคัญสำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษคือการสร้างกลไกเชิงก้าวกระโดด “เขตเศรษฐกิจพิเศษมีขอบเขตใหญ่กว่าเขตนิคมอุตสาหกรรมและเปรียบเสมือนประเทศเล็กๆที่เอื้อให้แก่การประกอบธุรกิจ มีประชาชนอาศัยเป็นจำนวนมากและมีกลไกราชการพิเศษ เพื่อให้การสร้างสรรค์เขตเศรษฐกิจพิเศษประสบความสำเร็จ ต้องปฏิบัตินโยบายต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจ ความเป็นเอกภาพ โดยเฉพาะสำหรับโครงการลงทุนระยะยาว โดยในระยะแรก ต้องมีนโยบายพิเศษเพื่อส่งเสริมให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนโครงการลงทุนในด้านอื่นๆ”
จากการปฏิบัติเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศต่างๆแสดงให้เห็นว่า การสร้างสรรค์เขตเศรษฐกิจพิเศษจะช่วยสร้างพลังขับเคลื่อนใหม่ให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและประเทศ ดังนั้น นอกเหนือจากการให้สิทธิพิเศษเหมือนประเทศต่างๆแล้ว เวียดนามต้องมีนโยบายพิเศษอื่นๆเพื่อดึงดูดการลงทุนมากขึ้น นาย หวอจี๊แถ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจได้เผยว่า “การให้สิทธิพิเศษอันดับแรกคือทัศนะต่อโครงสร้างและระบบการบริหารราชการของเขตเศรษฐกิจพิเศษ การสร้างบรรยากาศที่อำนวยความสะดวกเพื่อให้เขตเศรษฐกิจพิเศษกลายเป็นเขตเศรษฐกิจที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุน สร้างความโปร่งใสด้านข้อมูลข่าวสารเพื่อนำไปสู่การพยากรณ์ต่างๆอย่างสะดวกและลดค่าใช้จ่ายให้เหลือน้อยที่สุดให้แก่สถานประกอบการ”
การผลักดันการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษถูกคาดหวังว่า จะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเวียดนาม แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ ผลการปฏิบัตินโยบายใหม่ๆและการปฏิบัติระเบียบราชการต่างๆในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะเป็นพื้นฐานของการประยุกต์ใช้นโยบายและกลไกต่างๆในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะได้รับการจัดตั้งในอนาคต.
Cẩm Tú - Vĩnh Phong