เพิ่มมูลค่าการส่งออกผลไม้เวียดนาม
Thanh Tùng -  
(VOVworld) - ในปี 2016 นับเป็นครั้งแรกที่มูลค่าการส่งออกผักและผลไม้ของเวียดนามบรรลุเกือบ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งผลสำเร็จดังกล่าวมีส่วนร่วมไม่น้อยจากสวนผักผลไม้ในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง อันเป็นการสร้างแนวทางใหม่ในการปฏิรูปโครงสร้างการเกษตรที่เน้นพัฒนาผลไม้ให้เป็นสินค้าส่งออกหลักนอกเหนือจากข้าวของเวียดนาม
(VOVworld) - ในปี 2016 นับเป็นครั้งแรกที่มูลค่าการส่งออกผักและผลไม้ของเวียดนามบรรลุเกือบ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งผลสำเร็จดังกล่าวมีส่วนร่วมไม่น้อยจากสวนผักผลไม้ในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง อันเป็นการสร้างแนวทางใหม่ในการปฏิรูปโครงสร้างการเกษตรที่เน้นพัฒนาผลไม้ให้เป็นสินค้าส่งออกหลักนอกเหนือจากข้าวของเวียดนาม
มะม่วงคือผลไม้ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง
|
ในช่วงต้นปี 2017 มีสถานประกอบการต่างชาติและสถานประกอบการส่งออกผลไม้เวียดนามจำนวนมากได้เดินทางไปศึกษาข้อมูลและลงนามสัญญาซื้อขายกับสหกรณ์และกลุ่มความร่วมมือปลูกมะม่วงในจังหวัดด่งท้าป นาย หวิ่งแทงบ๊า รองผู้อำนวยการสหกรณ์ปลูกมะม่วงหมิเซืองได้เผยว่า จากการผลิตผลิตภัณฑ์การเกษตรปลอดสารพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถขายได้ในราคาสูง ส่วนสมาชิกสหกรณ์ก็ตระหนักได้ดีถึงประสิทธิผลและปฏิบัติตามรูปแบบการปลูกมะม่วงปลอดสารพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งยืนยันว่า นอกเหนือจากสมาชิกสหกรณ์ฯแล้ว ชาวสวนมะม่วงอื่นๆได้ปฏิบัติตามรูปแบบใหม่ในการปลูกมะม่วงที่ได้มาตรฐานเพื่อการส่งออก ซึ่งมีส่วนร่วมพัฒนาเครื่องหมายการค้าของผลไม้เวียดนาม
“ชาวสวนพยายามปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออกร้อยละ 70 และขายภายในประเทศร้อยละ 30 เพื่อสามารถสร้างฐานะในถิ่นเกิดได้”
แตงโมเวียดนาม
|
นอกเหนือจากการปลูกมะม่วงแล้ว โครงการปลูกผลักและผลไม้ชนิดต่างๆเพื่อการส่งออกในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงในปี 2016 ได้ประสบความสำเร็จ โดยมูลค่าการส่งออกผลไม้ 30 รายการของภูมิภาคนี้คิดเป็นร้อยละ 74 ของยอดมูลค่าการส่งออกผักและผลไม้ทั่วประเทศและมีการขยายการส่งออกไปยังตลาดที่ต้องการผลิตภัณฑ์ผลไม้ที่มีคุณภาพสูง เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม เยอรมนี ออสเตรเลีย สาธารณรัฐเกาหลีและมาเลเซีย เป็นต้น ศาสตราจารย์ดร.หวอต่องซวนได้เผยว่า“ผลไม้ของเวียดนามขายได้ราคาดี เช่น มะม่วงก๊าดหว่าโหลกของภาคตะวันตกถูกประมูลไปในราคา 12 ดอลลาร์สหรัฐต่อลูกในเมืองฟูกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น”
ส่วนนาย เลมิงฮวาน เลขาธิการพรรคสาขาจังหวัดด่งท้าป ซึ่งเป็นท้องถิ่นเดินหน้าในการปฏิรูปโครงสร้างการเกษตรได้เผยว่า ถ้าสามารถทำการตรวจสอบการปลูกผักและผลไม้ให้ได้มาตรฐาน ก็จะช่วยให้มูลค่าการส่งออกผักและผลไม้ในปีต่อๆไปเพิ่มขึ้น 2 – 3 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2016
“การเจาะและครองส่วนแบ่งในตลาดต่างๆไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเกษตรกร สหกรณ์และสถานประกอบการต้องวางแผนการปฏิบัติในระยะยาว สถานประกอบการต้องร่วมมือกับเกษตรกรอย่างใกล้ชิดในการวางแผนการผลิตเพื่อการส่งออก”
ปี 2016 เป็นปีที่หน่วยงานเกษตรต้องเผชิญกับอุปสรรค์ต่างๆในการส่งออก รวมถึงปัญหาภัยแล้งและนํ้าทะเลซึม แต่สวนปลูกผักและผลไม้เพื่อการส่งออกกลับประสบความสำเร็จมากมาย ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญเพื่อให้หน่วยงานการเกษตรในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงทำการปฏิรูปโครงสร้างพันธุ์พืชเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออก อีกทั้งมีส่วนช่วยเพิ่มรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนและมีส่วนร่วมต่อมูลค่าการส่งออกของประเทศ.
Thanh Tùng