เศรษฐกิจเวียดนามฟื้นฟูและพัฒนาอย่างยั่งยืน

(VOVWORLD) -องค์กรเศรษฐกิจโลกต่าง ๆ เช่น ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศและ Fitch Ratting ได้ให้ข้อสังเกตว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2022 อาจบรรลุร้อยละ 6.5 ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่รัฐบาลเวียดนามวางไว้ เศรษฐกิจเวียดนามกำลังฟื้นตัวและมีความได้เปรียบต่างๆเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืนในเวลาข้างหน้า
เศรษฐกิจเวียดนามฟื้นฟูและพัฒนาอย่างยั่งยืน - ảnh 1ดร. เลซวนซาง รองหัวหน้าสถาบันเศรษฐกิจเวียดนาม (congluan.vn)

ตามข้อมูลสถิติในไตรมาสแรกของกระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนาม จีดีพีของเวียดนามได้เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 5 การผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ยอดมูลค่าการขายปลีกและรายได้ภาคบริการและการบริโภคได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เงินลงทุนในสังคมเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 9 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 และมูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 ได้เปรียบดุลการส่งออก 809 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาเที่ยวเวียดนามเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 90 มีสถานประกอบการจัดตั้งใหม่กว่า 34,600 แห่ง ดร. เลซวนซาง รองหัวหน้าสถาบันเศรษฐกิจเวียดนามแสดงความคิดเห็นว่า “การขยายตัวเท่ากับตัวเลขที่ผมพยากรณ์ไว้ ซึ่งเป็นผลที่น่ายินดีเป็นอย่างมากและเหมาะสมกับอัตราการฟื้นฟูและเปิดตลาดของเศรษฐกิจ ในสภาวการณ์ที่ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบจากการปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครน อัตราการขยายตัวดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความพยายามเป็นอย่างมากของรัฐบาลและสถานประกอบการเวียดนาม

ส่วนนาย เลยวีบิ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ Economica เวียดนามให้ข้อสังเกตว่า“ตัวเลขดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามของพวกเรา การขยายตัวร้อยละ 5.03 แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม นโยบายที่ส่งเสริมการปรับตัว ความคล่องตัว การเป็นฝ่ายรุกและยุทธศาสตร์วัคซีนได้สร้างผลสำเร็จ นี่คือปัจจัยที่ช่วยเปลี่ยนแปลงและนำเศรษฐกิจเวียดนามกลับมาบนเส้นทางการเติบโตและสร้างพื้นฐานให้แก่ปีต่อๆไป นอกจากนี้ เรายังสามารถลดผลเสียหายจากตลาดโลก เช่น ราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น

เศรษฐกิจเวียดนามฟื้นฟูและพัฒนาอย่างยั่งยืน - ảnh 2นาย เลยวีบิ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ Economica เวียดนาม (โด๋ลิงห์)

ถึงแม้การขยายตัวจะประสบผลที่น่ายินดี ซึ่งเป็นการยืนยันถึงการพึ่งพาตนเองของเศรษฐกิจทุกภาคส่วนแต่ในสภาวการณ์ที่ห่วงโซ่อุปทานของโลกกำลังมีความผันผวนเป็นอย่างมาก บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจยังให้ข้อสังเกตว่า นี่เป็นระดับการขยายตัวเฉลี่ยในระดับสูงเมื่อเทียบกับทั้งกลุ่มอาเซียน สถาบันการเงินต่างๆได้พยากรณ์ว่า อาเซียนจะมีการขยายตัวประมาณร้อยละ 5 ซึ่งหมายความว่า ตัวเลขร้อยละ 5.03 ของเวียดนามสูงกว่าตัวเลขของอาเซียนไม่มากนัก ซึ่งถ้าหากไม่พยายามมากขึ้น เวียดนามก็ยากที่จะลดช่องว่างการพัฒนากับบรรดาประเทศชั้นนำในภูมิภาค โดยในไตรมาสที่ 2 ที่ 3 และ 4 ของปีนี้ รัฐบาล ชมรมสถานประกอบการและประชาชนเวียดนามต้องพยายามให้อัตราการขยายตัวเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 7 ถึงจะสามารถบรรลุเป้าหมายการขยายตัวของทั้งปีที่ร้อยละ 6.5 ได้ นาย เหงียนบิ๊กเลิม ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและอดีตอธิบดีทบวงสถิติสังกัดกระทรวงวางแผนและการลงทุนแสดงความคิดเห็นว่า

เรายังคงต้องกังวลเกี่ยวกับปัญหาอื่นๆ เช่นการเลี้ยงปศุสัตว์ประสบความยากลำบากเนื่องจากราคาอาหารสัตว์เพิ่มสูงขึ้นและเวียดนามกำลังต้องพึ่งพาการนำเข้าเป็นอย่างมาก การจับปลาและเลี้ยงสัตว์น้ำก็ประสบความลำบากเช่นกันเนื่องจากราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น การก่อสร้างประสบอุปสรรคเนื่องจากการเบิกจ่ายเงินลงทุนและขั้นตอนการก่อสร้าง การบริโภคแม้มีการฟื้นตัวแต่ก็อยู่ในระดับต่ำในขณะที่การบริโภคภายในประเทศยังคงเป็นพลังขับเคลื่อนหลัก โดยเฉพาะภาคสถานประกอบการ ที่สมทบเงินทุนให้แก่จีดีพีกว่าร้อยละ 60 นั้น มีจำนวนสถานประกอบการได้รับการก่อตั้งใหม่และกลับมาดำเนินการอีกครั้งรวม 62,000 แห่ง แต่ก็มี 35,700 แห่งที่ต้องหยุดดำเนินการ นี่แสดงให้เห็นถึงความยากลำบากที่ชมรมสถานประกอบการกำลังต้องเผชิญเนื่องจากวิกฤตโควิด -19 และการปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครน ดังนั้น ต้องให้ความสนใจมากขึ้นต่อชมรมสถานประกอบการในเวลาข้างหน้า

ในเวลาที่ผ่านมา รัฐบาล กระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่นต่างๆได้มีแนวทางและนโยบายที่เหมาะสมและทันการณ์เพื่อช่วยเหลือชมรมสถานประกอบการและประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้ภาพรวมของเศรษฐกิจในไตรมาสแรกมีจุดเด่นต่างๆด้วยอัตราการขยายตัวของจีดีพีอยู่ที่ร้อยละ 5.03 สูงกว่าอัตราการขยายตัวของจีดีพีในสองปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจสังคม รวมทั้งวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจและสถานประกอบการต่างๆ นาย เจิ่นกวี๊ หัวหน้าสถาบันพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลเวียดนามแสดงความคิดเห็นว่า “ในไตรมาสที่ 2 เศรษฐกิจเวียดนามต้องรับมือผลกระทบจากปัญหาต่างๆในโลก นี่คือช่วงเวลาที่นโยบายต่างๆของรัฐต้องส่งเสริมการช่วยเหลือสถานประกอบการและประชาชน โลกมีความผันผวน ราคาสินค้าไร้เสถียรภาพและเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งต้องสร้างเสถียรภาพในด้านราคาและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน สองคือ ต้องเพิ่มการประยุกต์ใช้ระบบดิจิทัลและเศรษฐกิจดิจิทัล โดยรัฐบาลและสำนักงานภาครัฐต้องเน้นปฏิบัติมากขึ้น ส่วนสถานประกอบการต้องปรับตัวเพื่อสามารถอยู่รอดได้และประชาชนต้องมีทักษะความสามารถในด้านดิจิทัลที่ดีขึ้น

ในสภาวการณ์ใหม่ เศรษฐกิจต้องมีแนวทางและนโยบายที่คล่องตัว รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อช่วยให้สถานประกอบการและเศรษฐกิจพัฒนาอย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งนโยบายมหภาคได้รับการปรับปรุงให้มีความคล่องตัวเพื่อร่วมกับเศรษฐกิจทุกภาคส่วนพยายามบรรลุเป้าหมายการขยายตัวที่ในปี 2022 ที่ร้อยละ 6.5 .

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด