ไฮฟองพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเล

(VOVworld)– ในช่วงหลายปีมานี้ สินค้านำเข้าส่งออกกว่าร้อยละ 90 ของเวียดนามได้ขนส่งผ่านทางทะเลซึ่งจากแนวโน้มยุทธศาสตร์นี้ การพัฒนาท่าเรือ รวมทั้งท่าเรือไฮฟองซึ่งเป็นประตูสู่ทะเลทางภาคเหนือของเวียดนามจึงมีความ หมายสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

(VOVworld) – ในช่วงหลายปีมานี้ สินค้านำเข้าส่งออกกว่าร้อยละ 90 ของเวียดนามได้ขนส่งผ่านทางทะเลซึ่งจากแนวโน้มยุทธศาสตร์นี้ การพัฒนาท่าเรือ รวมทั้งท่าเรือไฮฟองซึ่งเป็นประตูสู่ทะเลทางภาคเหนือของเวียดนามจึงมีความหมายสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ไฮฟองพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเล - ảnh 1
ท่าเรือไอฟอง (baohaiphong.com.vn)

ปัจจุบัน ท่าเรือไฮฟองเป็นหนึ่งในท่าเรือที่มีบทบาทสำคัญในระบบท่าเรือของเวียดนาม แต่ในเวลาที่ผ่านมา ท่าเรือไฮฟองยังทำหน้าที่เป็นจุดขนถ่ายสินค้าเท่านั้น เพราะยังไม่มีท่าเทียบเรือน้ำลึกเพื่อรองรับเรือขนาดใหญ่ รวมไปถึงระบบขนส่งทางรถไฟและทางบกที่เชื่อมต่อกับระบบคมนาคมแห่งชาติก็ยังไม่มีการพัฒนาอย่างพร้อมเพรียง ดังนั้นในช่วงปี 2006-2010 เมืองท่าไฮฟองได้ใช้เงินกว่า 1 ล้าน 5 แสนล้านด่งเพื่อลงทุนก่อสร้างท่าเทียบเรือ 6 แห่งในระบบท่าเรือ Đình Vũ และจนถึงปี 2012 ท่าเทียบเรือหมายเลข6 และ 7 สังกัดโครงการท่าเรือ Đình Vũ   ก็ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ในขณะเดียวกัน ควบคู่กันการพัฒนาท่าเรือ Đình Vũ ระบบโครงสร้างพื้นฐานในเขตท่าเรือ Tân Cảng ก็กำลังใกล้เสร็จ เรียบร้อยแล้ว จนถึงขณะนี้ ท่าเรือ Đình Vũ  เป็นท่าเรือแห่งแรกในเมืองท่าไฮฟองที่สามารถรองรับเรือระวางน้ำหนัก 2 หมื่นตันได้  แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้บริหารของเมืองท่าไฮฟองกำลังให้ความสนใจในขณะนี้คือ การปรับปรุงการวางแผนอย่างบูรณาการทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบคมนาคม คลังสินค้าและการดำเนินงานของระบบท่าเรือ นาย Dương Ngọc Tuấn รองผู้อำนวยการสำนักงานวางแผนและการลงทุนไฮฟองได้แสดงความเห็นว่าในการวางแผนเมื่อก่อน พวกเราได้เน้นแต่เลือกสถานที่ก่อสร้างท่าเรือเท่านั้นโดยยังไม่ให้ความสนใจถึงการพัฒนาพื้นที่ทางทะเลของท่าเรือซึ่งผมคิดว่า พวกเราต้องแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวในเวลาที่จะถึง

ไฮฟองพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเล - ảnh 2
ท่าเรือ Lach Huyen (tienphong.vn)

ตามแนวทางการปรับปรุงแผนพัฒนาท่าเรือ ปัจจุบัน เมืองท่าไฮฟองได้ก่อสร้างเส้นทางคมนาคมสำคัญจากสามแยก Chùa Vẽ ถึง Đình Vũ และทางแยก Chùa Vẽ - Đình Vũ – ทางหลวงหมายเลข 5  พร้อมทั้งทำการขุดลอกบำรุงรักษาร่องน้ำทางเดินเรือในทุกๆปีเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่บรรดาเรือที่เข้ามาใช้บริการท่าเรือ Đình Vũ อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับโครงการพัฒนาระบบอุปกรณ์ทางท่าเรือ โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเขตท่าเรือ Tân Cảng ก็ได้ช่วยเพิ่มแรงดึงดูดนักลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อพัฒนาเขตนิคมอุตสาหกรรม Đình Vũ และเมืองท่าไฮฟอง ภายใต้คำขวัญ “มีจุดแข็งด้านทะเล สร้างความเจริญจากทะเล” ในหลายปีมานี้ เมืองท่าไฮฟองได้เน้นลงทุน พัฒนาระบบท่าเรือให้มีความพร้อมซึ่งจนถึงขณะนี้ ความพยายามดังกล่าวได้เกิดประสิทธิผลที่ดีโดยเมื่อปี 2012 ท่ามกลางอุปสรรค์ต่างๆ ปริมาณสินค้าที่ขนถ่ายผ่านท่าเรือไฮฟองได้บรรลุเกือบ 49 ล้านตัน เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 12  เมื่อเทียบกับปี 2011

ไฮฟองพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเล - ảnh 3
ท่าเทียบเรือหมายเลข 6 ในระบบท่าเรือ Dinh Vu (baohaiphong.com.vn)

ในการวางแผนพัฒนาระบบท่าเรือเวียดนามจนถึงปี 2020 วิสัยทัศน์ถึงปี 2030 รัฐบาลเวียดนามได้กำหนดว่า  ท่าเรือนานาชาติไฮฟองจะเป็นท่าเรือที่มีความหมายสำคัญเป็นพิเศษ ดังนั้น เมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา ท่าน Nguyễn Tấn Dũng นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมพิธีวางศิลาฤกษและประกาศคำสั่งก่อสร้างท่าเรือ Lạch Huyện ของไฮฟองอันเป็นการสร้างก้าวกระโดดในการพัฒนาเศรษฐกิจท่าเรือของเวียดนาม รวมทั้งไฮฟอง โครงการท่าเรือนานาชาติไฮฟองแบ่งเป็น 2 ส่วนโดยส่วนเอคือการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานโดยรวม เช่น ร่องน้ำทางเดินเรือ เขตกลับเรือ เขื่อนป้องกันคลื่น เขื่อนป้องกันทรายและเส้นทางนอกพอร์ต เป็นต้น โดยใช้เงินลงทุนสูงถึง 18 ล้าน 6 แสนล้านด่งและส่วนบีเป็นการลงทุนท่าเทียบเรือ 2 แห่งพร้อมอุปกรณ์สำหรับการขนถ่ายสินค้าและรองรับเรือ Container ขนาด 100.000 DWT รวมเงินทุนกว่า 6 ล้าน 5 แสนล้านด่ง สำหรับความหมายสำคัญของโครงการนี้ ท่าน Nguyễn Tấn Dũng นายกรัฐมนตรีได้ย้ำว่าปัจจุบัน เขตท่าเรือไฮฟองเป็นท่าเรือพาณิชย์ที่ให้บริการการนำเข้าส่งออกเป็นหลักและมีขนาดใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ ถึงแม้ได้รับการซ่อมแซมและขยาย แต่จนถึงขณะนี้ ก็ไม่สามารถรองรับเรือจำนวนมากได้ซึ่งส่งผลกระทบต่อกรอบเวลาการส่งออกสินค้า ทำให้ต้นทุนนำเข้าส่งออกเพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้า ดังนั้น การก่อสร้างท่าเรือนานาชาติไฮฟองจึงมีความหมายสำคัญและเร่งด่วนและอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเศรษฐกิจให้แก่เมืองท่าไฮฟอง

เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ท่าเรือนานาชาติไฮฟองจะตอบสนองความต้องการที่นับวันเพิ่มมากขึ้นของตลาด มีส่วนร่วมนำเข้าส่งออกสินค้าไปยังตลาดยุโรปและอเมริกาโดยไม่ต้องผ่านท่าเรือของประเทศที่สามในภูมิภาค เช่น สิงคโปร์และฮ่องกง เป็นต้น คาดว่า โครงการท่าเรือนานาชาติไฮฟองจะได้ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2016 ซึ่งจะมีส่วนร่วมปฏิบัติยุทธศาสตร์นำเวียดนามพัฒนากลายเป็นประเทศที่มีความเข้มแข็งทางทะเลโดยมีส่วนร่วมทาเศรษฐกิจร้อยละ 52-53 ของจีดีพีและร้อยละ 55-60 ของมูลค่าการส่งออกของประเทศ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด