ตอบจดหมายท่านผู้ฟังวันที่ 25 พฤษภาคม

(VOVWORLD) - ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนกระจายเสียงต่างประเทศได้รับอีเมล์และคอมเมนต์จากผู้ฟังรวม 426 ฉบับจาก 33 ประเทศและดินแดน โดยรายการภาคภาษาไทยได้รับอีเมล์และคอมเมนต์ 12 ฉบับ
ตอบจดหมายท่านผู้ฟังวันที่ 25 พฤษภาคม - ảnh 1
 
 

เราขอเริ่มรายการตอบจดหมายท่านผู้ฟังในวันนี้ด้วยคอมเมนต์ต่างๆ ของท่านผู้ฟังในข่าวและบทความเกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์ที่โพสในเว็บไซต์ www.vovworld.vn ของเราเนื่องในโอกาสรำลึกครบรอบ 134 ปีวันคล้านวันเกิดของท่านประธานโฮจิมินห์ครับ คุณ วันโห่ห่ง อาจารย์ เกษม ทั่งทอง คุณ เอกศิลป์ ขุนพลประจันบาน คุณ Chalinan Sip ต่างแสดงความประทับใจต่อประธานโฮจิมินห์ ซึ่งคอมเมนต์ในบทความเรื่อง “เด็กหญิงชาวจีนกับความทรงจำเมื่อครั้งได้ถ่ายภาพร่วมกับประธานโฮจิมินห์” อาจารย์ เกษม ทั่งทอง ได้แสดงความคิดเห็นว่า “ความทรงจำที่ดีๆ ยากที่จะลืมเลือน” “แม้ได้จากโลกนี้ไปแล้วแต่ประธานโฮจิมินห์ยังคงอยู่ในใจของประชาชนเวียดนาม โดยเฉพาะประชาชนชนกลุ่มน้อย”...

คุณ มะเฟือง ในกรุงฮานอยบอกว่า ชอบรายการเรื่องของดนตรีเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วที่เสนอเพลงสรรเสริญประธานโฮจิมินห์ พร้อมทั้งขอให้ทางผู้จัดทำรายการเปิดเพลง The Balad of Ho Chi Minh ให้ฟัง นี่คือเพลงที่แต่งโดยนักร้อง – นักดนตรีชาวอังกฤษ Ewan MacColl เมื่อช่วงปี 1954 ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของผู้ฟังหลายๆ ท่าน เพลงนี้ได้รับกรแปลเป็นภาษาต่างๆ เช่น ฝรั่งเศส สวีเดน สเปนและญี่ปุ่น เป็นต้น

เมื่อได้รับข่าวฝรั่งเศสพ่ายแพ้ในสมรภูมิเดียนเบียนฟู วันที่ 7 พฤษภาคม Ewan MacColl บอกกับเพื่อนว่า “ ทำไมชัยชนะที่มีความหมายชี้ขาดนี้เกิดขึ้นในเวียดนาม มิใช่ในประเทศอาณานิคมประเทศอื่น เมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้อ่านหนังสือที่มีค่า ซึ่งรวบรวมบทความของศ.ประวัติศาสตร์ฝ่ายตะวันออก ฝรั่งเศสและอิตาลีที่ได้ยกย่องสดุดีบุคคลที่ยิ่งใหญ่ในศตวรรษที่ 20 นั่นคือลุงโฮ ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่ได้นำประชาชนเวียดนามเอาชนะในสมรภูมิเดียนเบียนฟู ซึ่งเป็นชัยชนะที่ก้องกระเดื่องไปทั่วโลก” หลังจากที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ Ewan MacColl ได้แต่งเพลง The Balad of Ho Chi Minh โดยใช้จังหวะจากเพลงโบราณของชาวแซกซันเพื่อกล่าวถึงความเคารพรักของประชาชนอังกฤษต่อผู้นำที่ยิ่งใหญ่ผู้นี้ ต่อมาได้กลายเป็นที่รู้จักอย่างอย่างแพร่หลายในเวียดนาม ฝรั่งเศสและในประชาชนที่คัดค้านสงคราม จึงถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ และแพร่หลายในทั่วโลก

อีกเนื้อหาที่ได้รับความสนใจจากท่านผู้ฟังในสัปดาห์ที่ผ่านมาคือ ข่าวเกี่ยวกับชัยชนะเดียนเบียนฟู ซึ่งเมื่อชมภาพการเดินขบวนพาเหรดในโอกาสรำลึกครบรอบ 70 ปีชัยชนะเดียนเบียนฟูบนแฟนเพจเฟสบุ๊ก VOV5 THAI RADIO คุณผู้ชมหลายๆ ท่านได้แสดงความประทับใจต่อการสละเลือดเนื้อของทหารเพื่อชัยชนะในสมรภูมิเดียนเบียนฟูที่ก้องกระเดื่องทั่วโลก แล้วก็ย้ำถึงบทบาทสำคัญของพลเอก หวอเงวียนย้าป นายพลที่กลายเป็นตำนานในชัยชนะที่ยิ่งใหญ่นี้

ตอบจดหมายท่านผู้ฟังวันที่ 25 พฤษภาคม - ảnh 2พลเอก หวอเงวียนย้าปหารือเกี่ยวกับแผนการต่อสู้ในยุทธนาการเดียนเบียนฟูเมื่อปี1954

อีเมลของอาจารย์เกษม ทั่งทอง ซึ่งเป็นแฟนพันธุ์แท้ของเราได้เล่าเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มที่ทำจากลูกหม่อนที่เราขอให้ท่านผู้ฟังช่วยกันแชร์ในรายการตอบจดหมายเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนโดยอาจารย์เขียนว่า “ สวัสดีครับผู้จัดทำรายการภาคภาษาไทยทุกท่าน สืบเนื่องจากรายการตอบจดหมายครั้งที่แล้ว ได้กล่าวถึงลูกหม่อนหนึ่งในผลไม้หน้าร้อนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เลยอยากจะเล่าเกี่ยวกับลูกหม่อนที่บ้านของผมสู่กันฟัง คุณยายของผมปลูกต้นหม่อนไว้เลี้ยงหนอนไหมจำนวนหลายต้นเราเรียกสวนหม่อน ทุกวันคุณยายจะไปเก็บใบหม่อนที่สวนแล้วหาบกลับบ้านเพื่อเลี้ยงหนอนไหม ซึ่งมีหลายวัยเลี้ยงในกระด้งไม้ไผ่ ห่อด้วยผ้าหลังให้กินใบหม่อน วันละครั้งหลังอาหารเย็น คุณยายบอกว่าห่อผ้าไว้กันแมลงวันวางไข่ที่ตัวหนอนไหม การเลี้ยงหนอนไหม เริ่มตั้งแต่เอาผีเสื้อพ่อแม่ผสมพันธุ์กันใช้จานคว่ำไว้แต่ละคู่เพื่อให้วางไข่เป็นวงกลม เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนให้อาหารเป็นใบหม่อนหั่นละเอียดเหมือนยาสูบ โตขึ้นหน่อยก็หั่นหยาบ และให้เป็นใบๆไปจนกว่าจะโตเต็มที่ การให้ใบหม่อนแต่ละวัน จะเก็บตัวหนอนไหมใส่กระด้งเปล่าอีกใบแล้วให้ใบหม่อน ส่วนกระด้งใบเก่าจะมีเศษก้านใบหม่อนและมูลหนอนไหมเอาไปเททิ้งเป็นปุ๋ยหมักต่อไป เมื่อหนอนไหมโตเต็มที่จะเปลี่ยนสีจากสีขาวเป็นสีเหลือง ก็จับแยกใส่กระจ่อ ซึ่งเป็นกระด้งที่มีไส้ไม้ไผ่ขดเป็นวง เพื่อให้หนอนไหมชักเส้นใยไหมหุ้มตัวเป็นดักแด้ จากนั้นเก็บรังไหมซึ่งมีดักแด้อยู่ข้างในไปต้มในน้ำร้อนเพื่อสาวไหมเป็นเส้นเก็บไว้ทอเป็นผ้าไหมต่อไป สิ่งเหลืออยู่ในหม้อคือดักแด้ไหมนำไปเป็นอาหารได้ ผลพลอยได้จากต้นหม่อนนอกจากใบหม่อนแล้วยังมีลูกหม่อนสุกสีม่วงแดงจนม่วงเข้ม รสหวานอมเปรี้ยว ซึ่งคุณยายเก็บมาฝากทุกครั้งที่ลูกหม่อนสุก ตอนนี้คุณยายจากไปหลายปีแล้ว ไม่มีใครสานต่อเลี้ยงไหม สวนหม่อนถูกแผ้วถางออกหมดแล้ว งานไหมและผูกเสี่ยว ประจำจังหวัดขอนแก่น ซึ่งจัดงานขึ้นทุกปี จนเป็นงานไหมนานาชาติไปแล้ว

ตอบจดหมายท่านผู้ฟังวันที่ 25 พฤษภาคม - ảnh 3การปลูกต้นหม่อนเลี้ยงไหมที่จังหวัดกว๋างนาม (baoquangnam.vn)

วิธีการปลูกต้นหม่อนเลี้ยงไหมของไทยก็คล้ายๆ เวียดนาม ซึ่งนอกจากทอผ้าไหมแล้ว คนเวียดนามยังใช้เส้นใยธรรมชาติในการทอผ้า เช่น ผ้าใยบัวและผ้าใยกล้วย เหมือนกับที่เมืองไทย นี่คือเส้นใยธรรมชาติที่ผ้าทอเหล่านี้จะมีข้อดีคือ อุ่นในฤดูหนาวและเย็นสบายในฤดูร้อน แถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด