ประเพณีการ “การคืนทรัพย์-ตอบแทน” งานแต่งงานของชนเผ่าสะเตียง

(VOVWORLD) -ในจำนวนชนกลุ่มน้อยหลายเผ่าที่อาศัยในจังหวัดบิ่งห์เฟือก ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเวียดนามนั้น ชนเผ่าสะเตียงถือว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดและมีเกียรติประวัติการพัฒนาวัฒนธรรมพร้อมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์หลากหลายที่สุด ซึ่งหนึ่งในประเพณีที่น่าสนใจคือ “การคืนทรัพย์-ตอบแทน” ในงานแต่งงาน
ประเพณีการ “การคืนทรัพย์-ตอบแทน” งานแต่งงานของชนเผ่าสะเตียง - ảnh 1งานเทศกาลของชนเผ่าสะเตียง (langviet)

สำหรับชนเผ่าต่างๆที่อาศัยในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนรวมทั้งชนเผ่าสะเตียง หนุ่มสาวมักจะพบปะหาคู่ผ่านงานเทศกาลต่างๆ ซึ่งหลังจากคบกันแล้วเกิดความรักจนตัดสินใจว่าจะแต่งงานกันทั้งคู่ก็ต้องมารายงานให้พ่อแม่สองฝ่ายรับทราบ โดยพิธีแรกของงานแต่งงานคือ งานหมั้น ซึ่งฝ่ายชายจะส่ง เดอราน หรือก็คือพ่อสื่อ 2คนมาสู่ขอลูกสาว ซึ่งในงานหมั้นสองฝ่ายก็จะคุยกันเรื่องสินสอด ซึ่งเป็นประเพณีที่ได้รับการสืบทอดปฏิบัติมาแต่เดิมนาน ผู้ใหญ่บ้าน เดี๋ยวโด๊ ชนเผ่าสะเตียงที่จังหวัดบิ่งห์เฟือกเผยว่า “สิ่งแรกที่ต้องทำในงานหมั้นคือฝ่ายชายต้องนำสิ่งของที่จำเป็นมาสู่ขอตามประเพณีและหนึ่งในของที่ขาดมิได้คือกำไลข้อมือเงินและสร้อยคอเงิน”

ตามคำบอกเล่าของผู้ใหญ่บ้าน เดี๋ยวโด๊ เมื่อก่อนนี้ จำนวนสินสอดที่ฝ่ายหญิงเรียกจากฝ่ายชายนั้นมักจะเท่ากับมูลค่าสินสอดตอนที่คุณพ่อของฝ่ายหญิงต้องใช้เมื่อแต่งงานกับแม่ของฝ่ายหญิง  ในพิธีหมั้นจะมีผู้ใหญ่บ้านมาร่วมเป็นสักขีพยานด้วยซึ่งพ่อของฝ่ายหญิงจะหักกิ่งไม้ส่งให้พ่อสื่อเพื่อเป็นการนับจำนวนสินสอดที่เป็นวัวควายหมูไก่หรือเหล้าไห เป็นต้น แล้วต่อจากนั้นพ่อสื่อก็จะมอบให้แก่พ่อของฝ่ายชาย  ถ้าหากฝ่ายชายมอบสินสอดครบตามจำนวนที่ฝ่ายหญิงเรียกร้อง หลังวันแต่งงานฝ่ายชายสามารถรับเจ้าสาวไปอยู่ที่บ้านหรือให้สองคนไปอยู่บ้านใหม่ แต่ถ้าสิ่งของยังมีไม่ครบฝ่ายชายจะต้องอยู่บ้านฝ่ายหญิงจนกว่าจะมอบของให้ครบชาวสะเตียงเรียกประเพณีนี้ว่า “การคืนทรัพย์-ตอบแทน”  โดยสิ่งของอย่างหนึ่งที่ต้องมีในสินสอดคือ “ลาว” หรือ หอก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งพลังอันแข็งแกร่งของชาวสะเตียง คุณเดี๋ยวถิเกีย ชาวสะเตียงที่จังหวัดบิ่งเฟือกเผยว่า“สิ่งของที่เป็นสินสอดล้วนมีความหมายทางวัฒนธรรมและความผูกพันธ์กับชุมชน โดยเฉพาะหอก ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ปรากฎในทุกงานเทศกาลพื้นเมือง เป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจ ดังนั้นในสิดสอดจะต้องมีหอก1ด้าม งานทุกอย่างถึงจะราบรื่นด้วยดี”

ประเพณีการ “การคืนทรัพย์-ตอบแทน” งานแต่งงานของชนเผ่าสะเตียง - ảnh 2ปัจจุบัน เพื่อเป็นการผสมผสานเข้ากับวิถีชีวิตใหม่ ชนเผ่าสะเตียงก็จัดงานตามยุคสมัย ลดขั้นตอนประเพณีที่ล้าสมัยและไม่เหมาะสมแต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ดีงามดั้งเดิมในประเพณีการแต่งงานของชนเผ่าสะเตียงเพื่อสืบทอดต่อไป 

เมื่อก่อนนี้ หลังงานหมั้น1-2ปี ทั้งสองฝ่ายถึงจะสามารถจัดงานแต่งงานได้ แต่ในระหว่างช่วงเวลานั้นแม้ทุกคนในหมู่บ้านรู้ว่าคู่นี้คือสามีภรรยากันแล้วแต่ก็ยังไม่ได้มาอยู่ด้วยกัน ต่างคนต่างอยู่บ้านของตัวเองและสามารถไปมาช่วยเหลืองานบ้านหรือดูแลกันตอนเจ็บป่วยได้ สำหรับงานแต่งงาน จะต้องเตรียมควาย1ตัว นอกนั้นก็อาจจะมีหมูมีไก่ตามที่ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าเหมาะสม แต่ในวันแต่งงานฝ่ายชายต้องเตรียมต่างหู1คู่ กระโปง1ชุด สร้อยคอและระฆังทองแดงเล็กๆ1ชุดเพื่อมอบให้แก่เจ้าสาว ส่วนทางด้านฝ่ายเจ้าสาวก็เตรียมผ้าพื้นเมืองหลายผืนเพื่อมอบเป็นของที่ระลึกให้แก่ญาติพี่น้องฝ่ายชาย และทั้งสองฝ่ายต่างร่วมจัดงานเลี้ยงแต่งงานอย่างสนุกสนาน คุณเดี๋ยวถิเกีย ชาวสะเตียงที่จังหวัดบิ่งเฟือกเผยต่อไปว่า“ในงานเลี้ยง ทั้งสองฝ่ายชายหญิงจะร่วมอวยพรให้คู่บ่าวสาวและรับประทานอาหารท่ามกลางเสียงกลองเสียงฆ้องที่รื่นเริง ผู้ที่มาร่วมงานจะได้รับแจกเนื้อ1ชิ้นโดยสื่อความหมายว่าเป็นชุมชนที่สามัคคีมีอะไรดีก็เอื้อเฟื้อแบ่งกัน”

หลังวันแต่งงาน1สัปดาห์ เจ้าบ่าวก็พาเจ้าสาวไปที่บ้านของฝ่ายชายเพื่อรายงานให้เทพแห่งเตาเทพที่ดูแลบ้านรับทราบว่าบ้านมีสมาชิกคนใหม่ แนะนำให้ภรรยารู้จักพื้นที่ใช้สอยต่างๆในบ้านเช่น ห้องครัว ห้องนอน ห้องรับแขก เมื่อถึงเวลารับเจ้าสาวไปอยู่บ้านฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงก็ต้องเตรียมสิ่งของที่เท่ากับสินสอดที่ได้รับเพื่อเป็นการตอบแทน

ปัจจุบัน เพื่อเป็นการผสมผสานเข้ากับวิถีชีวิตใหม่ ชนเผ่าสะเตียงก็จัดงานตามยุคสมัย ลดขั้นตอนประเพณีที่ล้าสมัยและไม่เหมาะสมแต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ดีงามดั้งเดิมในประเพณีการแต่งงานของชนเผ่าสะเตียงเพื่อสืบทอดต่อไป โดยเฉพาะความเข้าใจของทุกคนในหมู่บ้านที่ไม่ได้ถืองานแต่งงานเป็นภารกิจของเฉพาะบ้านใดบ้านหนึ่งเท่านั้น หากเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบและเป็นความสุขของทุกคนจึงต้องร่วมกันปฏิบัติและร่วมกันอวยพรคู่บ่าวสาวให้รักกันและมีความสุขไปชั่วนิรันดร์.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด