การอนุรักษ์อาชีพทำเครื่องเซรามิกที่หมู่บ้าน เตินหว่านที่มีอายุนับร้อยปี

(VOVWORLD) - หมู่บ้านเตินหว่านในเมืองเบียนหว่า จังหวัดด่งนายมีชื่อเสียงในการทำเครื่องปั้นดินเผามานับร้อยปี ผ่านความผันผวนของกาลเวลาและการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เตาเผาบางเตาที่มีอายุ 3 ศตวรรษของที่นี่บางครั้งก็ไม่ได้ถูกใช้งาน แต่ด้วยความทุ่มเทให้แก่อาชีพและแสวงหาวิธีการพัฒนาอาชีพพื้นเมือง ช่างทำเครื่องปั้นดินเผาหลายคนในครอบครัวที่มีเกียรติประวัติในการสืบทอดอาชีพให้แก่คนรุ่นหลังยังคงอนุรักษ์อาชีพทำเครื่องเคลือบดินเผาดำต่อไป
การอนุรักษ์อาชีพทำเครื่องเซรามิกที่หมู่บ้าน เตินหว่านที่มีอายุนับร้อยปี - ảnh 1เครื่องเซรามิกที่หมู่บ้าน เตินหว่านที่มีอายุนับร้อยปี (vnexpress.net

หมู่บ้านทำเครื่องปั้นดินเผาเตินหว่านได้รับการก่อตั้งเมื่อเกือบ 300 ปีก่อนโดยชาวภาคใต้ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำด่งนายในแขวงเตินหว่าน แขวงบุยหว่า เมืองเบียนว่า จังหวัดด่งนาย หมู่บ้านเตินหว่านเป็นหมู่บ้านแห่งแรกที่ประกอบอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งในเวลาต่อมาก็ได้รับการเผยแพร่ไปยังหมู่บ้านอื่นๆในจังหวัดใกล้เคียง เช่นจังหวัดบิ่งเยืองและนครโฮจิมินห์
ถ้าหากเดินทางเลียบตามแม่น้ำด่งนายแล้วมองไปบริเวณฝั่งที่เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเตินหว่านก็จะเห็นเตาเผาโบราณที่ปล่องไฟสูง บริเวณด้านหน้าคือลานกว้างที่จัดวางกระถางดิน หม้อเคลือบเซรามิก และบรรดาช่างปั้นที่กำลังทุ่มเททำเครื่องเคลือบดินเผา
นาย ห่งวันชิ้ง เป็นหนึ่งในช่างปั้นที่กำลังอยู่ที่เตาเผาเครื่องเคลือบดินเผา กิมลาน และเป็นรุ่นที่ 4 ที่ได้รับการสืบทอดอาชีพนี้จากบรรพบุรุษได้กลายเป็นช่างปั้นยอดเยี่ยมของหมู่บ้านเตินหว่าน ด้วยฝีมือนาย ชิ้ง เขาสามารถปั้นดินเหนียวให้เป็นกระถางต้นไม้และหม้อที่มีน้ำหนักนับร้อยกิโลกรัม และลวดลายที่ปราณีตสวยงาม โดยไม่ต้องใช้แม่พิมพ์หรืออุปกรณ์ใดๆ ปัจจุบันเหลือช่างทำเครื่องปั้นดินเผาโบราณไม่กี่คน เพราะปัจจุบันเทคนิกการทำเครื่องเซรามิกมีการพัฒนาไปมาก ซึ่งสามารถผลิตด้วยกรรมวิธีหล่อขึ้นรูป ไม่ต้องทำการปั้นด้วยมือเหมือนเมื่อก่อน ทำให้ทุกวันนี้เหลือช่างปั้นมืออาชีพฝีมือดีเพียงไม่กี่คน นาย ห่งวันชิ้งได้เผยว่า
“การใช้วิธีหล่อขึ้นรูปไม่ใช่เรื่องยาก ส่วนผมยังคงทำด้วยมือ ซึ่งใช้จินตนาการและมีความคิดสร้างสรรค์ ผมต้องฝึกเรียนเป็นเวลากว่า 1 ปี มีบางคนถึงแม้พยายามฝึกเรียนแต่ก็ไม่สามารถประกอบอาชีพนี้ได้”
เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับและได้รับการวางขายในสถานที่ทุกแห่ง ช่างทำเครื่องปั้นดินเผาของหมู่บ้านทำเครื่องเซรามิกที่เก่าที่สุดในภาคใต้ได้ทุ่มเทเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ตามความเห็นของผู้สูงอายุในหมู่บ้านเตินหว่าน เมื่อก่อน เทคนิคในการทำถือเป็นความลับ

การอนุรักษ์อาชีพทำเครื่องเซรามิกที่หมู่บ้าน เตินหว่านที่มีอายุนับร้อยปี - ảnh 2ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาดำเบียนหว่ายังคงมีชื่อเสียงและได้รับความนิยมจากผู้โบริโภค (vnexpress.net)   

หลังจากปั้นดินเหนียวเป็นรูปทรงหรือข้าวของเครื่องใช้ต่างๆก็จะนำไปเผาในเตาเผา ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญ เพราะเครื่องปั้นดินเผาจะแข็ง เหนียวหรือคงรูปทรงที่ปั้นขึ้นมาได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้  
 ในเตาเผาที่มีอุณหภูมินับพันองศาเซลเซียส นาย เลิมเหลิบ หนึ่งในช่างทำเครื่องปั้นดินเผาไม่กี่คนของหมู่บ้านเตินหว่านกำลังตรวจระดับความร้อนของเตาเผา นาย เหลิบ เล่าให้ฟังว่า
“ตอนผมมีอายุประมาณ 20 ปี ผมได้ประกอบอาชีพนี้แล้ว ป่าย่าตายายบอกว่า นี่คืออาชีพที่ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษ ผมรักอาชีพนี้ คนที่ไม่รักอาชีพนี้ทำได้ไม่กี่ปีก็จะเลิกอาชีพนี้เลย”
ในตลอดเกือบ 30 ปีที่ประกอบอาชีพเป็นช่างทำเครื่องปั้นดินเผา นาย ชิ้งและนาย เหลิบ ไม่สามารถบอกได้ว่า ทำเครื่องปั้นดินเผาไปแล้วกี่ชิ้น แต่พวกเขาและชาวบ้านเตินหว่านทราบว่า เครื่องปั้นดินเผาดำเบียนหว่าคือส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตของชาวภาคใต้
ปัจจุบัน จากการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ช่างปั้นหลายคนได้เลิกทำอาชีพนี้ แต่เตาเผาเครื่องเซรามิกหลายแห่งในหมู่บ้านเตินหว่านยังคงถูกใช้งานต่อไป และผู้ที่ยังคงประกอบอาชีพนี้ได้ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของชีวิตในปัจจุบัน โดยผลิตเครื่องเซรามิกเพื่อการส่งออก ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาดำเบียนหว่ายังคงมีชื่อเสียงและได้รับความนิยมจากผู้โบริโภค โดยไม่ได้วางขายในตลาดเหมือนเมื่อก่อนเท่านั้น แต่ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านเตินหว่านได้ส่งออกไปขายต่างประเทศหรือถูกประดับตามโรงแรมและสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ แนวทางใหม่นี้ช่วยให้หมู่บ้านทำเครื่องเซรามิกเตินหว่านยังคงสามารถรักษาอาชีพได้ในตลอดหลายปีที่ผ่านมา. 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด