หนังสือที่เก็บรักษาประเพณีชีวิตของคนเวียดนาม

(VOVWORLD) -“เติบตุกเด่ยเหงื่อย” หรือ “ประเพณีชีวิต” คือหนังสือเล่มที่ 2 ของนักวิจัยวัฒนธรรม - จิตรกรฟานเกิ๋มเถืองที่เปิดตัวสู่สายตาผู้อ่านเมื่อเร็วๆนี้ได้แนะนำวัฒนธรรมและประเพณีของเกษตรกรเวียดนามในช่วง 30 ปีปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงปี 1960-1970 ของศตวรรษที่ 20 เพื่อช่วยให้ผู้อ่านมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับวิถีชีวิตวัฒนธรรมในชุมชนหมู่บ้านของชาวเวียดนามอย่างถ่องแท้และมีชีวิตชีวา
หนังสือที่เก็บรักษาประเพณีชีวิตของคนเวียดนาม - ảnh 1 นักวิจัยวัฒนธรรม-จิตรกรฟานเกิ๋มเถืองและหนังสือเรื่อง “เติบตุกเด่ยเหงื่อย”(Photo Thanhnien.vn)

หนังสือเรื่อง “เติบตุกเด่ยเหงื่อย” คือผลการวิจัยเป็นเวลาหลายปีของนักวิจัยวัฒนธรรม-จิตรกรฟานเกิ๋มเถือง ซึ่งมี 6 ตอน ที่แนะนำเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณีของเกษตรกรเวียดนามได้แก่ ความนิยม 4 อย่างของเกษตรกรเวียดนาม บรรยากาศชีวิตชุมชน 4 ฤดูและเทศกาล ความเลื่อมใสและศาสนา อาหารการกินและการแต่งกาย และตอนชีวิตในอดีตและปัจจุบัน การวิจัยเน้นถึงช่วง 30 ปีปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงปี 1960-1970 ของศตวรรษที่ 20 เพราะในช่วงเวลานั้น สังคมเวียดนามมีการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งเนื่องจากการปรากฎตัวของกระแสทุนนิยมจากฝ่ายตะวันตกในสังคมศักดินายุคราชวงศ์เหงียนทำให้เกษตรกรเวียดนามต้องย้ายมาอาศัยในตัวเมือง และต้องปรับตัวให้คุ้นเคยกับวิถีชีวิตใหม่ ในการอธิบายเกี่ยวกับการเขียนหนังสือเล่มที่ 2 นี้ นักวิจัยวัฒนธรรมฟานเกิ๋มเถืองเผยว่า เขาได้เขียนหนังสือเล่มที่ 1 คือ “วันมิงห์เหวิดเจิ๊ดกั๋วเหงื่อยเวียด”หรืออารยธรรมทางวัตถุของชาวเวียดที่แนะนำเกี่ยวกับเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวันของเกษตรกรเวียดนาม เช่น บ้านเรือน ยานพาหนะ เครื่องมือเกษตรหรือเครื่องดนตรี ดังนั้นเล่มที่ 2 นี้เขาได้พูดถึงอารยธรรมทางจิตวิญญาณของเกษตรกรเวียดนาม นั่นคือกิจวัตรประจำวัน ประเพณีด้านความเลื่อมใส ศาสนา งานเทศกาลหรือพิธีกรรมต่างๆที่มิใช่กฎระเบียบหรือกฎหมายหากเป็นความเคยชินจากการปฏิบัติกันเป็นเวลานานจนกลายเป็นขนบธรรมเนียมที่อาจจะได้รับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง อาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือถูกยกเลิก

หนังสือที่หนา 600 หน้ากระดาษนี้เขียนในรูปแบบผสมระหว่างการเล่าเรื่องและการเรียบเรียงข้อมูลวิจัย นักวิจัยฟานเกิ๋มเถืองเผยว่า            “ในหนังสือเล่มนี้ ผมไม่ได้ทำสถิติหรือระบุรายการประเพณีต่างๆเหมือนเล่มก่อน ผมได้เลือก 2 ประเพณีที่เป็นตัวอย่างคืองานศพและการแต่งงานเพื่อวิเคราะห์ว่า สองงานนี้มีความหมายอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรตามกาลเวลาและการเปลี่ยนแปลงนั้นได้รับผลกระทบจากอะไรบ้าง วัตถุประสงค์ของหนังสือเล่มนี้คือพูดถึงการเติบโตของมนุษย์ท่ามกลางขนบธรรมเนียมประเพณีและขนบธรรมเนียมประเพณีนั้นได้ส่งผลอย่างไรถึงการพัฒนาในอนาคต”

นักวิจัยฟานเกิ๋มเถืองได้อ้างข้อมูลจากการวิจัยมานุษยวิทยาเพื่อช่วยให้ผู้อ่านมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากขึ้นเกี่ยวกับที่ไปที่มาของขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆที่เกษตรกรเวียดนามยังคงปฏิบัติในเวลาที่ผ่านมา            “ผมทำการศึกษาวิจัยประเพณีในหมู่บ้านต่างๆและประเพณีของชนกลุ่มน้อยเพื่อเปรียบเทียบกับชาวกิงเพราะเวียดนามมีกลุ่มชาติพันธุ์ 54 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีทั้งประเพณีที่แตกต่างและเหมือนกันในระบบวัฒนธรรมที่หลากหลายของคนเวียดนามนาม ในหนังสือเล่มนี้ ผมได้เลือกเขียนเกี่ยวกับงานศพและงานแต่งงานของชนกลุ่มน้อยเผ่าใหญ่ๆ เช่น เหมื่อง ไทดำและไต่เพื่อสะท้อนให้เห็นความเลื่อมใสที่แตกต่างกัน ความคิดและวิถีชีวิต”

แม้เป็นผลการวิจัยด้านวัฒนธรรมแต่หนังสือเรื่อง “เติบตุกเด่ยเหงื่อย” สามารถเข้าถึงผู้อ่านได้ง่ายเพราะผู้เขียนได้ใช้คำศัพท์เรียบง่ายใกล้ชิดกับผู้อ่าน แม้เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์แต่หนังสือเล่มนี้ไม่เล่าถึงประวัติศาสตร์ในราชวงศ์ต่างๆ ไม่เล่าถึงสงครามและปัญหาการเมือง จึงได้รับคำชื่นชมจากนักวิจัยคนอื่นๆว่า เป็นผลงานวิจัยวัฒนธรรมเวียดนามที่มีคุณค่าเป็นอย่างมาก นักวิจารณ์มายแองต๊วนได้ให้ข้อสังเกตว่า หนังสือเรื่องนี้ได้ช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงประวัติศาสตร์ผ่านมุมมองและความคิดใหม่โดยความเห็นและข้อมูลเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีที่น่าสนใจในหนังสือเรื่องนี้ของนักวิจัยฝานเกิ๋มเถืองได้สะท้อนให้เห็นว่า ชาวบ้านคือผู้อนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของตนได้ยั่งยืนที่สุดเพราะสำหรับพวกเขา ขนบธรรมเนียมประเพณีสามารถเอาชนะแนวคิดวัฒนธรรมจากภายนอกที่เข้าแทรกแซงในวิถีชีวิต.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด