อนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลปี๑๙๘๒เป็นรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับมหาสมุทร

(VOVworld) – วันที่๑๐ธันวาคมเป็นวันครบรอบ๓๐ปีการลงนามอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับ กฏหมายทางทะเลปี๑๙๘๒ โอกาสนี้ ท่านHồ Xuân Sơn รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและหัวหน้าคณะกรรมการชายแดนแห่งชาติ แห่งกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้มีบทความพาดหัวว่า“อนุสัญญาสหประชาชาติ เกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลปี๑๙๘๒เป็นรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับมหาสมุทร”โดยระบุคุณ ค่าของอนุสัญญาและการปฏิบัติตามอนุสัญญาฉบับนี้อย่างเคร่งครัดของเวียดนาม

อนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลปี๑๙๘๒เป็นรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับมหาสมุทร - ảnh 1
(VOVworld) – วันที่๑๐ธันวาคมเป็นวันครบรอบ๓๐ปีการลงนามอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลปี๑๙๘๒ โอกาสนี้ ท่านHồ Xuân Sơn รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและหัวหน้าคณะกรรมการชายแดนแห่งชาติแห่งกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้มีบทความพาดหัวว่า“อนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลปี๑๙๘๒เป็นรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับมหาสมุทร”โดยระบุคุณค่าของอนุสัญญาและการปฏิบัติตามอนุสัญญาฉบับนี้อย่างเคร่งครัดของเวียดนาม

บทความระบุว่า เมื่อ๓๐ปีก่อน ณ อ่าวมอนเตโก้ ประเทศจาไมก้า ๑๐๗ประเทศ รวมทั้งเวียดนามได้ลงนามอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลหรือUNCLOS ปี๑๙๘๒ซึ่งเป็นนิมิตรหมายความสำเร็จของการประชุมสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลครั้งที่๓โดยมีกว่า๑๕๐ประเทศ องค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ รวมทั้งองค์การเอกชนเข้าร่วม  อนุสัญญาฉบับนี้เป็นเอกสารระหว่างประเทศรวม๓๒๐มาตราและ๙ภาคผนวกที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่๑๖พฤศจิกายนปี๑๙๙๔ เป็นหนึ่งในอนุสัญญาระหว่างประเทศที่มีความสำคัญที่สุดของศตวรรษที่๒๐และเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ได้รับการเผยแพร่ใน๑๖๔ประเทศสมาชิก อนุสัญญาฉบับนี้ระบุถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องถึงเขตทะเลของประเทศริมฝั่งทะเลและปัญหาที่เกี่ยวข้องถึงการใช้ประโยชน์ในเขตทะเลสากลและพื้นที่ใต้มหาสมุทร รวมทั้งปัญหาขั้นพื้นฐานที่ได้รับการระบุในเนื้อหาของสนธิสัญญา เช่น ระเบียการทางนิตินัยของเขตทะเลในอธิปไตย อำนาจอธิปไตย ขอบเขตอำนาจกฏหมายของประเทศซึ่งประกอบด้วย เขตน่านน้ำภายใน เขตทะเล เขตน่านน้ำติดกับทะเลสากล เขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีป ระเบียบการทางนิตินัยของเขตทะเลสากล พื้นที่ใต้มหาสมุทรซึ่งเป็นมรดกของมนุษยชาติ การใช้และบริหารทรัพยากรณ์ทางทะเล ได้แก่ ทรัพยากรสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์และความมั่นคงและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในทะเล         ท่านHồ Xuân Sơn เผยว่า เวียดนามเป็น๑ใน๑๐๗ประเทศที่ได้ให้ภาคียานุวัติอนุสัญญาในวันลงนามเอกสารฉบับนี้ เมื่อวันที่๒๑มิถุนายนปี๑๙๙๔ รัฐสภาเวียดนามได้ออกมติเกี่ยวกับการให้สัตยาบันเอกสารฉบับนี้ ซึ่งข้อ๑ของมติฉบับนี้ระบุว่า “การให้สัตยาบันอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลปี๑๙๘๒ ได้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามที่จะร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศสร้างระเบียบการทางนิตินัยที่ยุติธรรม ส่งเสริมการพัฒนาและความร่วมมือในทะเล”   การที่เวียดนามเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาฉบับนี้มีความหมายอันยิ่งใหญ่เพราะอนุสัญญาฉบับนี้เป็นพื้นฐานทางนิตินัยสากลที่รับรองเขตทะเล เขตเศรษฐกิจจำเพาะ ไหล่ทวีป และสิทธิผลประโยชน์อันชอบธรรมของเวียดนามในทะเล การเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาช่วยให้เวียดนามได้รับการรับรองจากนานาชาติเกี่ยวกับเขตน่านน้ำ๑๒ไมล์ทะเล เขตเศรษฐกิจจำเพาะ ๒๐๐ไมล์ทะเล ไหล่ทวีปกว้างอย่างน้อย๒๐๐ไมล์ทะเลและอาจจะขยายออกไปอีก๓๕๐ไมล์ทะเลนับตั้งแต่เส้นฐาน อีกทั้งเป็นพื้นฐานทางนิตินัยสากลให้แก่การกำหนดเส้นแบ่งพรมแดนในเขตทะเลที่ทับซ้อนระหว่างเวียดนามกับประเทศริมฝั่งทะเลตะวันออกเพื่อมีส่วนร่วมสร้างบรรยากาศที่มีเสถียรภาพ สันติภาพ ความร่วมมือและการพัฒนาในภูมิภาค

อนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลปี๑๙๘๒เป็นรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับมหาสมุทร - ảnh 2
เวียดนามเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลหรือUNCLOS ปี๑๙๘๒ (Photo:Internet )

            ท่านHồ Xuân Sơn เผยต่อไปว่า ในหลายปีที่ผ่านมา เวียดนามได้ประยุกต์ใช้อนุสัญญาในการเจรจาเพื่อกำหนดเส้นแบ่งพรมแดนในเขตทะเล และไหล่ทวีปที่ทับซ้อนระหว่างเวียดนามกับประเทศริมฝั่งทะเลตะวันออก เช่น กำหนดเส้นแบ่งพรมแดนในทะเลกับไทยเมื่อปี๑๙๙๗ กำหนดเส้นแบ่งพรมแดนในเขตน่านน้ำ เขตเศรษฐกิจจำเพาะ และไหล่ทวีปในอ่าวทะเลตะวันออกกับจีน เมื่อปี๒๐๐๐ กำหนดเส้นแบ่งพรมแดนไหล่ทวีปกับอินโดนีเซียเมื่อปี๒๐๐๓  ๑๘ปีหลังการให้สัตยาบันอนุสัญญา เมื่อวันที่๒๑มิถุนายนที่ผ่านมา ที่ประชุมรัฐสภาเวียดนาม ครั้งที่๓ สมัยที่๑๓ได้อนุมัติกฏหมายทางทะเลเวียดนามฉบับแรกโดยระบุระเบียบการทางนิตินัยของเขตทะล และเกาะแก่งในอธิปไตย อำนาจอธิปไตยและขอบเขตอำนาจกฏหมายของเวียดนามตามเนื้อหาของอนุสัญญาดังกล่าวซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญให้แก่ความเป็นเอกภาพในการบริหาร การใช้ประโยชน์ การปกป้อง และการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเล และเกาะแก่งของเวียดนาม การอนุมัติกฏหมายทะเลแสดงให้เห็นว่า เวียดนามเป็นสมาชิกที่มีความรับผิดชอบในประชาคมระหว่างประเทศ ปฏิบัติและให้ความเคารพกฏหมายสากล อีกทั้งแสดงความตั้งใจของเวียดนามพยายามเพื่อสันติภาพ เสถียรภาพ ความร่วมมือและการพัฒนาในภูมิภาคและโลก

อนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลปี๑๙๘๒เป็นรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับมหาสมุทร - ảnh 3
หมู่เกาะHoàng Sa หรือพาราเซและ Trường Saหรือเสปรตลี่ของเวียดนาม(Photo:Internet )

            ในหลายปีที่ผ่านมา สถานการณ์ทะเลตะวันออกมีความซับซ้อน แนวทางของพรรคและรัฐเวียดนามคือให้ความเคารพและปฏิบัติตามอนุสัญญาอย่างเคร่งครัด ประยุกต์ใช้อนุสัญญาเพื่อแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออกอย่างสันติบนพื้นฐานของการให้ความเคารพเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และให้ความเคารพผลประโยชน์ของประเทศที่เกี่ยวข้อง  ในขณะที่แสวงหามาตรการขั้นพื้นฐานและยาวนานให้แก่ปัญหาทะเลตะวันออก ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องควรอดกลั้นไม่ทำให้สถานการณ์มีความซับซ้อนยิ่งขึ้นและปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของอนุสัญญา เวียดนามยืนหยัดแนวทางต่างประเทศที่เอกราช เป็นตัวของตัวเอง มีความสัมพันธ์หลายรูปแบบและหลายฝ่าย ต่อสู้เพื่อปกป้องอธิปไตยในทะเล และเกาะแก่งด้วยพลังที่เข้มแข็งแบบเบ็ดเสร็จ ยืนหยัดแก้ไขการพิพาทและปัญหาที่เกิดขึ้นในทะเลตะวันออกอย่างสันติบนพื้นฐานกฏหมายสากล โดยเฉพาะ อนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลปี๑๙๘๒ เวียดนามกำลังแสดงให้เห็นว่า เป็นสมาชิกที่มีความรับผิดชอบของอนุสัญญา ประยุกต์ใช้อนุสัญญาเพื่อสร้างระเบียบการทางนิตินัยที่ยุติธรรมและค้ำประกันสิทธิผลประโยน์ที่ชอบธรรมของประเทศต่างๆ./.

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด