ชนเผ่า Khmer ในเวียดนาม

(VOVworld)- ชนเผ่าขะแมร์หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าชนเผ่าเขมรในเวียดนามมีประชากรประมาณ1.3ล้านคนและส่วนใหญ่อาศัยในเขตภาคใต้เช่นที่จ.จ่าวิง ซ๊อกจัง เกียนยาง อานยาง บากเลียว เป็นต้น โดยชีวิตของชนเผ่าเขมรได้ผูกพันธ์กับการปลูกข้าวนาดำและงานหัตถกรรม ในด้านชีวิตจิตใจ ชนเผ่าเขมรก็มีคลังวัฒนธรรมที่หลากหลายทั้งเรื่องเล่าและสถาปัตยกรรมของวัดวาอารามต่างๆ ตลอดจนงานเทศกาลที่มีเอกลักษณ์


(VOVworld)- ชนเผ่าขะแมร์หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าชนเผ่าเขมรในเวียดนามมีประชากรประมาณ1.3ล้านคนและส่วนใหญ่อาศัยในเขตภาคใต้เช่นที่จ.จ่าวิง ซ๊อกจัง เกียนยาง อานยาง บากเลียว เป็นต้น โดยชีวิตของชนเผ่าเขมรได้ผูกพันธ์กับการปลูกข้าวนาดำและงานหัตถกรรม ในด้านชีวิตจิตใจ ชนเผ่าเขมรก็มีคลังวัฒนธรรมที่หลากหลายทั้งเรื่องเล่าและสถาปัตยกรรมของวัดวาอารามต่างๆ ตลอดจนงานเทศกาลที่มีเอกลักษณ์

ชนเผ่า Khmer ในเวียดนาม - ảnh 1
การแข่งเรืองอเป็นหนึ่งในเทศกาลที่โดดเด่นของชนเผ่าเขมรในภาคใต

แม้จะตั้งชุมชนอาศัยร่วมกับชนเผ่ากิงหรือฮัว แต่ชนเผ่าเขมรยังคงดำเนินชีวิตอย่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะด้วยการตั้งชุมชนหมู่บ้านที่เรียกว่า ฟุม-ซอก ใช้ภาษาในกลุ่มภาษามอญ-เขมร ประกอบอาชีพจับปลา ทอผ้า จักสาน ทำน้ำตาลโตนดและทำเซรามิกเป็นหลัก ส่วนในชีวิตประจำวันก็มีการทำน้ำพริกสูตรพิเศษจากกุ้งและปลาชนิดต่างๆซึ่งที่ขึ้นชื่อก็คือน้ำพริกปลาช่อน ปลาดุก ปลาลาย หรือกุ้งที่ผสมกับเกลือและข้าวคั่วบด

เนื่องจากอาศัยในพื้นที่ที่มีระบบคูคลองที่ซับซ้อนดังนั้นพาหนะที่ใช้สัญจรไปมาส่วนใหญ่เป็นเรือยาว โดยเฉพาะที่เห็นโดดเด่นคือเรืองอที่มีชื่อภาษาท้องถิ่นว่า ตวกมัว ที่ทำจากไม้โดยใช้เฉพาะในงานสำคัญคือเทศกาลไหว้พระจันทร์ อ๊อกออมบ๊อกในเดือนตุลาคมตามจันทรคติ

สำหรับชุดแต่งกายประจำชนเผ่านั้น เมื่อก่อนหนุ่มสาวเขมรมักจะนุ่งผ้าขาวม้าที่เป็นผ้าไหมที่พวกเขาทอเอง ส่วนผู้ใหญ่ใส่ชุดเสื้อบ่าบาและกางเกงสีดำ ซึ่งหากใครมีฐานะหน่อยก็อาจจะใส่ชุดสีขาว

ชนเผ่า Khmer ในเวียดนาม - ảnh 2
สาวชนเผ่าเขมรในภาคใต้เวียดนาม

เรื่องชีวิตจิตใจของชนเผ่าเขมรในภาคใต้เวียดนามนั้นก็มีความหลากหลายโดยเฉพาะงานเทศกาลต่างๆและที่โดดเด่นคือเทศกาลปีใหม่ ชอลชะนำทะไม และเทศกาลไหว้พระจันทร์ อ๊อกออมบ๊อก ซึ่งจะมีการจัดการแข่งเรืองอและการแสดงศิลปะการกีฬาต่างๆ นาย เจาออน จากสถาบันพุทธศาสตร์นามตงเขมรได้กล่าวถึงเอกลักษณ์ของงานเทศกาลสำคัญนี้ว่า“การต้อนรับปีใหม่ของชนเผ่าเขมรแตกต่างกับชาวเวียดทั่วไปโดยจะนับตามพระอาทิตย์คือมีขึ้นตามวันเวลาที่ โฮราจา หรือคนที่ดูดาวได้บันทึกไว้ เป็นเวลายุติฤดูกาลเพื่อเข้าสู่ฤดูใหม่ โดยจะมีการตีกลองตีฆ้องและอันเชิญพระพุทธรูป ณ วัดต่างๆ”

ประชาชนชนเผ่าเขมรในภาคใต้นับถือศาสนาพุทธนามตงซึ่งสะท้อนให้เห็นเด่นชัดที่สุดจากศิลปะและสถาปัตยกรรมของสถูปเจดีย์ นอกจากนี้เมื่อยังเด็กชนเผ่าเขมรยังได้รับการอบรมหลักพระธรรมของพุทธศาสนาและวัฒนธรรมในวัดจนกว่าจะเติบโตและสามารถดำเนินชีวิตในสังคม พระมหาเถระ ยางแทง เจ้าอาวาสวัด ชรอย ตนซา ต.กิมเซิน อ.จ่ากู๊ จ.จ่าวิงเผยว่า นอกจากเรียนหนังสือแล้วเด็กๆยังได้เรียนเรื่องคุณธรรมการปฏิบัติต่อผู้ใหญ่และประเพณีวัฒนธรรมของชนเผ่า พร้อมทั้งสอนให้เด็กๆรู้จักการร้องรำทำเพลงและชุดแต่งกายเพื่อการส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน

ในกระบวนการพัฒนาสังคม วัฒนธรรมของชนเผ่าเขมรในภาคใต้เวียดนามได้มีการผสมผสานอย่างกลมกลืนและเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงอันเป็นการมีส่วนร่วมสร้างเสริมความหลากหลายให้แก่คลังวัฒนธรรมของ54ชนเผ่าพี่น้องของเวียดนาม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด