ชนเผ่าซ๊านจี๋กับกระบวนการอนุรักษ์เพลงพื้นเมือง

(VOVworld)- ชนเผ่าซ๊านจี๋เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีคลังวัฒนธรรมพื้นเมืองที่หลากหลายและมีอัตลักษณ์มากที่สุดในครอบครัวใหญ่54ชนเผ่าเวียดนาม  โดยเพลงพื้นเมืองของชาวซ๊านจี๋นั้นมีคุณค่าพิเศษ เสมือนสายธารแห่งวัฒนธรรมศิลปะที่ช่วยบ่มเพาะจิตใจให้งดงามตั้งแต่เกิดไปจนถึงวันที่ต้องจากไป ปัจจุบันนี้แม้จะถูกผลกระทบของวัฒนธรรมและกระแสสังคมสมัยใหม่แต่เพลงพื้นเมืองเหล่านั้นยังคงทรงพลังชีวิตในชุมชนของชาวซ๊านจี๋ในท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศ


(VOVworld)- ชนเผ่าซ๊านจี๋เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีคลังวัฒนธรรมพื้นเมืองที่หลากหลายและมีอัตลักษณ์มากที่สุดในครอบครัวใหญ่54ชนเผ่าเวียดนาม  โดยเพลงพื้นเมืองของชาวซ๊านจี๋นั้นมีคุณค่าพิเศษ เสมือนสายธารแห่งวัฒนธรรมศิลปะที่ช่วยบ่มเพาะจิตใจให้งดงามตั้งแต่เกิดไปจนถึงวันที่ต้องจากไป ปัจจุบันนี้แม้จะถูกผลกระทบของวัฒนธรรมและกระแสสังคมสมัยใหม่แต่เพลงพื้นเมืองเหล่านั้นยังคงทรงพลังชีวิตในชุมชนของชาวซ๊านจี๋ในท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศ

ตามความเห็นของบรรดานักวิจัยค้นคว้าวัฒนธรรมพื้นเมือง เพลงพื้นเมืองของชนเผ่า ซ๊านจี๋ หรือที่เรียกว่า “Cnắng Cọô” เป็นหนึ่งในศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานที่สุด เป็นเพลงแบบโต้ตอบระหว่างชายหญิงเหมือนเพลงพื้นเมืองทำนองวี้และหยัม เพลงโจ๊งกวน เพลงพื้นเมืองกวานเหาะของชาวกิง เพลงพื้นเมืองทำนองสลีและเหลือนของชนเผ่าไต่และหนุ่ง ไม่สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของเพลงพื้นเมืองนี้รู้แต่ว่าชาวซ๊านจี๋ได้สืบสาน ถ่ายทอด อนุรักษ์และส่งเสริมพัฒนาในชีวิตสังคมมารุ่นแล้วรุ่นเล่า นายเจิ่นวันถวี หนึ่งในผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถร้องเพลงพื้นเมือง“Cnắng Cọô”อย่างไพเราะได้กล่าวด้วยความภูมิใจว่า เนื้อเพลงมีความหมายที่ดีงาม บ่งบอกถึงความรักและชีวิตที่สันติสุขดังนั้นมักจะได้รับการแสดงในงานรื่นเริง งานแต่งงาน หรืองานมงคลต่างๆ โดยมีแบบร้องกลางวันที่ใช้ลีลาช้าๆ การร้องยามราตรี การร้องเพื่ออวยพรให้ผู้หลักผู้ใหญ่มีอายุยืนนาน หรืออวยพรให้ครอบครัวที่มีสมาชิกใหม่”

ชนเผ่าซ๊านจี๋กับกระบวนการอนุรักษ์เพลงพื้นเมือง - ảnh 1
การแสดงเพลงพื้นเมืองของชาวซ๊านจี๋(Trung ha)

ตามข้อมูลที่บรรดานักวิจัยได้รวบรวม ปัจจุบันชาวซ๊านจี๋ยังคงอนุรักษ์เพลงพื้นเมืองของชนเผ่าตนได้ประมาณ500เพลงที่เป็นแบบร้องกลางวัน สำหรับแบบร้องยามราตรีก็มีประมาณ1000เพลงและเพลงร้องในงานวิวาห์ก็มีเป็นร้อยเพลง เพลงพื้นเมืองของชาวซ๊านจี๋ไม่เพียงแต่ได้รับการเผยแพร่ในหมู่เยาวชนเท่านั้นหากรวมถึงผู้ใหญ่วัยกลางคนหรือผู้สูงอายุก็มีความหลงไหลเนื่องจากเพลงเสมือนสายธารแห่งหัวใจที่สะท้อนความรักความปรารถนาออกมา ด้วยคุณค่าและพลังชีวิตที่ยั่งยืนของเพลงพื้นเมืองของชนเผ่าซ๊านจี๋ ปี2012 ทางกระทรวงวัฒนธรรม กีฬาและท่องเที่ยวเวียดนามได้ประกาศให้ระบุเพลงพื้นเมืองนี้เข้าในรายชื่อมรดกวัฒนธรรมนามธรรมแห่งชาติ  อย่างไรก็ดีผู้ที่รู้จักการขับร้องและเข้าใจเนื้อหาของเพลงนั้นมีไม่มาก ดังนั้นทางการต.เกียนลาว อ.หลุกหงาน จ.บั๊กยาง ซึ่งเป็นหนึ่งในท้องถิ่นที่มีชุมชนชนเผ่าซ๊านจี๋อาศัยได้ตระหนักดีถึงการวางแผนการอนุรักษ์ นายหลีห่งเวียน หัวหน้าคณะกรรมการแนวร่วมปิตุภูมิหมู่บ้านเหาะต.เกียนลาวเผยว่า“เพลงพื้นเมืองซ๊านจี๋ได้รับการรับรองเป็นมรดกนามธรรมของชาติ ซึ่งต้องร่วมกันอนุรักษ์ให้คงอยู่ต่อไปโดยเราได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความเข้าใจ จัดตั้งสโมสรเพื่อเผยแพร่เพลงพื้นเมืองในชุมชนโดยเฉพาะให้เยาวชนได้รับทราบและฝึกร้องเพลงพื้นเมืองของชนเผ่าตนได้”

เมื่อกล่าวถถึงกระบวนการอนุรักษ์เพลงพื้นเมืองของชนเผ่าในยุคปัจจุบัน นายเจิ่นวันถวี เผยว่าตั้งแต่ปี1982เขาได้ร่วมในคณะศิลปะเดินทางไปแสดงตามท้องถิ่นต่างๆทั้งในภาคเหนือและภาคใต้เพื่อแนะนำเพลงพื้นเมืองซ๊านจี๋ นอกจากนั้นเขายังเปิดสอนฟรีให้เยาวชนในท้องถิ่นด้วยความหวังว่าจะมีผู้สืบสานและพัฒนาเอกลักษณ์วัฒนธรรมนี้ต่อไป“ผมได้ไปหลายที่แล้วเห็นชนเผ่าอื่นๆเขาได้พยายามอนุรักษ์วัฒนธรรมของตนไว้อย่างดี เราก็คิดถึงวัฒนธรรมของเราบ้างถ้าไม่มีการสอนให้ชนรุ่นใหม่รู้จักอีกไม่นานก็จะสูญหายไปดังนั้นผมจึงเปิดสอนร้องเพลงพื้นเมืองซ๊านจี๋ในหมู่บ้านและอยากชักชวนให้ชาวบ้านสนับสนุนและร่วมแรงร่วมใจกัน เมื่อปีที่แล้วก็มีเด็ก8คนมาเรียนกับผมในช่วงพักร้อน ผมตระหนักดีว่าเมื่อไหร่ยังมีแรงที่จะทำก็จะพยายามต่อไป”

เพลงพื้นเมืองเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าซ๊านจี๋ที่เกิดจากกระบวนการผลิตและการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า ดังนั้นไม่เพียงแต่นายเจิ่นวันถวี ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถร้องเพลงพื้นเมืองเท่านั้นหากพี่น้องชนเผ่าซ๊านจี๋ต่างก็มีความเชื่อมั่นในสายธารแห่งวัฒนธรรมของชนเผ่าตนที่จะได้พัฒนาไปตลอดกาลว่า “หากยังมีชุมชนชนเผ่าซ๊านจี๋เพลงพื้นเมืองของชนเผ่าก็จะพัฒนาคงอยู่ต่อไป”.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด