นาบันได หว่างซูฝี่ สุดยอดผลงานแห่งความสร้างสรรค์ของชนกลุ่มน้อย
To Tuan-VOV5 -  
(VOVWORLD) -ถ้ามีโอกาสเยือนอ.หว่างซูฝี่ซึ่งอยู่ในเขตเขาสูงที่ชายแดนของจังหวัดฮายางในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว นักท่องเที่ยวจะต้องทึ่งไปกับความงามของธรรมชาติของนาขั้นบันไดที่แสงตะวันสาดทอต้นข้าวสีเหลืองอร่ามงามตาบนท้องทุ่งนา นอกจากนั้นท่านยังได้มีโอกาสศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆที่อาศัยในเขตเขาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือนี้ของเวียดนาม ซึ่งเป็นเจ้าของผลงานแห่งความสร้างสรรค์กลางธรรมชาตินี้
นาขั้นบันไดคือรูปแบบการผลิตเกษตรบนพื้นที่ภูดอยของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆในหลายประเทศรวมทั้งที่เวียดนาม โดยอ.หว่างซูฝี่เป็นท้องถิ่นชายแดนในเขตเขาสูงของจังหวัดฮายาง ซึ่งเป็นถิ่นพำนักของ12ชนเผ่าและเป็นแหล่งทัศนียภาพนาบันขั้นไดที่สวยงามที่สุดของของเวียดนาม ทั้งอ.มีหมู่บ้านชนกลุ่มน้อยเผ่าไต หนุ่ง เย้า ม้ง และอื่นๆ25แห่ง ซึ่งเป็นเจ้าของผลงานความสร้างสรรค์กลางธรรมชาตินี้ ซึ่งถึงแม้ยังไม่มีข้อมูลที่ระบุว่ากลุ่มชาติพันธุ์ใดเป็นผู้คิดค้นวิธีการทำนาพิเศษนี้ แต่ตามเรื่องเล่าขานของชาวเผ่าลาชี้ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยในพื้นที่เขตเขาสูงสุดที่หว่างซูฝี่นั้นก็มีหลายตำนานที่ลี้ลับเกี่ยวกับความเป็นมาของนาบันได นาย เวืองวันมิงห์ผู้สูงอายุของชนเผ่าลาชี้เผยว่า
“เมื่อก่อนนี้ชุมชนเผ่าลาชี้ได้ตั้งหลักอาศัยในพื้นที่สูงกว่า ซึ่งชีวิตความเป็นอยู่ลำบากมาก ต้องทำกินแบบเลื่อนลอย ชาวบ้านก็ช่วยกันคิดปรับปรุงที่ดินเพื่อทำนาปลูกข้าวปลูกถั่วเพื่อดำรงชีวิต แต่พื้นที่ราบมีน้อยในขณะที่คนเยอะเลยคิดวิธีการทำนาบันไดแบบนี้ขึ้นมา”
นี่เป็นคำเล่าขานของผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ส่วนจากร่องรอยที่ค้นพบ จากประเพณีวัฒนธรรมที่ยาวนานของชนกลุ่มน้อยต่างๆที่ตั้งหลักอาศัยในเขตนี้ปรากฎว่า การที่จะสามารถสร้างนาบันไดนับร้อยขั้นนั้นก็ต้องใช้เวลาเป็นร้อยๆปีและต้องผ่านหลายชั่วคนถึงจะทำได้ดังที่เห็นในปัจจุบัน นาย เจิ่นชี้เญิน เจ้าหน้าที่ฝ่ายวัฒนธรรมของอำเภอหว่างซูฝี่เผยว่า
“นาบันไดหว่างซูฝี่เป็นผลงานการสร้างสรรค์ของชาวบ้านที่มีมาเป็นร้อยๆปี ซึ่งสภาพนาบันไดของที่นี่มีความแตกต่างกับที่อื่นตรงที่ว่าที่นี่มีการผสมผสานอย่างกลมกลืนระหว่างนากับป่าและลำธารรวมทั้งมีการสร้างบ้านเรือนใกล้ทุ่งนาเพื่อสะดวกในการผลิตดูแล และการทำนาบันไดนั้นก็ได้ทำให้เกิดประเพณีวัฒนธรรมด้านความเลื่อมใสที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรเช่น งานเทศกาล คูกู่เต ของชนเผ่าลาชี้ พิธีเกิ๊บซัก ขอฝน เต้นไฟ ของชนเผ่าเย้าแดง เทศกาลโหล่งโหต่ง แรกนาขวัญของเผ่าไต เป็นต้น”
กาลเวลาได้ผ่านพ้นไป นาขั้นบันไดไม่เพียงแต่ช่วยชาวบ้านดำรงชีวิตอย่างมั่นคงเท่านั้นหากยังถือเป็นสมบัติที่ครอบครัวต่างๆมอบให้แก่ลูกหลานเมื่อแต่งงานมีครอบครัวจนกลายเป็นประเพณีที่แฝงไว้วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชนเผ่าอย่างเด่นชัดและเป็นวิถีชีวิตส่วนหนึ่งที่ขาดมิได้ของชนเผ่าเขตเขาต่างๆทางภาคเหนือของเวียดนาม.
To Tuan-VOV5