อาชีพคล้องช้างป่าของชาวเมอนง

(VOVworld)-ในชุมชนชนเผ่าต่างๆที่อาศัยในเขตเตยเงวียน ชนเผ่าเมอนงมีชื่อเสียงในอาชีพการจับและคล้องช้างป่า ซึ่งสำหรับชาวเมอนงช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองและมีความสำคัญในชีวิตวัฒนธรรมและจิตใจของทุกครอบครัวดังนั้นงานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับช้างต่างต้องดำเนินไปตามประเพณีของชนเผ่าอย่างเคร่งครัด


(VOVworld)-ในชุมชนชนเผ่าต่างๆที่อาศัยในเขตเตยเงวียน ชนเผ่าเมอนงมีชื่อเสียงในอาชีพการจับและคล้องช้างป่า ซึ่งสำหรับชาวเมอนงช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองและมีความสำคัญในชีวิตวัฒนธรรมและจิตใจของทุกครอบครัวดังนั้นงานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับช้างต่างต้องดำเนินไปตามประเพณีของชนเผ่าอย่างเคร่งครัด

อาชีพคล้องช้างป่าของชาวเมอนง - ảnh 1

ข้อมูลที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์จังหวัดดั๊กลั๊กได้แสดงให้เห็นว่า นาย อี ทู เกอ นูล หรือยังมีอีกชื่อว่า คูซานุป เป็นผู้ริเริ่มอาชีพการจับและคล้องช้างป่าของชาวเมอนง โดยในสมัยที่นายคูซานุปยังมีชีวิตอยู่(1827-1937)เขาสามารถจับช้างป่าได้เกือบ500เชือกจนได้รับการยกย่องนับถือจากชาวบ้านให้เป็นหมอช้างเตยเงวียน นาย ด่าวมิงหงอก เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์จังหวัดดั๊กลักเผยว่า “อาชีพจับและคล้องช้างป่ามีความผูกพันธ์กับชาวเมอนงมาแต่โบราณ โดยเมื่อก่อนนี้พวกเขาจะใช้ช้างบ้าน5-6เชือกพร้อมคน10คนที่มีประสบการณ์เข้าร่วมการจับช้างด้วยเชือกปะกำโดยจะจับแต่ช้างที่มีอายุ2-4ปีเพราะสามารถเลี้ยงและควบคุมง่าย

เมื่อจับช้างป่าตัวน้อยมาได้ชาวบ้านก็จะนำไปให้ควาญช้างที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงช้าง คล้องช้างรับหน้าที่ควบคุมช้างซึ่งอาจจะใช้เวลา5-7ปีแล้วแต่ช้างแต่ละตัว เมื่อช้างสามารถเข้าใจและปฏิบัติตามคำสั่งแล้วก็จะให้เข้าหมู่บ้านเพื่อทำพิธีเข้าบ้านให้กับช้างเหมือนเป็นสมาชิกคนใหม่ของหมู่บ้านโดยผู้ใหญ่บ้านจะสั่งสอนให้ลูกหลานเข้าใจว่า “ชีวิตช้างก็เหมือนชีวิตคน” ดังนั้นจะต้องดูแลปฏิบัติต่อช้างเหมือนสมาชิกในชุมชน

ปัจจุบันกฎหมายเวียดนามรวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปกป้องและอนุรักษ์สัตว์ป่าได้มีข้อกำหนดห้ามทำการจับช้างป่าแต่อาชีพคล้องช้างของชาวเมอนงยังคงได้รับการอนุรักษ์ต่อไป โดยขณะนี้ที่หมู่บ้านดง ต.เลียนเซิน อ.ลัค ยังเลี้ยงช้างกว่า50เชือกไว้เป็นเพื่อนช่วยงานในการผลิตและยังคงมีการดำเนินพิธีกรรมต่างๆเกี่ยวกับช้าง นายด่ามนังลอง สมาชิกในครอบครัวที่ประกอบอาชีพเป็นควาญช้างที่จังหวัดดั๊กลั๊กมา4รุ่นแล้วเผยว่า“สำหรับชนเผ่าเมอนงของเรา ช้างคือสัตว์ที่มีค่าทั้งด้านวัตถุและจิตใจ ซึ่งถ้าหากมาเตยเงวียนในหน้าฝนก็จะเห็นชาวบ้านทำพิธีเซ่นไหว้ช้างเพื่อบอกให้ช้างทราบว่าถึงฤดูที่ธรรมชาติได้บันดาลสิ่งต่างๆที่เป็นอาหารช้างที่อุดมสมบูรณ์ ส่วนเมื่อมาถึงหน้าแล้งก็จะทำพิธีเซ่นไหว้อีกครั้งเพื่อเเจ้งว่าฤดูที่อาหารตามธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์กำลังจะหมดแล้ว เป็นการให้กำลังใจช้างว่าต้องพยายามฝ่าฟันช่วงเวลาที่ลำบากนี้เพื่อรอให้ถึงฤดูอาหารต่อไป ซึ่งชาวเมอนงได้มีความผูกพันธ์กับช้างในทุกด้านของชีวิตสังคม

อาชีพคล้องช้างป่าของชาวเมอนง - ảnh 2

โขลงช้างป่าที่ผ่านฝีมือของควาญช้างในดั๊กลั๊กได้กลายเป็นสัญลัษณ์เฉพาะของชาวท้องถิ่นและช้างยังปรากฎตัวในทุกกิจกรรมของหมู่บ้านเช่น ช้างช่วยทำไร่ทำนา ขนส่งสินค้า ลากไม้สร้างบ้านหรือเป็นพาหนะพิเศษพานักท่องเที่ยวเที่ยวชมหมู่บ้านและดื่มด่ำบรรยากาศของป่าเขาเขตที่ราบสูงเตยเงวียน ซึ่งนักท่องเที่ยวไม่เพียงแต่จะได้ตื่นตาตื่นใจกับความงดงามของธรรมชาติของเตยเงวียนเท่านั้นหากยังได้ความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับเรื่องราวของช้างเตยเงวียนผ่านเรื่องเล่าของชาวบ้านอีกด้วย นายอีติงชาวหมู่บ้านจูน กล่าวว่า“เรารู้จักการดูแลและควบคุมช้างได้ดีจึงได้รับมอบช้างตัวนี้มาดูแลเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยว ช้างตัวนี้ชื่ออีมัม มีความหมายคือความสุข ซึ่งต้องเข้าใจนิสัยมันให้ดีถึงจะฝึกมันได้ เมื่อเดินทางในป่าจะให้กินใบไม้ แต่ที่บ้านจะให้กินกล้วย กินอ้อยและดื่มน้ำที่ผสมเกลือ ช้างจะอยู่กับเราไม่กลับเข้าป่าอีก ตอนเช้าเมื่อตื่นขึ้นมาจะต้องมองตากันเหมือนเป็นการทักทาย เมื่อมันป่วยก็ให้พักผ่อนและให้ยาและดูแลอย่างดี เรารักอีมัมมาก

ในหลายปีมานี้ในแนวโน้มแห่งการพัฒนาตัวเมือง พื้นที่ป่าธรรมชาตินับวันลดน้อยลง จำนวนช้างป่าก็เหลืออยู่ไม่มาก ประชาชนและทางการจังหวัดดั๊กลั๊กกำลังพยายามปฏิบัติมาตรการต่างๆเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาโขลงช้างเตยเงวียน โดยมีการจัดตั้งศูนย์อนุรักษ์ช้างที่อุทยานแห่งชาติยอร์คโดนตั้งแต่ปี2009ที่ใช้เงินทุนหลายแสนดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นศูนย์รวมแห่งความพยายามของทั้งรัฐและชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาโขลงช้างเท่านั้นหากยังมีส่วนร่วมยกระดับจิตสำนึกและหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกคนในสังคมในการร่วมแรงร่วมใจปกป้องช้างเตยเงวียนเสมือนเป็นมรดกวัฒนธรรมอันล้ำค่าให้แก่ชาวเตยเงวียน./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด