พัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลและเกาะแก่งอย่างยั่งยืน

(VOVworld) – ต้องทำเช่นไรเพื่อปฏิบัติเป้าหมายพัฒนาเวียดนามเป็นประเทศที่เข้มแข็งและ พัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนจากการใช้ประโยชน์ต่างๆของทะเลคือเนื้อหาหลักใน ฟอรั่มเศรษฐกิจทางทะเลเวียดนามครั้งที่ 4 ณ จังหวัดห่าติ๋ง (Hà Tĩnh) ในกรอบสัปดาห์ทะเลและเกาะแก่งเวียดนามปี 2013

(VOVworld) – ต้องทำเช่นไรเพื่อปฏิบัติเป้าหมายพัฒนาเวียดนามเป็นประเทศที่เข้มแข็งและพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนจากการใช้ประโยชน์ต่างๆของทะเลคือเนื้อหาหลักในฟอรั่มเศรษฐกิจทางทะเลเวียดนามครั้งที่ 4 ณ จังหวัดห่าติ๋ง (Hà Tĩnh) ในกรอบสัปดาห์ทะเลและเกาะแก่งเวียดนามปี 2013

พัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลและเกาะแก่งอย่างยั่งยืน - ảnh 1
การขนส่งทางทะเลนำรายได้ไม่น้อยการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

เวียดนามตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งทะเลตะวันออก มีชายฝั่งยาวกว่า 3.260 กิโลเมตร มีพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะกว่า 1 ล้านตารางกิโลเมตรและเกาะน้อยใหญ่กว่า 3 พันแห่ง รวมทั้งหมู่เกาะหว่างซา (Hoàng Sa) หรือพาราเซลและเจื่องซา (Trường Sa) หรือเสปรตลี เวียดนามยังเป็นหนึ่งใน 10 ประเทศที่มีชายฝั่งมากที่สุดเมื่อเทียบกับขนาดพื้นที่ของประเทศ ทั้งทางทิศตะวันออก ทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้จึงอำนวยความสะดวกต่อการแลกเปลี่ยนการค้ากับต่างประเทศ ในหลายปีที่ผ่านมา ควบคู่กับการยืนหยัดถึงความตั้งใจอันแน่วแน่ในการปกป้องอธิปไตยเหนือเกาะแก่งและทะเลแล้ว รัฐบาลเวียดนามยังให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลอย่างยั่งยืน ในการกล่าวปราศรัยในโอกาสสัปดาห์ทะเลและเกาะแก่งเวียดนามปี 2013 ท่าน หวู วัน นิง (Vũ Văn Ninh) รองนายกรัฐมนตรีได้เผยว่าเวียดนามมีทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์โดยมีทั้งจูลชีวัล สัตว์น้ำและทำเลดี ในเวลาที่ผ่านมา ทรัพยากรจากทะเลได้มีส่วนร่วมสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เศรษฐกิจทางทะเลและเขตริมฝั่งทะเลนับวันมีความเข้มแข็งมากขึ้นโดยคิดเป็นมูลค่าร้อยละ 48 ในจีดีพีของประเทศโดยเศรษฐกิจทางทะเลเป็นร้อยละ 22  หน่วยงานเศรษฐกิจทางทะเลที่สำคัญ เช่น ปีโตรเลี่ยม การเดินเรือทะเล สัตว์น้ำและการท่องเที่ยวต่างมีการขยายตัวในระดับสูง ทรัพยากรทางทะเลถูกใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพจึงส่งผลดีต่อการสร้างสรรค์ประเทศและคุณภาพชีวิตของประชาชน”

พัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลและเกาะแก่งอย่างยั่งยืน - ảnh 2
การพัฒนาเษศรษฐกิจทางทะเลคือพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาของเมืองท่าแห่งนี้

จากบทบาทสำคัญของเศรษฐกิจทางทะเล การประชุมครั้งที่ 4 สมัยที่ 10 ของคณะกรรมการกลางพรรคได้มีการอนุมัติมติเกี่ยวกับ “ยุทธศาสตร์ทางทะเลเวียดนามจนถึงปี 2020” โดยตั้งเป้าไว่ว่า จะนำเวียดนามกลายเป็นประเทศที่เข้มแข็งด้านทะเลและสร้างความร่ำรวยจากทะเล มีการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมกับการรักษาความมั่นคง การปกป้องประเทศและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีนโยบายเพื่อดึงดูดแหล่งพลังต่างๆให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเล ก่อสร้างศูนย์เศรษฐกิจใหญ่ๆในเขตริมฝั่งควบคู่กับการพัฒนากิจกรรมเศรษฐกิจทางทะเลเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญต่อการพัฒนาของประเทศ พยายามจนถึงปี 2020 เศรษฐกิจทางทะเลเป็นร้อยละ 53-55 ในจีดีพีและร้อยละ 55-60 ในมูลค่าการส่งออกของประเทศ แก้ไขปัญหาสังคมอย่างมีประสิทธิภาพและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่ประกอบอาชีพอาศัยทะเลและในเขตริมฝั่งให้ดีมากขึ้นซึ่งเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ เวียดนามมีแนวทางก่อสร้างท่าเรือนานาชาติระดับภูมิภาคและจัดตั้งเครือบริษัทเศรษฐกิจใหญ่ๆ ในการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเล เวียดนามเน้นพัฒนาแขนงงานต่างๆ เช่น การค้นหา สำรวจ ขุดเจาะและผลิตน้ำมัน แก๊ส ทรัพยากรทางทะเล แร่ธาตุ พัฒนาการเดินเรือ ท่าเรือ การต่อเรือและซ่อมแซมเรือ ยานพาหนะทางทะเลและบริการการเดินเรืออื่นๆพัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเลและเศรษฐกิจตามเกาะต่างๆ

เพื่อบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ทางทะเล เวียดนามกำลังพยายามในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ปัญหาน้ำทะเลหนุน แก้ไขปัญาหาต่างๆในการประกอบอาชีพประมงและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทะเลอย่างขาดความยั่งยืน ตามความเห็นของนาย เหงียนมิงกวาง (Nguyễn Minh Quang) รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม นี่คือปัญหาที่ต้องการความร่วมมือแบบบูรณการจากกระทรวงและหน่วยงาน นาย เหงียนมิงกวาง ได้ย้ำว่าในแนวโน้มพัฒนาอย่างยั่งยืน พวกเราต้องพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมให้กลมกลืนกัน รัฐได้พยายามมีปฏิบัติการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายบริหารและพัฒนาเกาะแก่งและทะเลเวียดนามอย่างยั่งยืน เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ พวกเราต้องเพิ่มความสมบูรณ์ให้นโยบายและกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเกาะแก่งและทะเล ปรับปรุงและเสริมสร้างกลไกการบริหารเกี่ยวกับเกาะแก่งและทะเลจากระดับส่วนกลางถึงส่วนภูมิภาค เน้นพัฒนาแหล่งบุคคลากรที่มีคุณภาพสูงเพื่อป้อนให้แก่หน่วยงานการบริหารทะเลและเกาะแก่ง ส่งเสริมพลังภายในประเทศและแสวงหาการช่วยเหลือจากนานาประเทศในการบริหารเกาะแก่งและทะเลอย่างมีประสิทธิภาพ”

ในสภาวะการณ์ที่เศรษฐกิจยังคงประสบอุปสรรค์มากมาย เมื่อเร็วๆนี้ นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติลงทุนพัฒนาในเขตเศรษฐกิจริมฝั่งทะเล 5 แห่งโดยใช้งบประมาณของรัฐในช่วงปี 2013-2015 คือเขตเศรษฐกิจ จูลาย (Chu Lai) – ยุงก๊วต(Dung Quất) ในจังหวัด กว๋างหงาย(Quảng Ngãi) เขตเศรษฐกิจดิ่งหวู(Đình Vũ) ในเมืองท่าไฮฟอง(Hải Phòng) เขตเศรษฐกิจ งีเซิน (Nghi Sơn) ในจังหวัดแทงหวา (Thanh Hóa) เขตเศรษฐกิจ หวุงอ๊าง(Vũng Áng)ในจังหวัด ห่าหติ๋ง  (Hà Tĩnh) เขตเศรษฐกิจฟู๊ก๊วก(Phú Quốc) และหมู่เกาะ นามอานเท้ย(Nam An Thới) การเน้นพัฒนาเขตเศรษฐกิจต่างๆดังกล่าวถือเป็นพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลอย่างรวดเร็วและเข้มแข็งในเวลาที่จะถึง./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด