การประชุมสุดยอดอียู–ความแตกแยกในการแก้ไขปัญหาวิกฤติในยูเครน

(VOVworld) –  สหภาพยุโรปหรืออียูจะปฏิบัติก้าวเดินต่อไปอย่างไรต่อการพิพาทในยูเครนที่ นับวันทวีความรุนแรงและจะมีการขยายเวลาคว่ำบาตรรัสเซียอีก๖เดือนหรือไม่หรือ อียูจะช่วยเหลือด้านการทหารต่อยูเครนหรือไม่ล้วนแต่เป็นปัญหาที่จะได้รับการ หยิบยกขึ้นมาอภิปรายในการประชุมสุดยอดสหภาพยุโรปหรืออียูที่จัดขึ้น ณ กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยมในวันที่๑๙เดือนนี้ การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการหยั่งเชิงความสามัคคีและความเป็นเอกภาพของอียู ในการแก้ไขวิกฤติในยูเครน

(VOVworld) –  สหภาพยุโรปหรืออียูจะปฏิบัติก้าวเดินต่อไปอย่างไรต่อการพิพาทในยูเครนที่นับวันทวีความรุนแรงและจะมีการขยายเวลาคว่ำบาตรรัสเซียอีก๖เดือนหรือไม่หรืออียูจะช่วยเหลือด้านการทหารต่อยูเครนหรือไม่ล้วนแต่เป็นปัญหาที่จะได้รับการหยิบยกขึ้นมาอภิปรายในการประชุมสุดยอดสหภาพยุโรปหรืออียูที่จัดขึ้น ณ กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยมในวันที่๑๙เดือนนี้ การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการหยั่งเชิงความสามัคคีและความเป็นเอกภาพของอียูในการแก้ไขวิกฤติในยูเครน

การประชุมสุดยอดอียู–ความแตกแยกในการแก้ไขปัญหาวิกฤติในยูเครน - ảnh 1
บรรดาประเทศสมาชิกอียูไม่มองไปในทิศทางเดียวกัน

ควบคู่กับปัญหาภายในกลุ่ม เช่น กระบวนการปฏิรูปในกรีซและการพัฒนาของเขตยูโรโซนในอนาคต เนื้อหาสำคัญอีกสองประเด็นที่จะได้รับการหยิบยกขึ้นมาอภิปรายในการประชุมครั้งนี้คือปัญหายูเครนและการรับมือกับมอสโคว์ ในกว่า๑ปีที่ผ่านมา แม้จะใช้ทุกมาตรการแต่วิกฤติในยูเครนยังคงไม่มีทางออกแถมนับวันยิ่งมีความผันผวนที่ซับซ้อนและอันตราย น่าวิตกกังวลและยังคงอยู่ในวงจรของการเจรจาหยุดยิงแล้วละเมิดคำสั่งหยุดยิง ที่น่าสนใจคือ ท่าทีที่แข็งกร้าว และคำสั่งคว่ำบาตรตอบโต้รัสเซียไม่เกิดประสิทธิภาพและกำลังก่อความแตกแยกภายในประเทศสมาชิกอียู

ทัศนะที่แตกต่างกัน

การอภิปรายเกี่ยวกับการที่ประเทศตะวันตกจะมีปฏิกิริยาเช่นไรต่อการพิพาทในยูเครนที่นับวันทวีความรุนแรงจะก่อให้เกิดความขัดแย้งและความแตกแยกระหว่างประเทศสมาชิกอียูในนโยบายที่มีต่อรัสเซียและวิธีการแก้ไขวิกฤติในภาคตะวันออกยูเครน

ก่อนการประชุมสุดยอดอียูมีอย่างน้อย๗ประเทศสมาชิกอียูประกอบด้วยสาธารณรัฐไซปรัส อิตาลี กรีซ ฮังการี สโลวาเกีย ออสเตรีย และสเปนได้คัดค้านการขยายเวลาคว่ำบาตรรัสเซียและพร้อมที่จะวีโต้ต่อมติคว่ำบาตรฉบับอื่นๆ ที่น่าสนใจคือ ฝรั่งเศส อิตาลี และสเปนยังแถลงว่า พวกเขาไม่อยากทำลายข้อตกลงหยุดยิง ส่วนประเทศอังกฤษและอีกบางประเทศในเขตบอลติกและยุโรปเหนือมีท่าทีที่แข็งกร้าว คือธำรงการคว่ำบาตรเพราะถือว่า คำสั่งคว่ำบาตรทำให้มอสโคว์ต้องมีความรับผิดชอบต่อข้อตกลงหยุดยิงในภาคตะวันออกยูเครนมากขึ้น จนถึงปัจจุบัน เยอรมนีมีความประสงค์ที่จะมีท่าทีที่แข็งกร้าวต่อรัสเซียแต่ยังคงมีความประสงค์ที่จะธำรงความสามัคคีของยุโรปด้วย

ตามกฎเกณฑ์ของอียู การขยายเวลาคว่ำบาตรรัสเซียอีก๖เดือนต้องการการสนับสนุนจากทุกประเทศสมาชิกอียู อย่างไรก็ดี ทัศนะที่แตกต่างกันได้ทำให้อียูตกเป็นฝ่ายรับและแตกแยก อาจเห็นได้ว่า ผู้นำประเทศสมาชิกอียูไม่เคยมีความขัดแย้งดังปัจจุบันในการวางยุทธศาสตร์ในระยะยาวเพื่อแก้ไขวิกฤติในภาคตะวันออกยูเครน

การคว่ำบาตรไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้

หลังจากที่รัสเซียผนวกรวมไครเมียเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตนเมื่อ๑ปีก่อน ยุโรปได้ระงับการเจรจาเกี่ยวกับการค้าและวิซ่ากับรัสเซียและระบุนักการเมืองและผู้บัญชาการทหารรัสเซียเข้าในบัญชีรายชื่อที่ถูกอายัดทรัพย์สินและจำกัดการเข้าเมือง เดือนมกราคมที่ผ่านมา ได้มีการขยายเวลาคว่ำบาตรอีก๖เดือนซึ่งจะหมดอายุในเดือนกรกฎาคมนี้ ในทางเป็นจริง ใน๑ปีที่ผ่านมา มาตรการคว่ำบาตรได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของรัสเซียและประเทศสมาชิกอียูก็ประสบความเสียหายไม่น้อยเช่นกัน แต่ปัญหาวิกฤติในยูเครนยังคงชะงักงันและยังไปไม่ถึงมาตรการสุดท้าย บรรดาผู้เชี่ยวชาญอเมริกันก็ยอมรับว่า คำสั่งคว่ำบาตรไม่เกิดประสิทธิภาพและถึงเวลาแล้วที่ต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของมาตรการนี้เพราะการพยายามโดดเดี่ยวรัสเซียนั้นไม่มีลักษณะสร้างสรรค์และสร้างความเสียหายให้แก่ทั้งสองฝ่ายซึ่งนับวันมีหลายประเทศสมาชิกอียูสนับสนุนทัศนะนี้ จากกิจกรรมทางการทูตในเวลาที่ผ่านอาจเห็นได้ว่า รายชื่อแขกที่มาเยือนวังเครมลินในเวลาที่ผ่านมาและในเร็วๆนี้และการคัดค้านการขยายเวลาคว่ำบาตรรัสเซียแสดงให้เห็นว่า ความไว้วางใจของประเทศเหล่านี้ต่อรัสเซียที่นับวันเพิ่มขึ้น

เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายนีโกส อานัลตาซีอาดิสประธานาธิบดีสาธารณรัฐไซปรัสได้เดินทางไปเยือนรัสเซียและอนุญาติให้กองทัพเรือรัสเซียเข้าเทียบท่าเรือของประเทศหมู่เกาะนี้ เดือนมีนาคม วังเครมลินได้ต้อนรับนายกรัฐมนตรีอิตาลีมัตเตโอ เรนซีและนายวลาดีเมีย ปูตีนประธานาธิบดีรัสเซียได้เรียกนายเรนซีว่าเป็นหุ้นส่วนที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆ คาดว่า นายอเล็กซิส ซีปราสนายกรัฐมนตรีกรีซจะเป็นแขกยุโรปคนต่อไปของนายปูตีนในเดือนเมษายนนี้

ในสภาวการณ์ของความแตกแยกในปัจจุบัน อียูจะสามารถแสวงหาเสียงพูดร่วมเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามัคคีและความเป็นเอกภาพในนโยบายที่มีต่อรัสเซียหรือไม่ บรรดาผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศเหล่านี้จะไม่มีความเห็นพ้องกันในการขยายเวลาคว่ำบาตรและจะไม่ตัดสินใจจนกว่าคำสั่งคว่ำบาตรจะหมดอายุในเดือนกรกฎาคมนี้ซึ่งเหลือเพียงอีกไม่กี่เดือน อียูจะต้องมีการตัดสินใจครั้งสุดท้าย และขณะนี้บรรดาผู้นำอียูกำลังหาคำตอบอยู่./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด