ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่าง OECD กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนิมิตหมายของเวียดนาม

(VOVWORLD) -เมื่อบ่ายวันที่ 17 ตุลาคม ณ กรุงฮานอย องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจหรือ OECDได้ประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามและสถานทูตออสเตรเลียประจำเวียดนามจัดฟอรั่มรัฐมนตรี OECD -ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปี 2022 ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สำคัญของโครงการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ SEARP ปี 2022 ของ OECD ที่มีขึ้นในระหว่างวันที่ 17 -18 ตุลาคม ณ กรุงฮานอย โดยมีการเข้าร่วมของตัวแทน 38 เศรษฐกิจสมาชิก OECD และประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่าง OECD กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนิมิตหมายของเวียดนาม - ảnh 1รองนายกรัฐมนตรี ฝามบิ่งมิงกล่าวปราศรัยต่อที่ประชุม

กิจกรรมต่างๆของ SEARP 2022 ถูกจัดขึ้นตามความคิดริเริ่มของออสเตรเลียและเวียดนามในฐานะประธานร่วม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงก้าวพัฒนาใหม่ในกระบวนการร่วมมือที่นับวันแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นและมีประสิทธิภาพเพื่อความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาอย่างยั่งยืนระหว่าง OECD ซึ่งเป็นองค์การที่มีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นเศรษฐกิจที่พัฒนากับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นเขตเศรษฐกิจที่มีความคล่องตัวและมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในแผนที่ภูมิศาสตร์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและโลกและเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรีฉบับต่างๆ เช่น ข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในทุกด้านในภูมิภาคหรือ RCEP ข้อตกลงเศรษฐกิจในทุกด้านและก้าวหน้าภาคพื้นแปซิฟิกหรือ  CPTPP เป็นต้น

กระบวนการร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่าง OECD กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากการตระหนักถึงบทบาทและสถานะภูมิศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศสมาชิกในภูมิภาค นับตั้งแต่ปี 2007 OECDได้ผลักดันความร่วมมือกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือภูมิภาคนี้เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในยุทธศาสตร์  จนถึงปี 2014 ตามความคิดริเริ่มของญี่ปุ่น โครงการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ OECD ได้รับการจัดตั้งและกลายเป็นหนึ่งใน 6โครงการในภูมิภาคของ OECD ซึ่งโครงการดังกล่าวมีเป้าหมายสนับสนุนกระบวนการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนา มีส่วนช่วยผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและครอบคลุมใน 13 ด้านความร่วมมือ จนถึงขณะนี้ ผลความร่วมมือที่สำคัญต่างๆในกรอบโครงการนี้ได้รับการชื่นชมจากประชาคมโลก

ในโครงการ SEARP 2022 ทั้งสองฝ่ายได้แสดงความตั้งใจผลักดันกระบวนการร่วมมือที่มีประสิทธิภาพในปัจจุบัน โดย OECDและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เห็นพ้องที่จะจัดตั้งเครือข่ายสถานประกอบการ โดยมีเป้าหมายส่งเสริมความร่วมมือระหว่างชมรมสถานประกอบการ การสนทนาระหว่างสถานประกอบการกับรัฐบาลประเทศต่างๆเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูและการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือที่สำคัญทั้งในด้านภาษี พลังงานสะอาด นโยบายด้านการลงทุน การเงิน อนุมัติแผนการปฏิบัติความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับ OECDและแผนการปฏิบัติความร่วมมือระหว่างเวียดนามกับOECDในช่วงปี 2022 -2026

ในปี 2022 OECDและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้บรรลุข้อตกลงความร่วมมือที่สำคัญต่างๆ ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ อาเซียนและ OECD ได้ลงนามบันทึกช่วยจำนอกรอบการประชุมรัฐมนตรี “โครงการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ OECD”ที่ถูกจัดขึ้นผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ภายใต้การเป็นสักขีพยานของประธานร่วม SEARPคือสาธารณรัฐเกาหลีและไทยวาระปี 2018-2022 เวียดนามและออสเตรเลียวาระปี 2022-2025 เพื่อผลักดันความสัมพันธ์หุ้นส่วนในทุกด้าน ครอบคลุมและมุ่งสู่อนาคตระหว่างอาเซียนกับ  OECD สนับสนุนการปฏิบัติแผนพัฒนาแบบบูรณาการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและประชาคมวัฒนธรรม-สังคมอาเซียนปี 2025

ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่าง OECD กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนิมิตหมายของเวียดนาม - ảnh 2ส.ว. Tim Ayres รัฐมนตรีดูแลการค้าและการผลิตออสเตรเลียย้ำถึงความสำคัญของฟอรั่ม  (Photo: baoquocte.vn)

สถานะและนิมิตหมายของเวียดนาม

สามารถเห็นได้ว่า ในกระบวนการร่วมมือระหว่าง OECD กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในหลายปีที่ผ่านมา มีนิมิตหมายและส่วนร่วมที่สำคัญของเวียดนามรวมอยู่ด้วย

นับตั้งแต่ที่โครงการ SEARP ได้รับการจัดตั้งเมื่อปี 2014 เวียดนามเป็นประเทศที่เข้มแข็งของโครงการฯ ทุกปี เวียดนามได้ส่งคณะผู้แทนเข้าร่วมและมีส่วนร่วมในฟอรั่มระดับภูมิภาคของ  OECD ในกรอบของโครงการ SEARP ในช่วงปี2016 -2020 เวียดนามได้ประสานงานกับ  OECD  จัดกิจกรรมและการสัมนาต่างๆ ซึ่งส่วนร่วมที่สำคัญของเวียดนามต่อโครงการ  SEARP ได้รับการรับรองผ่านการที่เวียดนามได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานร่วมโครงการฯวาระปี 2022 -2025 ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายที่สำคัญและมีความหมายเพราะเป็นครั้งแรกที่เวียดนามดำรงตำแหน่งประธานกลไกที่มีมาตรฐานสูงขององค์การที่เวียดนามไม่ใช่สมาชิก

 ในการกล่าวปราศรัยในฟอรั่มรัฐมนตรี OECD -ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปี 2022 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม นาย Mathias Cormann  เลขาธิการ OECD ได้ชื่นชมการที่เวียดนามดำรงตำแหน่งประธานร่วม SEARPเป็นครั้งแรกวาระปี 2022 -2025 ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจของบรรดาประเทศสมาชิก OECD และประเทศต่างๆในภูมิภาคต่อทักษะความสามารถของเวียดนามในการเชื่อมโยงระหว่าง OECD กับภูมิภาค ส่วนร่วมที่เข้มแข็งของเวียดนามต่อโครงการ SEARP ในฐานะเป็นประธานร่วม โดยเฉพาะในการเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมต่างๆของ  OECD ในเวียดนาม พร้อมทั้งยืนยันว่า จะประสานงานกับเวียดนามในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง  OECD  กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และปฏิบัติแผนการปฏิบัติงาน  OECD - อาเซียน

ส่วนนาย ฝามบิ่งมิง รองนายกรัฐมนตรีเวียดนามได้ย้ำว่า ในฐานะประธานร่วมของโครงการ SEARPวาระปี 2022 -2025 เวียดนามพร้อมมีส่วนร่วมเพื่อผลักดันความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่าง OECD  กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพ จริงจังและยั่งยืนมากขึ้น

 SEARP 2022 เป็นการแสดงให้เห็นถึงกระบวนความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพระหว่างสององค์การเศรษฐใหญ่ของโลก ยืนยันบทบาทและส่วนร่วมที่สำคัญของเวียดนามต่อกระบวนการความร่วมมือเพื่อสันติภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืนนี้.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด