ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนในบริบทของการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์

(VOVWORLD) -ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนถือเป็นจุดศูนย์กลางของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่องในเวลาที่ผ่านมา แต่นับจากปี 2017 ที่นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ มาจนถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศยักษ์ใหญ่นี้ก็เข้าสู่ระยะใหม่ คือการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านและเผชิญหน้า โดยปี 2020 การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐกับจีนได้ทวีความตึงเครียดในหลายด้าน
ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนในบริบทของการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ - ảnh 1(Photo Reuters)

นับตั้งแต่ที่นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อปี 2017 สหรัฐได้เริ่มปฏิบัติยุทธนาการณ์แข่งขันเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านกับจีน โดยถือจีนเป็น “คู่แข่งเชิงยุทธศาสตร์” อันดับหนึ่งและปฏิบัตินโยบายที่แข็งกร้าวต่อประเทศนี้และมาถึงปี 2020 นี้ระดับของการแข่งขันอย่างรอบด้านและการเผชิญหน้ากันในความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมียิ่งรุนแรงมากขึ้น

แข่งขันในทุกภาคส่วน

จุดเริ่มต้นของความตึงเครียดระหว่างสองประเทศในปี 2020 คือ นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัส Sars - nCovy ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ซึ่งทางการประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้กล่าวหาจีนหลายครั้งว่า ปกปิดบิดเบือนความรุนแรงของไวรัสนี้ในช่วงเริ่มต้นและไม่จัดสรรค์ข้อมูลข่าวสารอย่างที่ถูกต้องสมบูรณ์ โดยเรียกไวรัส SARS – CoV 2 ว่า China virus พร้อมข่มขู่ว่าจะคว่ำบาตรและกล่าวว่าจีนต้องชดใช้ความเสียหายอันหนักหน่วงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ส่วนจีนได้ออกมาตอบโต้ด้วยการกล่าวหาว่า วอชิงตันได้จงใจนำปัญหาโรคระบาดมาเกี่ยวโยงการเมืองเพื่อเบี่ยงเบนประชามติจากความขาดประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ของประเทศสหรัฐเอง

ต่อมาเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2020 สหรัฐได้สั่งปิดสถานกงสุลใหญ่จีน ณ เมืองฮุสตัน รัฐเท็กซัสด้วยการกล่าวหาว่า สถานกงสุลใหญ่จีนมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมสอดแนมและการขโมยทรัพย์สินทางปัญญา ส่วนฝ่ายจีนได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวและตอบโต้ด้วยการสั่งปิดสถานกงสุลใหญ่สหรัฐในเมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน

นอกจากนี้ การโต้ตอบกันในปัญหาฮ่องกงก็ถือเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศตึงเครียดมากขึ้น โดยเพื่อตอบโต้ทางการจีนที่บังคับใช้กฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ต่อฮ่องกง เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ได้ลงนามกฤษฎีกายกเลิกการให้สิทธิพิเศษด้านการค้าต่อฮ่องกงและอนุมัติรัฐบัญญัติการปกครองตนเองของฮ่องกงเพื่อเปิดทางให้วอชิงตันสามารถคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่และตำรวจที่ละเมิดสิทธิการปกครองตนเองของฮ่องกงและธนาคารที่ทำธุรกรรมกับคนกลุ่มนี้

การเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐกับจีนยังสะท้อนในปัญหาทะเลตะวันออก โดยสหรัฐได้ปฏิเสธค้ำเรียกร้องอธิปไตยของจีนในภูมิภาคนี้ เพิ่มการปรากฎตัวของเรือรบ และเครื่องบินรบในการลาดตระเวณอย่างอิสระตามหลักการเดินเรือและการบินอย่างเสรีในทะเลตะวันออก

ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนในบริบทของการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ - ảnh 2(Photo  baoquocte.vn)

นอกจากนั้น การแข่งขันในด้านเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐ – จีน ก็เป็นอีกปัญหาที่ตึงเครียด ซึ่งต่อจากการระบุชื่อของบริษัทย่อยของเครือบริษัท Huawei ของจีนในบัญชีดำเมื่อปี 2019 ในปี 2020 นี้ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ยังลงนามกฤษฎีกาห้ามบุคคลและองค์กรของสหรัฐทำธุรกรรมกับบริษัท ByteDance เจ้าของ TikTok และ Tencent เจ้าของ WeChat ซึ่งเป็นสองแอพฯชั้นนำที่จีนพัฒนา พร้อมทั้งเพิ่มรายชื่อบริษัทต่างๆของจีนเข้าในบัญชีดำดังกล่าว เพิ่มความเข้มงวดในการออกวีซ่าให้แก่สมาชิกพรรคของจีนและระงับการจัดงานสังสรรค์วัฒนธรรมระหว่างสองประเทศ

ปรับนโยบายและการต่อสู้โดยตรง

ในตลอด 40 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ที่สหรัฐและจีนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อปี 1979 ประธานาธิบดีสหรัฐหลายรุ่นต่างปฏิบัตินโยบายแทรกแซงที่นุ่มนวลต่อจีน คือมีทั้งความร่วมมือ ใช้ความอดกลั้นและโน้มน้าวให้จีนเข้าร่วมระบบสากลที่กำลังมีอยู่ตามเกมส์ของสหรัฐ แต่การปรับนโยบายการทูตในลักษณะ “ซ่อนตัวเพื่อรอโอกาส” มาเป็น “ปฏิบัติการของประเทศใหญ่” ของจีนได้ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนเริ่มเลวร้ายลง

ปี 2020 เป็นปีที่โลกประจักกับการแข่งขันที่ดุเดือดระหว่างสองประเทศมหาอำนาจนี้ โดยการประกาศกฤษฎีกา “วิธีการเข้าถึงเชิงยุทธศาสตร์ของสหรัฐต่อประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน” เมื่อเดือนพฤษภาคมถือเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ของสหรัฐต่อจีน ซึ่งช่วยกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศได้อย่างชัดเจนมากขึ้นถ้าหากเปรียบเทียบกับ “ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ” เมื่อปี 2017 โดยสหรัฐได้ปรับปรุงนโยบายตามแนวทางการเข้าถึงที่มีการแข็งขันอย่างเปิดเผย เด็ดขาดและรอบด้านในทุกแง่มุมเพื่อยับยั้งประเทศจีนและปกป้องผลประโยชน์ที่เป็นปัจจัยชี้ขาดของสหรัฐ สิ่งที่น่าสนใจคือ การประยุกต์ใช้มาตรการที่เข้มแข็งต่อประเทศต่างๆได้รับการสนับสนุนจากทั้งสองพรรคในรัฐสภาสหรัฐ

อาจกล่าวได้ว่า การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐกับจีนคือแกนหลักที่สามารถกำหนดกระดานหมากรุกการเมืองระหว่างประเทศได้เพราะว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมหาอำนาจนี้ต่างมีการเปลี่ยนแปลงและยากที่จะคาดเดาได้ การเผชิญหน้านี้จะไม่ยุติในเร็วๆนี้ ถึงแม้สหรัฐจะมีรัฐบาลชุดใหม่ก็ตาม แต่นักวิเคราะห์ยังให้ข้อสังเกตุว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศจะไม่มีความขัดแย้งมากขึ้นในปี 2021 เพราะยังมีหลายด้านที่สามารถร่วมมือกันเนื่องจากมีผลประโยชน์ร่วมกัน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด