(VOVWORLD) - ในปี 2020 ภายใต้การนำของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ประเทศสหรัฐยังคงเดินหน้าปฏิบัตินโยบายแทรกแซงและสร้างอิทธิพลในตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีสถานะทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์หลักของสหรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับนโยบายต่างประเทศอื่นๆทั่วโลกของสหรัฐ นโยบายดังกล่าวก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากทั้งประชามติโลกและประเทศสหรัฐเอง
ทหารสหรัฐ ณ ฐานพัน Ras al-Ain ในจังหวัด Hasakeh ประเทศซีเรีย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคมปี 2019 (AFP) |
ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ นโยบายแทรกแซงและสร้างอิทธิพลของสหรัฐในตะวันออกกลางในปี 2020 ยังคงสะท้อนนิมิตหมายของตัวประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์เอง ซึ่งเป็นนักการเมืองที่ด่งดังไปทั่วโลกว่าเป็นบุคคลที่ “ไม่สามารถคาดเดาได้” ถึงแม้ต้องเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์มากมาย แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธสัญญาณในเชิงบวกของสันติภาพที่กำลังปรากฏในภูมิภาคที่โลกจับตามองเพราะถือเป็นจุดร้อนในตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา
ส่งเสริมการไกล่เกลี่ยระหว่างอิสราเอลและโลกอาหรับ
หนึ่งในความสำเร็จด้านการต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดภายในปี 2020 และในสมัยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นเวลา 4 ปีของนาย โดนัลด์ ทรัมป์ ก็คือการจัดทำข้อตกลงปรับความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลกับโลกอาหรับให้เป็นปกติหลายฉบับ
โดยก่อนหน้านั้น เมื่อปี 1979 อียิปต์เป็นประเทศอาหรับประเทศแรกที่ลงนามสนธิสัญญาสันติภาพกับอิสราเอล และจอร์แดนเป็นประเทศอาหรับลำดับที่ 2 ที่ยุติการเป็นศัตรูกันกับอิสราเอลในปี 1994 และเมื่อวันที่ 15 กันยายน ภายหลังความพยายามเป็นคนกลางอย่างต่อเนื่องของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้แทนของรัฐบาลอิสราเอลและสองประเทศอาหรับคือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือ UAE และบาห์เรนได้ลงนามข้อตกลงปรับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติ ณ ทำเนียบขาว ประเทศสหรัฐภายใต้การเป็นสักขีพยานของผู้นำประเทศสหรัฐ ทำให้ UAE และบาห์เรนกลายเป็นรัฐอาหรับลำดับที่ 3 และ 4 ที่ยุติภาวะสงครามอย่างเป็นทางการและปรับความสัมพันธ์กับอิสราเอลให้เป็นปกติ
หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือนกว่า เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ประธานาธิบดีสหรัฐได้ประกาศว่า อิสราเอลได้บรรลุข้อตกลงปรับความสัมพันธ์กับซูดานให้เป็นปกติ ต่อจากนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศว่า โมร็อกโกกลายเป็นประเทศอาหรับลำดับที่ 4 ในปี 2020 ที่ปรับความสัมพันธ์กับอิสราเอลให้เป็นปกติ นอกจากนั้น ตามการประเมินของรัฐบาลสหรัฐ ก็ยังมีอีกบางประเทศอาหรับที่พร้อมจะปรับความสัมพันธ์กับอิสราเอลให้เป็นปกติ
เป็นที่ชัดเจนว่า ถึงแม้จะมีการโต้เถียงกัน โดยเฉพาะการคัดค้านอย่างรุนแรงจากทางการปาเลสไตน์และบางประเทศในอาหรับ แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า การที่สหรัฐสามารถจัดทำข้อตกลงปรับความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลกับหลายประเทศอาหรับจนประสบความสำเร็จนั้นได้ช่วยสร้างแนวโน้มแห่งการไกล่เกลี่ยอย่างเข้มแข็งในตะวันออกกลาง
ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศแผนการสันติภาพตะวันออกกลางโดยมีนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮูเข้าร่วมเมื่อวันที่ 28 มกราคมปี 2020 (AP) |
ผลักดันการโดดเดี่ยวและคว่ำบาตรอิหร่าน
แต่อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับนโยบายด้านการต่างประเทศอื่นๆในทั่วโลกของสหรัฐในหลายปีที่ผ่านมา การแทรกแซงและความพยายามสร้างอิทธิพลในตะวันออกกลางของทางการประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ นั้นใช่ว่าจะได้รับการตอบรับหรือได้รับคำชื่นชมจากประชาคมโลกอยู่เสมอไป หรือช่วยเสริมสร้างแนวโน้มแห่งการไกล่เกลี่ยในภูมิภาคอยู่เสมอไป ตัวอย่างเช่น นโยบายที่แข็งกร้าวของสหรัฐต่ออิหร่าน
ในช่วงต้นปี 2020 รัฐบาลสหรัฐได้สร้างความกังวลให้กับโลกด้วยการโจมตีทางอากาศเพื่อสังหารนายพล Qassem Soleiman ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษ Quds ของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามของอิหร่านในประเทศอิรักเมื่อวันที่ 3 มกราคม ซึ่งถือเป็นการกระทำยั่วยุที่อันตราย และทำให้อิหร่านต้องตอบโต้ด้วยการยิงขีปนาวุธใส่ฐานทัพที่มีทหารสหรัฐประจำการในอิรักเมื่อวันที่ 8 มกราคม แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
ต่อจากนั้นในเดือนมกราคมและมีนาคม สหรัฐได้เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน โดยกล่าวหาว่า อิหร่านละเมิดมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์ พร้อมทั้งผลักดันความพยายามขยายการคว่ำบาตรด้านอาวุธของสหประชาชาติต่ออิหร่านซึ่งหมดอายุในเดือนตุลาคมปี 2020 พร้อมกับมาตรการคว่ำบาตรและโดดเดี่ยวอิหร่าน ทางการสหรัฐยังประกาศพร้อมใช้มาตรการทางทหารต่ออิหร่าน เช่นเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2020 ทูตพิเศษของสหรัฐที่ดูแลปัญหาอิหร่าน Brian Hook ได้ยืนยันว่า มาตรการทางทหารยังคงได้รับการพิจารณาเพื่อป้องกันไม่ให้อิหร่านพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
ตรงกันข้ามกับความพยายามในการส่งเสริมการไกล่เกลี่ยระหว่างอิสราเอลและกลุ่มประเทศอาหรับ นโยบายคว่ำบาตร โดดเดี่ยว ข่มขู่ที่จะใช้มาตรการทางทหารต่ออิหร่านของสหรัฐในปี 2020 ทำให้ประชามติในภูมิภาคและทั่วโลกมีความวิตกกังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับอนาคตของตะวันออกกลางที่ต้องเผชิญกับความท้าทายและความไร้เสถียรภาพที่ยืดเยื้ออยู่แล้วในหลายทศวรรษที่ผ่านมา./.