อียูยากที่จะแสวงหาทางออกในเรื่องแหล่งจัดสรรพลังงาน

(VOVWORLD) - เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปหรืออีซี Ursula von der Leyen ได้ประกาศแผนการคว่ำบาตรรัสเซีย ที่น่าสนใจคือมาตรการคว่ำบาตรในด้านน้ำมัน นี่เป็นมาตรการคว่ำบาตรชุดที่ 6 ที่สหภาพยุโรปหรืออียูประกาศใช้ต่อรัสเซียนับตั้งแต่รัสเซียปฏิบัติยุทธนาการทางทหารพิเศษในยูเครน ก่อนหน้านั้น ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปได้หารือกันเพื่อแก้ไขปัญหาด้านพลังงานกำลังเป็นปัญหาที่ยากลำบากทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
อียูยากที่จะแสวงหาทางออกในเรื่องแหล่งจัดสรรพลังงาน - ảnh 1ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปหรืออีซี Ursula von der Leyen (European Parliament. )

 

บรรดานักวิเคราะห์แสดงความเห็นว่าการยุติการนำเข้าก๊าซและน้ำมันจากรัสเซียมีความแตกต่างจากการยุติการนำเข้าถ่านหินจากรัสเซียที่ได้รับการอนุมัติเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ถ้าหากมาตรการคว่ำบาตรด้านน้ำมันได้รับการอนุมัติจะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อรัสเซีย แต่อย่างไรก็ตาม อียูยังได้รับคำเตือนมากมายเกี่ยวกับความเสี่ยงที่ราคาน้ำมันในตลาดต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นจนส่งผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจของกลุ่ม นอกจากนั้น การแสวงหาเสียงพูดเดียวกันระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปในประเด็นนี้ก็ถูกมองว่าประสบอุปสรรคมากมายเนื่องจากการคัดค้านจากบางประเทศยุโรปเช่น ฮังการีและสโลวาเกีย ที่พึ่งพาการนำเข้าพลังงานทั้งหมดจากรัสเซีย

สหภาพยุโรปและปัญหาของการลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย

ในอดีตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นอาวุธ 2 อย่างที่สร้างอิทธิพลให้แก่รัสเซีย แต่ในปัจจุบันสหภาพยุโรปมองว่าก๊าซธรรมชาติเป็นอาวุธที่น่ากลัวที่สุด ดังนั้น จึงกำลังหามาตรการต่างๆเพื่อหลีกเลี่ยงการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย

นับตั้งแต่รัสเซียเปิดยุทธนาการทางทหารพิเศษในยูเครนเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ปี 2022 บรรดาผู้สังเกตการณ์ได้ชี้ชัดว่า การพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียในตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาได้ทำให้ทางการของประธานาธิบดี ปูติน มีความได้เปรียบ ในขณะที่รัฐบาลยุโรปกลับมีความลังเลในการรับมือท่าทีของทางการรัสเซีย โดยการโจมตียูเครนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้ถูกวางแผนไว้ล่วงหน้าเพราะเป็นช่วงที่ยุโรปหนาวที่สุดและมีความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติดมากที่สุดเพื่อนำไปผลิตความร้อนแก่อาคารและที่พัก เนื่องจากท่อส่งก๊าซธรรมชาติของยุโรปครอบคลุมหลายประเทศ ดังนั้นการปิดวาล์วท่อส่งของรัสเซียที่ส่งไปยังโปแลนด์และบัลแกเรียจึงไม่ได้ส่งผลกระทบต่อแค่สองประเทศนี้เท่านั้น หากยังทำให้ราคาก๊าซเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณก๊าซในระบบลดลง ซึ่งปัญหาการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติในท้ายที่สุดจะส่งผลกระทบต่อทุกประเทศที่อยู่บริเวณปลายท่อส่งก๊าซ เช่น ฝรั่งเศสและเยอรมนี

ความตึงเครียดเรื่องก๊าซธรรมชาติได้เพิ่มขึ้นหลังจากที่ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม รัสเซียได้หยุดส่งก๊าซไปยังโปแลนด์และบัลแกเรียหลังจากที่ทั้งสองประเทศนี้ปฏิเสธไม่จ่ายค่าก๊าซเป็นเงินรูเบิลตามคำเรียกร้องของรัสเซีย โดยฝ่ายยุโรปมองว่าการชำระค่าพลังงานเป็นเงินรูเบิลตามคำเรียกร้องของรัสเซียเป็นการละเมิดมาตรการคว่ำบาตรที่กำลังปฏิบัติ

อียูยากที่จะแสวงหาทางออกในเรื่องแหล่งจัดสรรพลังงาน - ảnh 2ท่อส่งแก๊ซของรัสเซียในโปแลนด์ (Bloomberg)

ผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรและสถานการณ์ที่ยากลำบากของสหภาพยุโรป

สถานการณ์การปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครนมีความตึงเครียดเพิ่มขึ้นพอๆกับการตอบโต้กันด้วยมาตรการคว่ำบาตรระหว่างสหภาพยุโรปกับรัสเซีย  มาตรการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรปที่มุ่งยุติการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียโดยสมบูรณ์ภายในเวลาอันสั้น แต่อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิเคราะห์แสดงความเห็นว่า นี่เป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ไม่ง่ายนัก เพราะการยุติการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียจะส่งผลกระทบในทางลบหลายด้านและการนำเข้าจากแหล่งอื่นมาทดแทนก็มีอุปสรรคมากมายซึ่งแตกต่างจากน้ำมันที่ยังสามารถหาจากแหล่งผลิตอื่นได้ ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา รัสเซียได้สร้างระบบท่อส่งก๊าซขนาดใหญ่เพื่อส่งไปให้แก่ยุโรป เจ้าหน้าที่ของสหภาพยุโรปบางคนยืนยันว่า การระงับนำเข้าพลังงานจากรัสเซียอย่างกะทันหันจะเป็นเรื่องยากเพราะจะทำให้เศรษฐกิจยุโรปตกเข้าสู่ภาวะถดถอยและเผชิญภาวะเงินเฟ้อ

ดังนั้น ในระยะยาว ยุโรปไม่เพียงแต่ต้องการความมุ่งมั่นทางการเมืองที่เข้มแข็งเท่านั้น หากยังต้องยอมรับความเสียหายทางเศรษฐกิจอีกด้วย สถานการณ์ดังกล่าวยังอาจจะเป็นไปได้ในอีกแนวทางคือถ้าหากรัสเซียบรรลุเป้าหมายและยุติปฏิบัติการทางทหารในยูเครนโดยเร็ว ยุโรปจะยังคงยืนหยัดตัดการทำธุรกรรมด้านพลังงานกับรัสเซียต่อไปหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่ยังคงหาคำตอบได้ไม่ง่ายนัก./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด