เมื่อไหร่วสันตฤดูกลับคืนสู่ภูมิภาคแฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง

(VOVworld)กลางเดือนมกราคมปี 2011 เมื่อ 5 ปีก่อน หลายประเทศในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางได้เกิดการปฏิวัติอาหรับสปริงเพื่อ เรียกร้องประชาธิปไตย 5 ปีได้ผ่านพ้นไป แต่ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองในแอฟริกาเหนือ-ตะวันออกกลางยังยืดเยื้ออยู่ แถมผลกระทบจากอาหรับสปริงที่ทำให้เกิดกระแสการจารจลและการชุมนุมประท้วง เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

(VOVworld)กลางเดือนมกราคมปี 2011 เมื่อ 5 ปีก่อน หลายประเทศในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางได้เกิดการปฏิวัติอาหรับสปริงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย 5 ปีได้ผ่านพ้นไป แต่ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองในแอฟริกาเหนือ-ตะวันออกกลางยังยืดเยื้ออยู่แถมผลกระทบจากอาหรับสปริงที่ทำให้เกิดกระแสการจารจลและการชุมนุมประท้วงเพื่อทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

เมื่อไหร่วสันตฤดูกลับคืนสู่ภูมิภาคแฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง - ảnh 1
เมื่อไหร่วสันตฤดูกลับคืนสู่ภูมิภาคแแฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง (AP)

เมื่อ 5 ปีก่อน สหรัฐและฝ่ายตะวันตกได้ให้การสนับสนุนประเทศต่างๆในภูมิภาคแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางเพื่อปฏิบัติ “ภารกิจการปฏิรูปเพื่อมุ่งสู่ประชาธิปไตย” ที่มีชื่อว่า “อาหรับสปริง” ถึงแม้จะผ่านมาแล้ว5 ปี “อาหรับสปริง” ก็ยังไม่สามารถผลิดอกออกผล แต่กลับทำให้หลายๆประเทศที่มีความเจริญ เช่นลิเบีย ตูนิเซียและซีเรียตกเข้าสู่วิกฤตการเมือง เศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรมและความมั่นคงจนทำให้ประชาชนนับล้านคนต้องทิ้งบ้านเกิดและอพยพไปอยู่ที่อื่น
แรงสั่นสะเทือนทางการเมือง
เมื่อปลายเดือนธันวาคมปี 2010 เหตุพ่อค้าหาบเร่คนหนึ่งในตูนิเซียเผาตัวเองเพื่อประท้วงตำรวจที่ยึดสินค้าของเขาเป็นจุดเริ่มต้นของกระแสการชุมนุมประท้วงและการจราจลในโลกอาหรับ
หลังจากเกิดเหตุการณ์ในตูนิเซียเป็นเวลา 1 เดือน กระแส “อาหรับสปริง”ได้บานปลายไปยัง 23 ประเทศและดินแดนในภูมิภาคแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง แรงสั่นสะเทือนทางการเมืองและสังคมได้ทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆ เช่นเยเมน ลิเบียและบาร์เรนที่ครองอำนาจมานานนับสิบปีต้องล่มสลายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะยุทธนาการโจมตีทางอากาศใส่ลิเบียขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้เพื่อให้การช่วยเหลือกองกำลังลุกขึ้นสู้ลิเบียโค่นล้มระบอบและสังหารนาย มูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำของลิเบียในช่วงนั้น แต่การเสียชีวิตของนาย กัดดาฟี กลับไม่ใช่เป็นจุดสิ้นสุดของความไร้เสถียรภาพในภูมิภาคนี้ การเปลี่ยนแปลงระบอบในประเทศต่างๆได้ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ชะลอตัว เกิดความแตกแยกในสังคมและการต่อสู่เพื่อชิงอำนาจยังคงเกิดขึ้นอย่างรุนแรงโดยที่ซีเรีย ทางการของประธานาธิบดี บาซาร์ อัลอัสซาด ยังไม่ถูกโค่นล้มแต่ประเทศนี้ได้ตกเข้าสู่สงครามกลางเมืองอย่างเต็มรูปแบบ แรงกดดันของกองกำลังฝ่ายต่อต้านและจากภายนอกนับวันเพิ่มมากขึ้นซึ่งทำให้ในตลอด 5 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์มีความซับซ้อนมากขึ้นและยังไม่มีมาตรการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ
ยุคใหม่แห่งประวัติศาสตร์ได้เปิดขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือแต่ระบอบประชาธิปไตยยังอยู่ไกลเอื้อม ความคาดหวังเกี่ยวกับระบอบที่มีเสรีภาพและประชาธิปไตยในตอนแรกไม่เพียงแต่ไม่สามารถกลายเป็นความจริงเท่านั้นหากยังคุณค่าขั้นพื้นฐาน เช่น สิทธิได้อยู่ในสันติภาพก็หายไปกับควันปืน
เมื่อไหร่วสันตฤดูกลับคืนสู่ภูมิภาคแฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง - ảnh 2
สถานการณ์ความวุ่นวายในซีเรีย (AFP)

ดอกไม้พิษกับผลขม
“อาหรับสปริง”ได้เปิดยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยความผันผวนให้แก่ภูมิภาค สร้างการเปลี่ยนแปลงกองกำลังต่างๆ กำหนดภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง การชุมนุมประท้วง การจราจลเพื่อโค่นล้มระบอบภายใต้การแทรกแซงอย่างเข้มแข็งและกว้างลึกจากภายนอกได้ทำให้ภูมิภาคที่เต็มไปด้วยทรัพยากรนี้ไม่สงบหากสนับสนุนให้แก่แผนของแต่ละกลุ่มซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบคือประชาชนผู้บริสุทธิ์
ที่ซีเรีย สงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลา 5 ปีได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2 แสน 5 หมื่นคนและสร้างวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีผู้ที่ต้องทิ้งบ้านเรือเพื่อลี้ภัยไปยังยุโรปนับล้านคน อีกทั้งทำให้ซีเรียกลายเป็นที่ช่องสุมของผู้ก่อการร้าย ที่เยเมน ความขัดแย้งทางการเมือง ศาสนาและชาติพันธุ์ได้กลายเป็นการปะทะระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ การปะทะที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ทำให้ประชาชนเยเมนตกเข้าสู่การรอคอยความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ส่วนที่อียิปต์ นับตั้งแต่ประธานาธิบดี โฮสนี มูบารัค ถูกโค่นล้มจนถึงปัจจุบัน ภาพรวมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมมีความสดใสมากขึ้นแต่ยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายไม่น้อยหลังจากตกเข้าสู่วิกฤตมาเป็นเวลานาน นั่นคือราคาอาหารและภาษีเพิ่มสูงขึ้น เกิดการขาดดุลงบประมาณแผ่นดิน อัตราคนว่างงานอยู่ในระดับสูงโดยนักศึกษาที่เรียนจบร้อยละ 44 ไม่มีงานทำ ส่วนที่ลิเบีย หลังจากตกเข้าสู่สงครามกลางเมืองมาเป็นเวลาหลายปี ถึงแม้รัฐบาลสามัคคีได้รับการจัดตั้งแต่สงครามกลางเมืองที่มาจาก “อาหรับสปริง” ได้สร้างความเสียหายหนักต่อประเทศนี้ ที่เลวร้ายกว่าก็คือ พื้นที่ส่วนหนึ่งของประเทศนี้ถูกอยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอส ส่วนที่ตูนิเซีย แม้ “อาหรับสปริง” จะไม่ทำให้ประเทศนี้ตกเข้าสู่การปะทะ แต่ก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทายที่รุนแรงในด้านความมั่นคงจากการโจมตีก่อการร้ายเพราะตูนิเซียเป็นประเทศที่มีคนเข้าร่วมกลุ่มไอเอสมากที่สุด
5 ปีที่ผ่านมาคือเส้นทางที่เต็มไปด้วยขวากหนามของภูมิภาคแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง โดยยังมองไม่เห็นเสรีภาพและประชาธิปไตย แต่ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองและการปะทะจนนำไปสู่เหตุรุนแรงที่นองเลือด ความอดอยากและความล้าหลังยังปรากฎในประเทศเหล่านี้อยู่หลังจากเกิดเหตุปะทะ สิ่งที่ประชาชนในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางรอคอยคือการยุติความวุ่นวายและความไร้เสถียรภาพเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด