เวียดนามเข้าร่วมการประชุม COP – 17

เวียดนามเข้าร่วมการประชุม COP 17 โดยแสดงความคิดเห็นต่อการจัดทำเนื้อหาเอกสารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและยืนหยัดบทบาทที่สำคัญของสนธิสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและพิธีสารเกียวโต

              การประชุม COP – 17 ได้มีขึ้นในขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในภาวะถดถอย ดังนั้นบรรดาประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศใหญ่ๆจึงได้เน้นหารือเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจของตน ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งในด้านผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มประเทศพัฒนากับกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา     ในฐานะที่เป็นสมาชิกของสนธิสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบอันหนักหน่วงจากปัญหาดังกล่าว วน.ได้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้อย่างเข้มแข็งและมีส่วนร่วมต่อปัญหาร่วมกันต่างๆ โดยได้หารือและอนุมัติปัญหาที่สำคัญต่างๆ รวมไปถึงมาตรการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกและแสดงความคิดเห็นต่อการจัดทำเนื้อหาเอกสารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศให้สมบูรณ์โดยยืนหยัดบทบาทที่สำคัญของสนธิสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและพิธีสารเกียวโต           นาย Nguyen Khac Hieu รองอธิบดีกรมอุตุนิยมอุทกศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ สังกัดกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเวียดนามเผยว่า

            “ ทัศนะของฝ่ายเวียดนามในการประชุมครั้งนี้คือ พิธีสารเกียวโตควรได้รับการปฏิบัติต่อไปและต้องใช้เป็นพื้นฐานในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในทั่วโลก  พิธีสารดังกล่าวต้องใช้เวลาถึง 8 ปีเพื่อให้ประชาคมโลกให้การรับรองและมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ดังนั้น ในขณะนี้ ไม่มีเหตุผลใดๆที่จะต้องยกเลิกพิธีสารดังกล่าว  จนถึงขณะนี้ พิธีสารดังกล่าวเป็นเอกสารทางนิตินัยฉบับเดียวว่าด้วยปัญหานี้และมีส่วนเกี่ยวข้องถึงปัญหาอื่นๆ เช่น การถ่ายทอดเทคโนโลยี่และคำมั่นของทุกฝ่ายว่าด้วยการสนับสนุนด้านการเงิน เป็นต้น

            เนื้อหาที่สำคัญ 5 ประการที่ประธานาธิบดีประเทศเจ้าภาพแอฟริกาใต้เสนอในพิธีเปิดการประชุมครั้งนี้ก็ถือเป็นปัญหาที่เวียดนามให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งได้แก่ การร่างเอกสารทางนิตินัยฉบับใหม่ทดแทนระยะที่ 1 ของพิธีสารเกียวโตที่จะหมดวาระในปี 2012 ยืนหยัดหน้าที่ทางการเงินและความรับผิดชอบในการลดการปล่อยควันพิษของประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศที่เพิ่งโดดเด่นที่มีปริมาณการปล่อยควันพิษสูง แสวงหาระเบียนการประสานงานเพื่อปฏิบัติมาตรการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทั่วโลกและรักษาความเชื่อมโยงระหว่างข้อตกลงฉบับต่างๆกับหลักการเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่ายและของประชาคมระหว่างประเทศ   นาย Nguyen Khac Hieu ได้เน้นถึงทัศนะของเวียดนามในการประชุม COP 17 ว่า

            “การลดควันพิษที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกของบรรดาประเทศพัฒนาและกำลังพัฒนาเป็นเรื่องที่แตกต่างกัน ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ เวียดนามได้เรียกร้องให้มีการแยกแยะปัญหาดังกล่าว  สำหรับบรรดาประเทศพัฒนาต้องบังคับให้ปฏิบัติคำมั่นว่าด้วยการลดควันพิษ ส่วนบรรดาประเทศที่กำลังพัฒนาจะต้องปฏิบัติมาตรการที่จะลดควันพิษด้วยความสมัครใจภายใต้การช่วยเหลือของประเทศพัฒนาเพื่อให้สามารถพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและแก้ปัญหาความยากจนได้

            ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนและการรับมือกับปัญหานี้ได้กลายเป็นปัญหาชี้ขาดและจากการตระหนักได้ดีเกี่ยวกับปัญหานี้ เวียดนามได้เข้าร่วมสนธิสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศตั้งแต่ปี 1994 และได้ลงนามอนุมัติพิธีสารเกียวโตเมื่อปี 2002 พร้อมทั้งเป็นสมาชิกที่เข้มแข็งในการปฏิบัติร่วมกับประชาคมโลกเพื่อสร้างสรรค์โลกแห่งสีเขียว  ดังนั้นการลดควันพิษที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก การมุ่งสู่เศรษฐกิจแห่งสีเขียวและการเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจให้กลายเป็นเศรษฐกิจที่ใช้คาร์บอนต่ำ ยังคงเป็นแนวทางการปฏิบัติของเวียดนามทั้งในปัจจุบันและในอนาคตดั่งเช่นคำยืนยันของนาย Tran Hong Ha รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทรัพยกรและสิ่งแวดล้อมเวียดนาม

            “ ทัศนะของเวียดนามคือ จะปฏิบัติตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งสีเขียว แต่เรื่องนี้ไม่สามารถปฏิบัติได้เพียงลำพัง โดยจำเป็นต้องมีการประสานงานและร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศต่างๆ นอกจากนี้ เวียดนามถือว่า  ต้องปฏิบัติระเบียบที่มีอยู่แล้ว เช่น กองทุนภูมิอากาศสีเขียว กองทุนช่วยเหลือเทคโนโลยี โดยเฉพาะให้ความสนใจต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี่และการฝึกอบรมแหล่งบุคลากร ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องหารือกัน

            ปัจจุบัน เวียดนามได้จัดทำโครงการเป้าหมายแห่งชาติว่าด้วยการรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจนถึงปี 2020 และวิสัยทัศน์ในปี 2050 พร้อมทั้งร่างแผนการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาน้ำทะเลหนุน  ดังนั้น นอกกรอบการประชุมครั้งนี้ เวียดนามจะมีการเจรจาทวิภาคีกับประเทศและหุ้นส่วนต่างๆเพื่อแสวงหาความคิดเห็นร่วมกันและส่งเสริมความร่วมมือหรือเรียกร้องความช่วยเหลือจากประเทศเหล่านี้ในการรับมืออย่างมีประสิทธิภาพกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนรูปแบบเศรษกิจเพื่อการพัฒนาแห่งสีเขียวที่ยั่งยืน./.

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด