ขนม แบ๊งไหญ่ หนึ่งในของขวัญที่สำคัญในพิธีแต่งงานของชุมชนเผ่าไต

(VOVWORLD) -พิธีแต่งงานในแต่ละภูมิภาค ในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ในเวียดนามต่างมีลักษณะเฉพาะด้วยเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น โดยสำหรับชุมชนเผ่าไตนั้น สิ่งของต่างๆที่ต้องใช้ในพิธีแต่งงานนอกจากหมากพลู ชา เหล้า ข้าวเหนียวและไก่ ฯลฯ แล้ว ขนมแบ๊งไหญ่ก็ถือเป็นของขวัญสำคัญที่ขาดมิได้

ขนม แบ๊งไหญ่ หนึ่งในของขวัญที่สำคัญในพิธีแต่งงานของชุมชนเผ่าไต - ảnh 1ขนม แบ๊งไหญ่ หนึ่งในของขวัญที่สำคัญในพิธีแต่งงานของชุมชนเผ่าไต
 
 

ตั้งแต่สมัยโบราณ ความคิดของชาวเผ่าไตในเรื่องการแต่งงานนั้นค่อนข้างก้าวหน้าเมื่อชายหญิงสามารถพบปะดูใจกันได้อย่างอิสระก่อนที่จะขออนุญาตพ่อแม่ของพวกเขาในการจะมาอยู่ร่วมกันเป็นฝั่งเป็นฝา ถึงตอนนั้นทางครอบครัวของฝ่ายชายจะส่งคนไปที่บ้านของฝ่ายหญิงเพื่อขอ "ดูดวงเนื้อคู่" และจะขอให้หมอดูต่าว ช่วยเลือกวันเดือนอันเป็นมงคลสำหรับงานหมั้นและงานแต่งงาน

ในวันจัดงานหมั้น ครอบครัวของเจ้าบ่าวจะต้องเตรียมสิ่งของไปที่บ้านเจ้าสาว ทั้งสองฝ่ายจะหารือและตกลงที่จะจัดงานแต่งงานให้คู่บ่าวสาว รวมถึงตกลงเรื่องสินสอดทองหมั้นและของขวัญจากครอบครัวเจ้าบ่าวที่ต้องนำไปมอบให้ฝ่ายหญิง นาง นงเตวียตลวาน จากอ.แทกอาน จ.กาวบั่ง กล่าวว่า สมัยก่อนสิ่งของที่เตรียมมักจะมีหมู ไก่ ข้าวเหนียว เงินสด แต่ตอนนี้มีเพิ่มหลายอย่างเช่นบุหรี่ เบียร์ และน้ำหวาน แต่จะมีอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ ขนมแบ๊งไหญ่ "จำนวนแบ๊งไหญ่ที่ใช้เป็นของขวัญงานหมั้นและงานแต่งที่มอบให้แก่ฝ่ายเจ้าสาวจะขึ้นอยู่กับจำนวนญาติว่ามากหรือน้อยจากการตกลงระหว่างครอบครัวของเจ้าสาวและครอบครัวของเจ้าบ่าว ตามประเพณีทั่วไปฝ่ายเจ้าสาวจะขอเงินสด ขนมแบ๊งไหย่ขนาดเล็ก 120 ชิ้น ถาดอาหารเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ที่มีไก่ต้ม 2 ตัว เหล้า 2 ขวดที่ติดกระดาษสีแดงที่คอขวด สำหรับขนมแบ๊งไหญ่นั้นถือเป็นของขวัญจากครอบครัวเจ้าบ่าวให้กับญาติพี่น้องของเจ้าสาวครอบครัวละหนึ่งคู่ เมื่อคู่หนุ่มสาวมีลูก ครอบครัวที่ได้รับของขวัญวันแต่งงานจะนำขาหมูหรือไก่เป็นและข้าวเหนียว 12 ถ้วยมาเยี่ยม"

ขนม แบ๊งไหญ่ หนึ่งในของขวัญที่สำคัญในพิธีแต่งงานของชุมชนเผ่าไต - ảnh 2

ก่อนถึงวันจัดงานแต่งงานไม่กี่วัน บรรยากาศที่บ้านเจ้าบ่าวจะตื่นเต้นมาก เจ้าของบ้านจะเชิญผู้หญิงในครอบครัวและคนในหมู่บ้านมาช่วยตำข้าวเหนียวทำขนนมแบ๊งไหญ่ ข้าวสารที่เลือกต้องเป็นข้าวที่อร่อย นึ่งสุกแล้วใส่ลงในครกไม้และปั้นเป็นก้อนแบนๆ คุณนง ถิ เคี้ยน จากตำบลจูชิง เมือง กาวบั่งเผยว่า  สำหรับขนมชิ้นเล็กๆ ไส้คืองาดำโขลกละเอียดผสมกับน้ำตาลหรือถั่วเขียว เฉพาะขนมคู่ที่ใหญ่ที่สุดที่เรียกว่า "ขนมแม่" (péng me) จะไม่มีไส้ แต่จะใช้น้ำของผลต้นผักโขมมาย้อมด้านหนึ่งให้เป็นสีม่วงแดง อีกด้านหนึ่งเขียนคำว่า "ความสุข" หรือคำว่า "มงคล" "ประเพณีการมอบขนมแบ๊งไหญ่ในงานแต่งงานของชาวเผ่าไตมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ปัจจุบันก็มีการปรับเปลี่ยนไปบางส่วนโดยขึ้นอยู่กับแต่ละบ้าน บางครอบครัวขอเอาขนม100 ชิ้นไปแจก บางครอบครัวก็ขอเอาแค่ขนม "ขนมแม่" (péng me) สำหรับบูชาบรรพบุรุษ และขนมสำหรับพวกเขาก็ใหญ่พอๆ กับชามที่ฉันให้แต่ละครอบครัว บางครอบครัวขอให้ครอบครัวของเจ้าบ่าวนำขนมมาตั้งแต่วันหมั้นเพื่อแจกญาติมิตร แต่ก็มีอีกหลายครอบครัวที่อยากแจกในวันแต่งงาน."

ในช่วงหลายปีมานี้ควบคู่ไปกับกระแสการศึกษาค้นคว้าคุณค่าดั้งเดิมของประชาชาติ เช่น ชุดแต่งกายและอาหารพื้นเมือง หลายครอบครัวก็หวนคืนสู่ประเพณีการแต่งงานแบบเก่าโดยเฉพาะการแจกแบ๊งไหญ่ให้แก่แขกที่เชิญมาร่วมงาน โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของครอบครัวเจ้าบ่าวซึ่งจำนวนขนมที่ทำอาจเป็นเพียงสัญลักษณ์ แต่จำเป็นต้องมี "ขนมแม่" (péng me) คู่หนึ่งเพื่อถวายบูชาบรรพบุรุษโดยหวังว่าทั้งคู่จะมีสุขภาพที่ดี มีชีวิตที่เปี่ยมด้วยความสุข พืชผลอุดมสมบูรณ์ หมู่บ้านเจริญรุ่งเรือง.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด