ชุดเครื่องมือในการจับช้างป่าของหมอช้างอามากง
Mai Hong-To Tuan/VOV -  
(VOVworld)-นายอามากงเป็นชาวเมอนงที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วเขตเตยเงวียนจนได้รับการยกย่องให้เป็นหมอช้างเนื่องจากประสบการณ์ในการจับและคล้องช้างป่าได้ถึง298ตัว ซึ่งหลังจากเขาเสียชีวิตตอนอายุ102ปีเมื่อเดือนพฤษจิกายนปี2012 ครอบครัวของเขาก็ได้ตัดสินใจมอบชุดสะสมเครื่องมือที่อามากงเคยใช้ในการจับและคล้องช้างให้แก่พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนาม
(VOVworld)-นายอามากงเป็นชาวเมอนงที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วเขตเตยเงวียนจนได้รับการยกย่องให้เป็นหมอช้างเนื่องจากประสบการณ์ในการจับและคล้องช้างป่าได้ถึง298ตัว ซึ่งหลังจากเขาเสียชีวิตตอนอายุ102ปีเมื่อเดือนพฤษจิกายนปี2012 ครอบครัวของเขาก็ได้ตัดสินใจมอบชุดสะสมเครื่องมือที่อามากงเคยใช้ในการจับและคล้องช้างให้แก่พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนาม
ชุดเครื่องมือจับช้างที่วางแสดงในพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนาม
|
ชุดเครื่องมือในการจับช้างของอามากงมีกว่า20อย่างเช่น ไม้เรียวที่ทำจากหวายที่ควาญช้างใช้ควบคุมช้างต่อ เชือกปะกัม ผ้ารองสัปคับที่สานด้วยเปลือกต้นจิกน้ำ เชือกมัดตัวช้าง เชือกปะกัมหนังควายเพื่อจับช้าง ขวานที่ทำจากไม้แดงเพื่อใช้ควบคุมช้าง ไม้ใผ่ที่มีเชือกที่ทําเป็นบ่วงผูกปลายไม้คันจามสําหรับคล้องเท้าช้าง เขาควายที่สามารถใช้แทนขวาน กระเป๋าใส่อุปกรณ์ต่างๆที่ทำจากเปลือกต้นไม้ป่า เป็นต้น โดยอุปกรณ์ต่างๆที่วางแสดงพร้อมคลิปวีดีโอที่เล่าเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับการจับช้างป่าในอดีตของชาวเมอนงที่มีทั้งความลำบากยากเข็ญแต่สะท้อนให้เห็นถึงความกล้าหาญ ความเฉลี่ยวฉลาดและศิลปศาสตร์อย่างหนึ่งของผู้ที่ได้รับการยกย่องเป็นหมอช้าง รองศ.ดร.หวอกวางจ๋อง ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนามเผยว่า“นี่เป็นชุดสะสมที่มีคุณค่ามากเพราะเป็นครั้งแรกที่ทางพิพิธภัณฑ์ได้รับมอบชุดสะสมที่มีค่าชุดใหญ่จากชนกลุ่มน้อยในเขตเตยเงวียน อีกอย่างคือเป็นชุดเครื่องมือที่มีความผูกพันธ์กับหมอช้างอามากงที่มีชื่อเสียงด่งดังในเขตเตยเงวียน ซึ่งนอกจากเป็นชุดเครื่องมือที่ใช้จับช้างเกือบ300เชือกแล้ว มันยังแฝงไว้ซึ่งคุณค่าแห่งวัฒนธรรมและประเพณีวิถีชีวิตของชนเผ่าเมอนงอย่างเด่นชัดอีกด้วย”
นาย อามากงมีชื่อจริงคือ อี โปรง เอบาน
|
นาย อามากงมีชื่อจริงคือ อี โปรง เอบาน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องนับถือจากชาวเตยเงวียนว่าเป็นหมอช้างของหมู่บ้านโดนโดยเขาสามารถจับและคล้องช้างป่าได้เกือบ300ตัวและยังได้ถวายช้างที่มีค่าหลายเชือกแด่พระมหากษัตริย์ไทย ลาวและได้รับเกียรติเข้าร่วมขบวนจับช้างของกษัตริย์บ๋าวได๋ โดยเฉพาะเขายังเป็นหมอช้างที่สามารถจับและคล้องช้างเผือกกับช้างที่มีงาข้างเดียวซึ่งถือเป็นช้างที่มีค่าหายากและฉลาดมาก นายคำเพดลาว ลูกชายคนที่10ของนายอามากงซึ่งปัจจุบันอาศัยที่หมู่บ้านกอตาม ต.อีอาตู นครบวนมาถวด จังหวัดดั๊กลักเผยว่า ชุดเครื่องมือนี้เป็นมรดกของตระกูล คุน จู โน๊ป มีอายุกว่าร้อยปีและครอบครัวของเขาก็ตัดสินใจมอบให้แก่พิพิธภัณฑ์ชาติพันธ์เวียดนามเพื่ออนุรักษ์“นี่คือมรดกของบรรพบุรุษ คุณพ่อผมก็เสียชีวิตไปแล้วและเราก็ไม่ใช้จับช้างป่าอีก ซึ่งถ้าเก็บไว้ที่บ้านอาจจะสูญหายไป ดังนั้นเราอยากนำมาจัดแสดงเพื่อให้ทุกคนได้รู้จักและเข้าใจวัฒนธรรมของเราและเพื่อเป็นการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชนเผ่าให้แก่ชนรุ่นหลัง”
เชือกปะกำทำจากหนังควาย
|
นอกจากชุดเครื่องมือที่มอบให้แก่ทางพิพิธภัณฑ์ชาติพันธ์เวียดนามแล้ว ครอบครัวของนายคำเพดลาวยังเก็บรักษาชุดเครื่องมืออีก2ชุดที่สืบทอดจากบรรพบุรุษในบ้านกลางซึ่งเป็นบ้านโบราณอายุกว่า120ปีที่ต.โกรง นา อ.บวนโดน จังหวัดดั๊กลัก เพราะบ้านหลังนี้ก็ได้กลายเป็นห้องจัดแสดงสิ่งของและภาพถ่ายต่างๆเกี่ยวกับการจับช้างของนายอามากงไม่ว่าจะเป็นเชือกปะกำยาว120เมตรที่ทำจากหนังควายที่มีอายุกว่าร้อยปี หรือปี่เขาควายของราชาแห่งช้างป่า ซึ่งไม่ว่าจะเป็นแค่ภาพหรือเป็นสิ่งของที่สามารถจับต้องได้ก็ล้วนมีส่วนร่วมสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวเมอนงโดยเฉพาะบทบาทของช้างในชิวิตของชาวเตยเงวียน./.
Mai Hong-To Tuan/VOV